SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งในประเทศที่เหล่ามหาเศรษฐีนิยมย้ายไปใช้ชีวิตมากที่สุดคือ ‘สิงคโปร์’ เพราะมีนโยบายภาษีที่เอื้อต่อการสะสมความมั่งคั่ง ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญของเศรษฐีทั่วโลก แต่ไม่นานมานี้ รัฐบาลสิงคโปร์เริ่มขยับเก็บภาษีจากคนรวยมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศ ส่งผลให้เศรษฐีบางกลุ่มเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังแบกรับภาระมากเกินไป

พูดง่ายๆ ว่า รายได้จากภาษีของพวกเขาถูกนำไปช่วยเหลือคนในประเทศมากกว่าที่รัฐบาลให้การสนับสนุนพวกเขาเอง

[ เศรษฐีจับตานโยบายใหม่รัฐบาลสิงคโปร์ อาจเก็บภาษีสูงเกินไป ]

ช่วงนี้เหล่าเศรษฐีกำลังจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะสิงคโปร์กำลังจะมีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในไม่กี่วันนี้ ซึ่งรัฐบาลต้องพยายามรักษาความน่าสนใจในฐานะศูนย์กลางความมั่งคั่งระดับโลก ขณะเดียวกันก็ต้องตอบสนองเสียงเรียกร้องในประเทศที่ต้องการลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน หนึ่งในมาตรการสำคัญคือการปรับขึ้นภาษีสำหรับคนมั่งคั่ง

ความกังวลในหมู่เศรษฐีเริ่มปรากฏชัด บางคนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ เช่น ย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่ดูไบหรืออาบูดาบี ขณะเดียวกันประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียก็เร่งโปรโมทนโยบายดึงดูดเศรษฐี ด้วยการส่งเสริมการตั้งกองทุนครอบครัว หรือที่เรียกกันว่า “Family Office”

สำหรับมาตรการภาษีใหม่ที่คนรวยต้องเจออัตราภาษีเงินได้สูงสุดขยับเป็น 24% ขึ้นภาษีอสังหาริมทรัพย์หรู และรถยนต์หรู เพิ่มอัตราอากรแสตมป์ (stamp duty) สำหรับชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาฯ เป็น 60% จากข้อมูลของ Henley & Partners ที่ผ่านมามีมหาเศรษฐีทั่วโลกย้ายเข้ามาอยู่ในสิงคโปร์ กว่า 3,500 คน มี family office ก่อตั้งอยู่มากกว่า 2,000 แห่ง 

กระทั่งช่วงปลายปี 2023 ‘ลอว์เรนซ์ หว่อง’ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ กล่าวกับนักลงทุนว่า

“หากคุณอยากมาตั้งรกรากที่นี่ ต้องเคารพกฎกติกาและวัฒนธรรมของเรา หากคิดว่าทำไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร คุณสามารถนำเงินของคุณไปที่อื่นได้” คำพูดนี้คือการส่งสัญญาณชัดว่าถ้า จะย้ายมาสิงคโปร์ก็ต้องรับนโยบายภาษีให้ได้

ขณะที่ปัจจุบันเสียงสะท้อนจากมหาเศรษฐีในประเทศบางกลุ่มเริ่มรู้สึกว่าถูกเหมารวมกับนักลงทุนต่างชาติ โดยพวกเขามองว่าตัวเองมีส่วนช่วยเหลือสังคมสิงคโปร์มากกว่ากลุ่มนักลงทุนต่างชาติ

มีรายงานข่าวออกมาว่า สมาชิกในแวดวงครอบครัวมหาเศรษฐีหลายราย เล่าว่า พวกเขากำลังพิจารณาทางเลือกใหม่ เช่น ย้ายไปอยู่ดูไบหรืออาบูดาบี หากถูกเก็บภาษีมากเกินไป และบางคนก็กำลังพยายามพูดคุยกับคนใกล้ชิดรัฐบาลเพื่อหาความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางบริหารมหาเศรษฐีของสิงคโปร์

แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีการย้ายฐานการเงินครั้งใหญ่ แต่ผู้จัดการกองทุนครอบครัว (family office) หลายรายยอมรับว่าลูกค้ารู้สึกไม่พอใจที่ภาษีถูกปรับเพิ่มขึ้น

[ เพิ่มภาษี = ลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้ดี ]

แต่ก็ต้องยอมรับว่านโยบายเพิ่มภาษีของสิงคโปร์จะได้ผลจริงๆ เพราะรัฐบาลยืนยันว่า ระบบภาษีที่ “ก้าวหน้า” ของประเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้เป็นรูปธรรม ทั้งการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์หรู การควบคุมราคาบ้านใหม่ให้อยู่ในระดับที่คนทั่วไปเข้าถึงได้ รวมถึงการแจกคูปองและเงินช่วยเหลือให้ครอบครัวรายได้กลางถึงต่ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากค่าครองชีพที่พุ่งสูง

แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องยอมรับว่าความเหลื่อมล้ำในเรื่อง “ทรัพย์สิน” ยังคงขยายกว้าง โดยข้อมูลจากธนาคาร UBS ชี้ว่า ในช่วง 15 ปี (จนถึงปี 2023) 

        • ทรัพย์สินเฉลี่ยของชาวสิงคโปร์เพิ่มขึ้นถึง 116%
        • ขณะที่ทรัพย์สินกึ่งกลาง (median) กลับลดลง 2%

แปลว่า คนรวย รวยขึ้นมาก แต่คนทั่วไปไม่ได้มั่งคั่งขึ้นตามกันเท่าไร

ถึงอย่างนั้นก็มีสัญญาณบวกให้เห็นบ้าง เช่น รายได้เฉลี่ยของคนสิงคโปร์เพิ่มขึ้น และความเหลื่อมล้ำในแง่ “รายได้” (เฉพาะเงินเดือน) ก็อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 20 ปี แต่ทว่าในชีวิตจริง คนสิงคโปร์จำนวนมากยังรู้สึกถึงแรงกดดันอยู่ดี เพราะเมื่อขับรถไปแถวย่าน Orchard ก็มีแต่รถสปอร์ตวิ่งเต็มไปหมด ยิ่งเห็นยิ่งรู้สึกว่าตัวเอง “ควรมีมากกว่านี้”

ด้าน ‘David Black’  ซีอีโอ Blackbox Research ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า “แม้คนสิงคโปร์วันนี้จะรวยกว่ารุ่นพ่อแม่ แต่ความคาดหวังก็สูงขึ้นมากเช่นกัน”

อย่างไรก็ตาม ค่าครองชีพในสิงคโปร์ก็ยังคงสูงลิ่ว แม้อัตราเงินเฟ้อจะลดลงจนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี แต่สิงคโปร์ก็ยังติดอันดับเมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกอยู่ดี เช่น รถ Toyota Corolla มีราคาทะลุ 200,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ราคาบ้านเอกชนพุ่งขึ้นเกือบ 30% ภายในระยะเวลาแค่ 4 ปี และแฟลต HDB (ที่อยู่อาศัยการเคหะสิงคโปร์) บางแห่งก็ขายต่อได้ในราคากว่า 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (25 ล้านบาท)

ในแง่นโยบาย นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ‘ลอว์เรนซ์ หว่อง’ เลือกที่จะเลี่ยงขึ้นภาษีเพิ่มเติมในช่วงการบริหารประเทศช่วงต้นๆ ของตัวเอง แต่หันไปเน้นช่วยเหลือครัวเรือนรายได้กลางถึงต่ำแทน เช่น การแจกคูปองซูเปอร์มาร์เก็ต การคืนเงินค่าไฟ และการลดภาษีเงินได้สำหรับครอบครัวใหญ่ๆ เพื่อพยุงกำลังซื้อในช่วงค่าครองชีพสูง ขณะเดียวกันผู้นำประเทศก็พยายามสร้างภาพลักษณ์ติดดินให้คนสิงคโปร์เห็น

ทว่าการเปลี่ยนแนวคิดของคนในประเทศที่ยังยึดติดว่าความมั่งคั่งต้องมาพร้อมกับมาตรฐานความสำเร็จแบบ “5C” ที่ว่าต้องมี รถ คอนโด บัตรเครดิตวงเงินสูง สมาชิกคันทรีคลับ และเงินสด (Car, Condominium, Credit Card, Country Club, Cash) ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก 

สรุปว่า วันนี้ ความเหลื่อมล้ำในสิงคโปร์ไม่ใช่แค่เรื่องของรายได้หรือทรัพย์สินอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องของ “ความรู้สึกกลัวตกขบวน” (fear of missing out) มากกว่าความลำบากจริงๆ 

ส่วนมหาเศรษฐีที่อยู่ในประเทศก็ยังอยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์ให้รอบคอบ เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะประเทศไหนก็มีแต่ ‘วิกฤตเศรษฐี’ อยากจะย้ายออกจากประเทศกันเสียทั้งนั้น 

ที่มา

        • https://www.bloomberg.com/news/articles/2025-04-24/singapore-billionaires-unsettled-by-tax-rises-to-narrow-wealth-gap?srnd=homepage-asia&sref=LQZclhPm

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า