Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดกิจกรรม BOT Press Trip 2022 ระหว่างการเดินทาง มีช่วงที่ ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการฯ คนที่ 21 เปิดเผยถึงแผนปี 2566 ให้สื่อฟัง

โดยเริ่มต้นว่า ภายในธปท.มีการพูดถึง ‘งานหางเสือ’ เพราะเห็นแล้วว่า หน้างานแต่ละวันมีหลายเรื่องเข้ามาให้ทำ มีงานด่วนเข้ามาตลอดเวลา แต่งานด่วนไม่ได้หมายความว่าเป็นงานที่สำคัญ

และเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนว่า ทิศทางต่อไปของแบงก์ชาติเป็นอย่างไร ‘งานหางเสือ’ จะเป็นตัวช่วยเซ็ทให้ทุกคนไปได้ถูกทาง

แต่ก่อนที่จะไปแนะนำหางเสือแต่ละข้อ ต้องเท้าความบริบทเศรษฐกิจไทยก่อนว่า ตอนนี้ประเทศไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ซึ่งแน่นอนว่าช้ากว่าชาวบ้าน แต่คาดว่าจะกลับมาสูงเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นหน้า

sethaput-suthiwartnarueput-bank-of-thailand-governor-interview

กลับมาที่ ‘งานหางเสือ’ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่แบงก์ชาติให้ความสำคัญในปี 2566 มีทั้งหมด 5 ข้อ คือ

1. Smooth Takeoff

หลายคนน่าจะเคยได้ยินประเทศอื่นคุยกันถึงเรื่อง Smooth Landing หรือทำอย่างไรให้เศรษฐกิจเป็นขาลงได้นิ่มที่สุด

แต่อย่างที่บอกไปว่าประเทศไทยเพิ่งจะฟื้น โจทย์เลยไม่เหมือนชาวบ้าน กลายเป็น Smooth Takeoff ฟื้นตัวอย่างไรให้นิ่มที่สุดแทน ดังนั้น การทำนโยบาย (Policy Response) จึงแตกต่างกันคนอื่น

คราวนี้ก็ต้องมาดูว่า แล้วมีความเสี่ยงอะไรบ้างที่จะกระทบกับแผน Smooth Takeoff ซึ่งแบงก์ชาติลองลิสต์ดูก็พบว่ามี 2 อย่าง คือ เงินเฟ้อวิ่งสูงเกินไป กับภาวะการเงินที่ตึงและเร็วเกินไป

ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยให้เกิด Smooth Takeoff คือ แบงก์ชาติต้องทำนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมาะกับบริบทเศรษฐกิจ แต่ก็ต้องปรับนโยบายให้ตรงจุด (Targeted) มากขึ้น ไม่ทำนโยบายปูพรมเหมือนช่วงโควิด-19

2. หนี้ครัวเรือน

นอกจากจะต้อง Smooth Takeoff แล้ว การที่เศรษฐกิจจะวิ่งต่อไปได้อย่างยั่งยืนแบบไม่สะดุดก็ต้องมาดูเรื่องของหนี้ครัวเรือน ซึ่งควรจะอยู่ในระดับที่ยั่งยืนกว่าที่เป็นอยู่

จากก่อนวิกฤตโควิด-19 ก็วิ่งจากระดับ 50% มาอยู่ที่ 80% กว่าๆ อยู่แล้ว และช่วงที่การแพร่ระบาดของโรค คนมีปัญหารายได้ หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีก็ขึ้นไปทำจุดพีคที่ประมาณ 90% ก่อนจะลดลงมา

แต่ก็ยัง ‘สูงไป’ สูงไปกว่าระดับที่แบงก์ชาติคิดว่าเหมาะสมกับความยั่งยืน ถ้าปล่อยไปอย่างนี้ วันหนึ่งก็ต้องเกิดปัญหา

‘คือมันก็ไม่ได้มีตัวเลขวิเศษที่จะบอกได้ว่า เท่านี้มันคือ ใช่ แต่ว่าเกณฑ์สากลปกติที่ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ดูกัน คือ ไม่ควรเกิน 80% ของจีพีดี’

sethaput-suthiwartnarueput-bank-of-thailand-governor-interview

ซึ่งการจะแก้ไขเรื่องหนี้ แบงก์ชาติมองว่าต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ

1) ต้องทำแบบครบวงจร ทั้งก่อนก่อหนี้ ระหว่างก่อหนี้ และช่วงที่หนี้มีปัญหาไปแล้ว: ส่วนใหญ่คนจะโฟกัสช่วงสุดท้ายตอนที่มีปัญหาแล้ว แต่ต่อไปนี้แบงก์ชาติจะเน้นการดูแลจุดอื่นๆ ให้มากขึ้นกว่าช่วงก่อน ทั้งการปล่อยหนี้และการสร้างหนี้

2) ทำให้ถูกหลักการ อะไรควร อะไรไม่ควร: แน่นอนว่าไม่มีคำตอบตายตัวที่เป็น ‘ยาวิเศษ’ แต่การจัดการเรื่องหนี้ ต้องไม่เร็วจนเกินไป ต้องไม่สร้างแรงจูงใจที่ผิด (Moral Hazard) และต้องทำให้ตรงจุดไม่หว่านแห 

นอกจากนี้ การแก้ปัญหาหนี้ ต้องไม่ใช่การผลักภาระตอนนี้เพื่อเป็นภาระในระยะยาว อย่างมาตรการพักหนี้ช่วงโควิด-19 เป็นการเตะปัญหาออกไปเรื่อยๆ ประชาชนก็ยังมีภาระเพราะดอกเบี้ยยังเดินอยู่

3) การแก้ปัญหาหนี้ตอนนี้ ต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาการกู้ยืมในอนาคต เช่น การลบข้อมูลเครดิตบูโร คนปล่อยกู้ก็ไม่อยากปล่อยให้ในอนาคต เพราะไม่มีข้อมูล

3. Green

นอกจากเรื่องหนี้แล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญคือเรื่องของสิ่งแวดล้อม (Green) เพราะหากทำแบบที่ทำอยู่ ยังไงเศรษฐกิจไทยก็เติบโตได้ไม่ต่อเนื่องและไม่ยั่งยืน

ทั้งจากที่ไทยเป็นประเทศที่จะถูกกระทบจากกระแสโลกร้อน ไม่ว่าจะโดยภูมิอากาศ หรือมาตรการตอบโต้ต่างๆ ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วใส่เข้ามา

ตัวเลขที่เห็นได้ชัด คือ 30% หรือราว 1 ใน 3 ของแรงงานไทยอยู่ใยภาคการเกษตร น้ำท่วม น้ำแล้ง ก็ถูกกระทบ 50% ของธุรกิจส่งออกอยู่ในเซกเตอร์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องยนต์สันดาป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

บทบาทของ ธปท. คือ ทำอย่างไรให้ภาคการเงินมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสีเขียว (Green Transition) ไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนกว่านี้ ในฐานะองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยทั้งรัฐบาลและประเทศ ถึงจะแก้ไขปัญหาได้

อย่างไรก็ตาม ในเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ออกเอกสารทิศทางและแนวนโยบาย (Directional Paper) เรื่อง Green คาดว่าในอนาคตน่าจะได้เห็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

sethaput-suthiwartnarueput-bank-of-thailand-governor-interview

4. Digital

ทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคตหน้าตาเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ แม้ประเทศไทยจะมีการเซ็ทอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve ต่างๆ ก็ตาม แต่สิ่งที่เราทำได้ คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เพื่อเอื้อให้ของใหม่ๆ เกิดขึ้น

สำหรับภาคการเงิน สิ่งที่แบงก์ชาติทำ คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัล (Digital Financial Infrastructure) ซึ่งที่ผ่านมาก่อให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น พร้อมเพย์ (PromptPay) และการจ่ายเงินด้วยคิวอาร์โค้ด (QR Payment) มาแล้ว

ส่วนเรื่องที่จะทำต่อจากนี้ คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ ผ่านการพัฒนา QR Payment ที่สามารถใช้โอนเงินไปยังต่างประเทศได้ทันที

โดยในปี 2564 ธปท.ได้เปิดตัวบริการโอนเงินระหว่างประเทศแบบทันทีคู่แรกของโลกไปแล้ว ระหว่าง PromptPay และ PayNow ของสิงคโปร์ ซึ่งในอนาคตมีแผนจะเชื่อมกับประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม

นอกจากนี้ มีแผนพัฒนาโครงการพร้อมบิท (PromptBiz) ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้เทคโนโลยี DLT มาช่วยเรื่องการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับภาคธุรกิจ

ตอนนี้มีธุรกรรมที่ทำสำเร็จไปแล้ว น่าจะได้เห็นรีพอร์ตช่วงเดือน พ.ย. ซึ่งน่าจะช่วยตอบโจทย์กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และเปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ

5. HROD

แต่จะทำให้ทั้งหมดที่เล่ามาเกิดขึ้น การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและองค์กร (Human Resource and Organization Development: HROD) ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากๆ

เพราะต้องยอมรับว่าองค์กรอย่างแบงก์ชาติ อยู่มานานกว่า 80 ปี จะปรับเปลี่ยนอะไรทีก็ลำบากมาก แต่ถ้าไม่เปลี่ยน เราก็จะทำภารกิจต่างๆ ได้ยากลำบาก จึงต้องเน้นเรื่องภายในด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า