SHARE

คัดลอกแล้ว

Silicon Valley Bank หรือ SVB ธนาคารที่เน้นการลงทุนและปล่อยกู้ให้แก่สตาร์ทอัพใหญ่ ประกาศปิดตัว ถือเป็นข่าวใหญ่สะท้อนผลกระทบจากการที่ Fed ต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ และยังถือเป็นความล้มเหลวของธนาคารสหรัฐที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในรอบทศวรรษ 

การปิดตัว  SVB กระทบสตาร์ทอัพที่ลงทุนเป็นเงินฝากในธนาคาร SVB ตรงๆ เนื่องจากลูกค้าหลักๆ คือสตาร์ทอัพรายใหญ่ที่มาฝากเงินไว้กับธนาคาร และธนาคารก็ปล่อยกู้ต่อสตาร์ทอัพเพื่อนำไปต่อยอดทำธุรกิจต่อ เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ก็เกิดการถอนเงินออกจนขาดสภาพคล่องอย่างหนัก 

ก่อนจะลงรายละเอียดเรื่องการปิดตัวและมาตรการหลังจากนั้น มาทำความรู้จักธนาคาร SVB กันก่อน 

รู้จักธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB

Silicon Valley Bank หรือ SVB ก่อตั้งขึ้นในปี 1983 สาขาแรกที่ San Jose เป็นยุคแรกๆ ก่อนที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจะเติบโตแข็งแกร่งในสหรัฐฯ 

SVB เสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อธุรกิจ เช่น เงินกู้เพื่อช่วยจัดหาเงินทุนสำหรับการซื้อกิจการ โดย SVB แสดงโฆษณาบนเว็บไซต์ว่า “ช่วยธุรกิจในทุกขั้นตอน” ลูกค้าใหญ่ๆ ที่ระบุในเว็บไซต์คือ Shopify, ZipRecruiter และ Andreessen Horowitz บริษัทลงทุน 

SVB มีสำนักงาน 29 แห่งในสหรัฐอเมริกา ธนาคารขยายกิจการและมีผู้เข้ามาร่วมทุนด้วยมากหน้าหลายตา และขยายสาขาไปยัง สหราชอาณาจักร อิสราเอล แคนาดา จีน เยอรมนี ฮ่องกง ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก และสวีเดน และมีการขยายบริการการเงินใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ 

SVB ส่อล้มหลัง Fed ขึ้นดอกเบี้ยหลายระลอก

บริษัทเทคโนโลยีมีความอ่อนไหวต่อการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้ว เนื่องจากหลายบริษัท โดยเฉพาะสตาร์ทอัพ ดำเนินการโดยมีหนี้สูง และยิ่ง Fed ขึ้นดอกเบี้ยหลายระลอก ก็ยิ่งสร้างความอ่อนไหวต่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีเพราะมีต้นทุนสูงขึ้น (ปรากฏการณ์ Tech Layoffs ก็เกิดขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ยด้วย)

แต่เรื่องราวเริ่มปะทุในวันที่ 9 มี.ค. หุ้นของ SVB Financial บริษัทแม่ SVB ร่วงหนัก 62% หลังจากที่บริษัทเสนอการขายหุ้นเพื่อพยุงงบดุลของบริษัทที่ขาดทุน 1.8 พันล้านดอลลาร์ 

เหตุการณ์นี้ทำให้บริษัทที่มาฝากเงินเริ่มหวั่น มีการถอนออกในอัตราเร็ว บริษัทร่วมทุนหลายแห่งรวมถึง Founders Fund, Coatue Management และ Union Square Ventures แนะนำให้บริษัทต่างๆ ถอนเงินออกจาก SVBผลคือนักลงทุนแห่ถอนเงินออกเรื่อยๆ และหุ้นก็ร่วงเรื่อยๆ จนนำมาสู่การหยุดการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 10 มี.ค. 

มาตรการคุ้มครองนักลงทุน หลังการปิดตัว SVB

  • วันที่ 10 มี.ค. FDIC หรือหน่วยงานรักษาเสถียรภาพสถาบันการเงินสหรัฐฯ (Federal Deposit Insurance Corporation) ประกาศปิดตัว SVB โดยกรมคุ้มครองการเงินและนวัตกรรมแห่งแคลิฟอร์เนียแต่งตั้งให้ FDIC เข้ามาดูแลจัดการสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของ SVB เพื่อปกป้องผู้ที่ฝากเงินที่มีประกัน 
  • FDIC ได้สร้าง Deposit Insurance National Bank of Santa Clara หรือ DINB มาเป็นธนาคารแยก โดย FDIC จะโอนเงินฝากประกันทั้งหมดของ SVB ไปยัง DINB ทันที
  • ผู้ฝากที่มีประกันทุกคนจะสามารถเข้าถึงเงินฝากที่ของตนได้เต็มที่ไม่เกินเช้าวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. โดย FDIC จะจ่ายเงินปันผลล่วงหน้าให้กับผู้ฝากที่ไม่มีประกันภายในสัปดาห์หน้า 
  • ผู้ฝากเงินที่ไม่มีประกันจะได้รับใบพิทักษ์ทรัพย์สำหรับจำนวนเงินที่เหลืออยู่ของเงินที่ไม่มีประกัน เนื่องจาก FDIC ขายสินทรัพย์ของ Silicon Valley Bank อาจมีการจ่ายเงินปันผลให้ในอนาคต 
  • สำนักงานใหญ่และสาขาของ Silicon Valley Bank จะเปิดทำการ และเปิดกิจกรรมการเงินอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. (ดำเนินการโดย DINB) เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงกองทุนประกันของตนได้อย่างต่อเนื่อง
  • ณ วันที่ 31 ธ.ค. ปี 2022 ที่ผ่านมา SVB มีสินทรัพย์รวมประมาณ 209.0 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินฝากทั้งหมดประมาณ 175.4 พันล้านดอลลาร์

ธนาคารSVB  อยู่ภายใต้การดูแลของ FDIC ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐบาลกลาง ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำให้แน่ใจว่าธนาคารมีความแข็งแกร่งและมีความรับผิดชอบเพียงพอที่จะให้บริการลูกค้า

แต่ก็ยังถือเป็นเรื่องยากที่ FDIC จะเข้าครอบครองธนาคารขนาดใหญ่อย่าง  SVB ถ้ายึดตามธรรมเนียมปกติแล้ว FDIC จะเข้าครอบครองและชำระบัญชีธนาคารหลังจากตลาดหุ้นปิดทำการในวันศุกร์ เพื่อจำกัดความเสียหาย

แต่กรณี SVB มีการแห่ถอนเร็วกว่าที่คิดไว้ กระตุ้นให้หน่วยงานกำกับดูแลธนาคารต้องเข้ารีบดำเนินการ ซึ่งยึดตามเวลาสหรัฐฯแล้ว ช่วงเวลาที่ประกาศยังเป็นช่วงเปิดทำการในวันศุกร์อยู่

แต่ก็อาจไม่ใช่ลูกค้าทุกราย ที่จะได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานกำกับดูแลจากเคสนี้ Roku บริการสตรีมมิ่งแสดงเอกสารต่อ SEC ว่า 487 ล้านดอลลาร์ ฝากไว้กับ SVB คิดเป็น 26% ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งบริษัทแสดงความกังวลเรื่องการถอนเงินสดออกมา ไม่แน่ใจว่าจะถอนออกมาได้หรือไม่ นอกจากนี้ยังมีสตาร์ทอัพบางแห่งถอนเงินออกมาไม่ทัน ซึ่งกระทบต่อสภาพคล่องในบริษัท และกระทบการจ่ายเงินเดือนพนักงานด้วย

สำนักข่าว CNBC รวบรวมเคสการล่มสลายของธนาคาร ใหญ่สุดคือ Washington Mutual ในปี 2008 ซึ่งมีสินทรัพย์ 307 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือกรณีล่าสุด ที่ขนาดสินทรัพย์ 212 พันล้านดอลลาร์ 

ที่มา : FDIC, CNBC, Blognone 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า