SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้จะเป็นบุคคลสาธารณะ แต่เมื่อมีบทบาทของความเป็น ‘แม่’ เข้ามาในชีวิตสำหรับ พรรณทิพา อรุณวัฒนชัย หรือ ‘ปุ้มปุ้ย’ ภรรยาของ กวินท์ ดูวาล นักร้องชื่อดัง ทั้งคู่เจอกระแสดราม่าในโซเชียล ตั้งแต่คลอดลูกมาตอนนี้ร่วม 3 เดือนกว่าแล้ว ด้วยคำถามที่ว่า ทำไมไม่โพสต์รูปลูกลงโซเชียล? บางความเห็นถึงขั้นใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อเด็ก

ที่ทำให้ต้องออกมาชี้แจง พร้อมเตรียมดำเนินการเอาผิดทางกฎหมาย

workpointTODAY ชวนทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของลูก’ หรือที่เรียกว่า ‘Sharenting’ โดยยกกรณีของปุ้มปุ้ย ที่นับได้ว่าเป็นบุคคลในวงการบันเทิงไทยคนแรกๆ ที่พยายามจะปกป้องสิทธิลูกให้ห่างจากโซเชียลในช่วงที่ลูกยังไม่ถึงวัย ที่สามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดได้ เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดกับลูกในอนาคต พร้อมสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้น

ปุ้มปุ้ย พรรณทิพา ออกมาบอกตั้งแต่หลังคลอดลูก เธอยืนยันว่าจะไม่โพสต์รูปลูกในโซเชียลจนกว่าลูกจะอนุญาต ยอมรับว่าคิดหนักกับเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนคลอด

แต่ก็มีกระแสดราม่ามาทันที โดยระบุว่า ทำไมไม่เปิดหน้าลูกบนโซเชียล บ้างก็ใช้คำหยาบต่อว่าจนเกินงาม (ไม่แน่ว่าคุณพรรณทิพา จะฟ้องกลับผู้ใช้โซเชียลที่คุกคามเธอหรือไม่ เพราะเธอเก็บหลักฐานเอาไว้หมดแล้ว) เธอจึงตั้งข้อสงสัยถึงการให้ความเป็นส่วนตัว (Privacy) กับลูก โดยเปิดเผยข้อความที่ปรึกษาแพทย์ด้วยว่า ควรตัดเขาออกจากโซเชียลไปเลยหรือไม่

  • อันตรายจากการโพสต์ทุกความเคลื่อนไหว

ข้อมูลจาก ผศ.นพ.วรวุฒิ เชยประเสริฐ กุมารแพทย์เจ้าของเพจเฟสบุ๊ก “เลี้ยงลูกตามใจหมอ” ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า ทุกคนต่างเข้าใจหัวอกของคนที่มีลูก เมื่อเห็นเด็กน่ารัก ก็อยากจะแชร์ให้คนใกล้ชิดเห็นหรือหลายครั้งที่ผู้เป็นพ่อแม่ก็อยากโพสต์ไว้เก็บเป็นความทรงจำเกี่ยวกับลูก หวังว่าเวลาย้อนดูบนไทม์ไลน์ ก็เหมือนนั่งดูอัลบั้มรูปเก่าๆ แต่บางคนโพสต์รูปเด็กทุกฝีก้าว บางคนโพสต์เปิดสาธารณะตลอดและบางคนแชร์ทุกเรื่องที่อาจจะอันตราย ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่ บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน แท็กสถานที่ตลอด และโพสต์แบบเรียลไทม์ “ลูกอยู่ไหน เวลาไหน รู้หมด ลูกเคยทำอะไรในอดีต รู้หมด “เรารู้ โลกรู้มิจฉาชีพก็รู้ นะครับ” ผศ.นพ.วรวุฒิ กล่าว

ผศ.นพ.วรวุฒิ บอกอีกว่า ยิ่งแชร์ ยิ่งอาจมีโทษจะนำอันตรายมาสู่ลูกได้ โดยเฉพาะรูปโป๊เปลือยที่อาจย้อนกลับมาทำร้ายเขาเมื่อยามที่เขาโตขึ้น ที่ยังคงอยู่เสมอในโลกออนไลน์ โดยเสนอว่า การโพสต์รูปลูกแต่พองาม เปิด Private เฉพาะคนในครอบครัวและคนสนิทจริงๆ เป็นสิ่งที่ดีที่สุด หรือหากใช้อินสตาแกรมก็รับผู้ติดตามในวงจำกัด เพื่อไม่ให้ข้อมูลของครอบครัวและลูกเราหลุดไปโดยไม่ตั้งใจ เพื่อประโยชน์ของครอบครัวและลูก

  • เคารพสิทธิจนถึงเวลาที่เขาตัดสินใจได้

กุมารแพทย์ ระบุว่า สิ่งที่ควรทำคือการเคารพสิทธิของลูก (และเคารพสิทธิของคุณพ่อคุณแม่ท่านอื่นที่จะเลือกโพสต์หรือไม่โพสต์เรื่องราวของครอบครัวเขา) อาจรอสักลูกอายุ 3 ขวบขึ้นไปที่เริ่มพูดคุยรู้เรื่องสามารถลองถามลูกได้ว่า พ่อแม่จะขอโพสต์อะไรได้ไหม ชอบหรือไม่ชอบ ลูกมีสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้

อีกเรื่องที่ดูลักลั่นมากในปัจจุบันคือ การเลี้ยงลูกแบบประดิษฐ์ ของหลายบ้านเปรียบเสมือนคนทั้งโลกได้เห็น ผู้ปกครองที่พยายามจะสร้างตัวตนให้กับลูกเพื่อให้คนอื่นเห็นในสิ่งที่อยากให้คนอื่นเห็น (จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่) เช่น ต้องดูดี น่ารัก เป็นต้น ทั้งที่ความเป็นจริง เด็กคนหนึ่งมีมิติมากกว่านั้นมาก เด็กทุกคนมีทั้งด้านน่ารัก และพฤติกรรมที่ไม่น่ารักตามวัย ตามเวลา … ลูกอาจจะกรีดร้อง อาละวาดบางเวลา ดื้อซนร้องไห้ไม่น่ารักได้ แต่เนื่องจากออกสื่อเยอะ สร้างภาพไว้เยอะ ก็อาจมีแนวโน้มที่พ่อแม่จะใช้วิธีการดูแลลูกที่ไม่เหมาะสม ฝืนธรรมชาติเพื่อให้ได้ภาพของลูกที่น่ารักออกมาในหน้าสื่อเท่านั้นก็ได้

ในมุมมองของกุมารแพทย์ให้ข้อมูลว่า บางคนโพสต์ทุกฝีก้าว บางคนโพสต์เปิด Public ตลอดและบางคนก็แชร์ทุกเรื่องที่อาจจะอันตรายกับตัวลูกได้ รวมถึงในอนาคตอาจกระทบกับลูกหากไม่ทันระวังฉุดคิดก่อนกดโพสต์เพียงแค่เสี้ยววินาทีก็สร้างผลกระทบให้ลูกได้

  • ทุกคนควรเรียนรู้ ‘สิทธิในร่างกายเด็ก’

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก ‘นักสังคมสงเคราะห์เล่าเรื่อง’ ได้หยิบยกประเด็นนี้มาวิเคราะห์ ในมุมของนักสังคมสงเคราะห์ มองว่าอยากรณรงค์ให้ทุกคนเข้าใจเรื่อง “สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของลูก” แม้เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทยที่อาจเคยชินกับการมองเด็กเป็น ‘สมบัติ’ ของพ่อแม่ หรืออำนาจของพ่อแม่ที่ ‘เหนือ’ กว่าเด็ก และยังไม่เข้าใจเรื่องสิทธิเด็กมากเท่าที่ควร หากบอกแบบลึกและวิเคราะห์ตามเหตุและผลให้เป็นไปตามสังคมปัจจุบัน

การตัดสินใจนี้อยู่บนฐานของการ เคารพเด็ก ซึ่งหมายถึงการตระหนักว่า เด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถบอกความรู้สึกได้ ว่าเด็กอยากมีรูปหน้าตา หรือแบ่งปันห้วงเวลาส่วนตัวกับมนุษย์คนอื่นนอกครอบครัวของเขาหรือไม่ และกรณีที่เด็กยังบอกไม่ได้ การปกป้องและเคารพต่อลูกที่ดีที่สุด การไม่นำเอาชีวิตส่วนตัวเด็กมาแบ่งปันกับสาธารณะในขณะที่ยังบอกความรู้สึก หรืออนุญาตไม่ได้

  • อย่าลืมว่า ‘เด็กมีสิทธิในร่างกายของตัวเอง’

การปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นสัญลักษณ์และการสื่อสารสำคัญที่พ่อแม่จะให้เด็กเรียนรู้ว่า ‘เขาคือเจ้าของชีวิตตนเอง เขาคือผู้มีสิทธิขาดเหนือเนื้อตัวร่างกายตนเอง’ นี่คือการแสดงความเคารพต่อลูก และเป็นการแสดงความรักที่น่าชื่นชม

การงดถ่ายรูปลูกลงสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแบ่งปันตลอดเวลาหรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Sharenting (Sharing + parenting) คือการเคารพในหลักการ “สิทธิที่จะถูกลืม” (right to be forgotten) ซึ่งเป็นการตระหนักว่า เมื่อใดก็ตามที่เราโพสต์รูปลูก ไม่ว่าขณะใดก็ตามในโลกออนไลน์ รูปของลูก ใบหน้าของเขา อากัปกริยาที่ถูกถ่ายไป จะถูกบันทึกในโลกออนไลน์ตลอดกาล ซึ่งจะถูกแบ่งปันไปอย่างมหาศาลจนไม่มีใครสามารถควบคุมได้ และไม่สามารถรู้วัตถุประสงค์ว่าใครจะเอารูปลูกเราไปทำอะไร แบบไหนได

ที่มา : เลี้ยงลูกตามใจหมอ นักสังคมสงเคราะห์เล่าเรื่อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า