SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นคุณภาพ’ นี่คือคำกล่าวของตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงกรณีการปรับเกณฑ์ยกระดับตลาดหุ้นใหม่

นับตั้งแต่ปี 2548 หรือ 19 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ปรับกฎเกณฑ์การเข้าตลาดหุ้นของบริษัทที่กำลังจะยื่น IPO รวมถึงไม่ได้ปรับเกณฑ์กำกับดูแลบริษัทที่จดทะเบียนมานานเช่นกัน

ดังนั้นวันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงร่วมมือกับสำนักงาน ก.ล.ต. ปรับปรุงเกณฑ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเข้าตลาดหุ้น การดำรงสถานะเป็นบริษัทในตลาดหุ้น ไปจนถึงการเพิกถอนหลักทรัพย์ฯ

นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังเพิ่มการเปิดเผยข้อมูลและการเตือนภัยให้แก่นักลงทุนด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเสถียรภาพให้ตลาดทุนไทยได้ ซึ่งครั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงเกณฑ์หลักๆ 4 เรื่อง

[ ขายหุ้นใหม่ยากขึ้นเท่าตัว ]

1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับเกณฑ์คุณสมบัติของบริษัทที่ต้องการจะจดทะเบียนเข้าตลาด SET และ mai ไว้ดังนี้

 

        • บริษัทจะต้องมีกำไรย้อนหลัง 2-3 ปีเพิ่มขึ้น สำหรับ SET จากเดิมต้องมีกำไร 30 ล้านบาท เกณฑ์ปรับใหม่จะต้องมี 75 ล้านบาท สำหรับ mai จากเดิมต้องมีกำไร 10 ล้านบาท เกณฑ์ปรับใหม่จะต้องมี 25 ล้านบาท
        • บริษัทจะต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) เพิ่มขึ้น สำหรับ SET จากเดิมต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น 300 ล้านบาท เกณฑ์ปรับใหม่จะต้องมี 800 ล้านบาท  สำหรับ mai จากเดิมต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้น 50 ล้านบาท เกณฑ์ปรับใหม่จะต้องมี 100 ล้านบาท
        • ปรับสัดส่วนของการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อย (Free Float) และหุ้นที่เสนอขาย IPO เพิ่มขึ้น โดยสำหรับ SETและ mai จากเดิมต้องมีสัดส่วนอยู่ที่ 15% ปรับเกณฑ์ปรับใหม่จะต้องมีสัดส่วนอยู่ที่ 20%
        • ปรับมูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว (Paid Up) ลดลง สำหรับ SET จากเดิมที่ต้องมี Paid Up อยู่ที่ 300 ล้านบาท เกณฑ์ปรับใหม่ลดลงอยู่ที่ 100 ล้านบาท สำหรับ mai ต้องมี Paid Up อยู่ที่ 50 ล้านบาทเท่าเดิม 

การที่ Paid up ของ SET ถูกปรับลงไม่ได้สะท้อนเรื่องของผลประกอบการ แต่ปรับลงเพื่อรองรับบริษัทที่ไม่ได้ต้องการใช้เงินทุนมากนัก ตัวอย่างเช่น บริษัทกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่ได้ต้องการทุนมาก แต่สามารถสร้างกำไรได้มากนั่นเอง

ซึ่งกฎเกณฑ์การเข้า IPO ใหม่จะเริ่มปรับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 68

[ เพิ่มเครื่องหมายตระกูล C ]

  1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยกระดับเตือนนักลงทุน กรณีที่มีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มีปัญหาฐานะการเงิน ผลดำเนินงาน หรือสภาพคล่อง

จากเดิม บจ.ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C จะใช้เพื่อเตือนนักลงทุนในกรณี บจ. มีเหตุการณ์ที่กระทบต่อฐานะการเงินและการดำเนินธุรกิจเท่านั้น

แต่รอบนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ขยายเครื่องหมาย C ย่อยออกเป็นอีก 4 ประเภทเพื่อให้นักลงทุนได้ทราบสาเหตุการขึ้นเครื่องหมายที่ชัดเจนขึ้น ดังนี้

        • เครื่องหมาย CB แสดงถึง บจ.มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Equity) น้อยกว่า 50% ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ปีหรือหน่วยงานสั่งแก้ไขฐานะทางการเงิน
        • เครื่องหมาย CS แสดงถึง ผู้ตรวจสอบบัญชีไม่แสดงความคิดเห็น
        • เครื่องหมาย CC แสดงถึง บจ.ไม่ปฎิบัติตามกฏเกณฑ์
        • เครื่องหมาย CF แสดงถึง บจ. ที่มีสัดส่วนของการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนรายย่อย (Free Float) ไม่ถึง  15% หรือน้อยกว่า 150 คน และไม่จัด Opportunity Day ตามที่กำหนด

เครื่องหมายตระกูล C จะถูกขึ้นเตือนไว้ให้ บจ.แก้ไข หาก บจ.ฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะถูกขึ้นเครื่องหมาย SP หรือห้ามซื้อขายเป็นลำดับต่อไป

โดยเครื่องหมายเหล่านี้จะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 67

[ เข้มเกณฑ์เข้า-ออกตลาดหุ้น ]

  1. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เพิ่มเหตุเพิกถอนในกรณีที่ บจ.ไม่มีธุรกิจต่อเนื่อง 2-3 ปีและ บจ.ที่ไม่สามารถแก้ไข Free Float ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้นักลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทจดทะเบียนมีคุณภาพเหมาะสม 
  1. ในส่วนของบริษัทที่จดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) และกรณีย้ายกลับมาซื้อขายหลังแก้ไขเหตุอาจถูกเพิกถอน (Resume Trading) ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะใช้เกณฑ์เดียวกับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนใหม่ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 67

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า