SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์โลกร้อนหรือสภาพอากาศแปรปรวนที่ยิ่งนับวันก็ยิ่งรุนแรงขึ้น ผู้คนรวมไปถึงบริษัทจำนวนมากเริ่มให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ หลายองค์กรเริ่มตั้งเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกจนไปสู่ Net Zero ภายในปีต่างกันไป

และด้วยความที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น การเพิกเฉยต่อเรื่องนี้ หรือแม้แต่การประกาศว่าจะทำแต่สุดท้ายกลับเป็นเพียงคำสวยหรูให้ตัวเองดูดีแบบ Green Washing ก็อาจนำไปสู่ความไม่พอใจจนเกิดความรุนแรงได้

กรณีศึกษาที่อยากยกมาเป็นตัวอย่างในบทความนี้คือกรณีของ Shell บริษัทน้ำมันใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Shell เจอเหตุการณ์ผู้ประท้วงหลายสิบคนมาประท้วงหน้าบริษัทในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะลงมติกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนภายในปี 2030

ซึ่งยังไม่ทันเริ่มประชุม ความโกลาหลเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ผู้ประท้วงมารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ Shell ยุติการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลทันที จนทำให้การประชุมล่าช้าออกไปกว่า 1 ชั่วโมง

ทั้งนี้ การประท้วงจากกลุ่มผู้กังวลปัญหาสภาพอากาศ ได้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วของการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างๆ ในอังกฤษ ซึ่งมักจะมุ่งไปที่ธนาคารต่างๆ เช่น HSBC และ Barclays ที่ปล่อยกู้ให้กับโครงการเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ยังรวมถึงบริษัทน้ำมันอย่าง BP คู่แข่งของ Shell ด้วย

โดยในการประชุมประจำปีครั้งแรกในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Shell ของ Wael Swan และ Andrew Mackenzie ประธานของ Shell และอดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเหมืองแร่ BHP พวกเขาปกป้องบริษัทซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากข้อกล่าวหาที่ว่า ไม่ได้เปลี่ยนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นพลังงานหมุนเวียนอย่างรวดเร็วพอ

Sawan บอกว่า ปี 2565 บริษัทลงทุน 4.3 พันล้านดอลลาร์ ในพลังงานคาร์บอนต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อเพลิงชีวภาพ ไฮโดรเจน การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และพลังงานหมุนเวียน

อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่านั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดจำนวน 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ไปกับน้ำมันและก๊าซ

แต่เมื่อเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญขึ้น กลุ่ม Follow This ซึ่งเป็นองค์กรที่ชวนนักลงทุนมารียกร้องให้บริษัทน้ำมันลดหรือหยุดการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลลง และได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนรายใหญ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มบริหารก็ตาม

และกลุ่มนี้เองได้ขอให้บริษัทจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อลงคะแนนเสียงในเรื่องการแก้ปัญหาสภาพอากาศ

ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นของ Shell มีมติไม่เห็นด้วยต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนถึง 79.8% และเห็นด้วย 20.2%

Mark van Baal ผู้ก่อตั้ง Follow This กล่าวกับที่ประชุมว่าผู้ถือหุ้นที่ว่า ผลการโหวตครั้งนี้ทำให้ Shell ดำเนินกิจการต่อไปเพื่อก่อให้เกิดความพังพินาศของสภาพอากาศ และนี่จะเป็นอันตรายต่ออนาคตระยะยาวของบริษัท

ขณะที่ช่วงเริ่มต้นการประชุม ความวุ่นวายโกลาหนก็เกิดขึ้น เมื่อผู้ประท้วงตะโกนว่า “มันบ้ามากที่ธนาคารและกองทุนบำเหน็จบำนาญ (ผู้ถือหุ้นของ Shell) ลงทุนในเชื้อเพลิงฟอสซิล”

ฝูงชนเริ่มร้องเพลง “Go to hell, Shell” ตามทำนองของ Hit the Road Jack โดย Percy Mayfield ตามมาด้วยเพลง “shut down Shell” และ “we hate Jackdaw” ซึ่งเป็นการกล่าวถึงบ่อน้ำมันในทะเลเหนือ

การประท้วงดำเนินต่อไปนานกว่า 1 ชั่วโมง จนถึงจุดหนึ่ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรีบไปที่ด้านหน้าของการประชุมเพื่อป้องกันคณะกรรมการ ขณะที่ผู้ประท้วงพยายามเข้าใกล้เวที การตะลุมบอนเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพยายามนำผู้ประท้วงออกไปจากพื้นที่

ด้านโฆษกของเชลล์กล่าวว่า “เราเคารพในสิทธิของผู้คนในการแสดงมุมมองของพวกเขา และยินดีต้อนรับการมีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์เกี่ยวกับกลยุทธ์ของเราและการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน อย่างไรก็ตาม เป็นอีกครั้งที่ผู้ประท้วงได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่สนใจที่จะมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์

“เราเห็นพ้องกันว่าสังคมจำเป็นต้องดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ทั้งนี้ ปีที่แล้วมีคน 3 คน ถูกจับกุมหลังจากมีการประท้วงจน Shell ต้องหยุดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นชั่วคราว และผู้ประท้วงด้านสิ่งแวดล้อมตะโกนว่า “เราจะหยุดคุณ”

ที่มา: https://www.theguardian.com/business/2023/may/23/shell-agm-protests-emissions-targets-oil-fossil-fuels


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม The World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาออนไลน์แบบ 1:1 ในวันที่ 25 มิ.ย. 2023

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ ทั้งเรื่องสภาพอากาศ รัสเซีย-ยูเครน ความเท่าเทียม ผู้อพยพ และประเด็นอื่นๆ

โดยระบบจะทำการจับคู่คุณกับคนที่มีแนวคิดไม่เหมือนกับคุณ ซึ่งอาจมาจากประเทศใดก็ได้ในโลก เพื่อที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกันผ่านทางช่องทางออนไลน์

สำหรับกิจกรรม World Talks จะมีขึ้นในวันที่ 25 มิ.ย. 2023 ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 5,000 คน จากกว่า 100 ประเทศแล้ว

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite *คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า