Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แอปพลิเคชันติดตามตัว ถูกมองว่าเป็นตัวช่วยสำคัญในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งหลายประเทศได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่พัฒนาแอปฯ ‘ไทยชนะ-หมอชนะ’ ที่กำลังเป็นประเด็นในตอนนี้

วันนี้ workpointTODAY จะพาไปดูแอปฯ ติดตามตัวของสิงคโปร์ ที่ถูกมองว่าประสบความสำเร็จเช่นกัน แต่ด้วยความสำเร็จนี้เอง ทำให้ระบบนี้กำลังถูกถกเถียงอย่างหนัก เพราะบางฝ่ายมองว่า รัฐบาลสิงคโปร์กำลังใช้ประโยชน์จากแอปฯ ติดตามตัว มากกว่าแค่การติดตามกลุ่มเสี่ยงติดโรคโควิด-19

🇸🇬 สิงคโปร์เป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่พัฒนาระบบติดตามตัวเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 มาใช้ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า ‘TraceTogether’ ให้ประชาชนดาวน์โหลดลงในสมาร์ทโฟน

🇸🇬 แอปฯ ‘TraceTogether’ ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะชาวสิงคโปร์ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แม้จะมีปัญหาการใช้งานในตอนแรก แต่ผู้พัฒนาก็แก้ปัญหามาโดยตลอด ยกเว้นปัญหาหนึ่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่คือ แอปฯ ‘TraceTogether’ สามารถใช้งานได้กับผู้ที่มีสมาร์ทโฟนเท่านั้น ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนหรือไม่สะดวกดาวน์โหลดแอปฯ นี้จึงไม่อยู่ในระบบติดตามตัว

🇸🇬 การแก้ปัญหานี้ของรัฐบาลสิงคโปร์ คือการพัฒนาอุปกรณ์ติดตัวชนิดหนึ่งเรียกว่า ‘TraceTogether Token’ โดยอุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเป็นกล่องสีเหลี่ยมสีขาว คล้ายกับกล่องหูฟัง AirPod

🇸🇬 ‘TraceTogether Token’ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออุดจุดอ่อนของแอปฯ โดยตรง เพราะมีข้อดีคือ ขนาดเล็ก พกพาง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามาก และที่สำคัญคือถ้ามีอุปกรณ์ชนิดนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องโหลดแอปฯ ในสมาร์ทโฟน เพราะมันจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลติดตามตัวแทน

🇸🇬 สำหรับหลักการทำงานของทั้งแอปฯ และอุปกรณ์ ‘TraceTogether’ จะทำงานโดยอาศัยสัญญาณบลูทูธจับสัญญาณกับคนอื่นๆ เมื่ออยู่ในระยะที่ใกล้กัน ดังนั้นถ้ามีใครป่วยโรคโควิด-19 ระบบจะมีข้อมูลว่าผู้ป่วยเคยไปใกล้ชิดกับใครบ้าง ทำให้รัฐบาลติดต่อกลุ่มเสี่ยงมาตรวจโรคได้อย่างรวดเร็ว

🇸🇬 การเริ่มต้นใช้งานทั้งแอปฯ และอุปกรณ์ ‘TraceTogether’ ผู้ใช้จำเป็นต้องลงทะเบียนข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขโทรศัพท์และหมายเลขประจำตัวประชาชน แต่รัฐบาลสิงคโปร์ยืนยันว่า ข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกส่งต่อกันระหว่างบลูทูธ

🇸🇬 สำหรับข้อมูลที่ได้จากบลูทูธจะถูกส่งไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์ที่ปลอดภัยและเข้ารหัสไว้เป็นอย่างดี โดยจะจัดเก็บไว้เป็นเวลา 25 วัน ข้อมูลทั้งหมดจะถูกลบทันที นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนนี้โดยตรง ต้องร้องขอให้มีการเปิดเผยข้อมูลในกรณีพบผู้ป่วยโควิด-19 เท่านั้น

🇸🇬 เช่นเดียวกับผู้ที่พกอุปกรณ์ ‘TraceTogether’ ที่แม้จะไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเหมือนสมาร์ทโฟน แต่ข้อมูลก็จะถูกเก็บอยู่ในเครื่อง และจะถูกลบทันทีถ้าครบ 25 วัน

🇸🇬 การออกแบบแอปฯ และอุปกรณ์ ‘TraceTogether’ ที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม ทำให้ระบบติดตามตัวของสิงคโปร์นี้ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยข้อมูลล่าสุดมีชาวสิงคโปร์ที่ดาวน์โหลดแอปฯ หรือพกพาอุปกรณ์ ‘TraceTogether’ มากถึงกว่า 4.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 78% ของประชากรทั้งประเทศ โดยรัฐบาลยืนยันว่า จะเร่งขยายให้มีผู้ใช้ระบบติดตามตัวนี้มากขึ้นอีก

🇸🇬 อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบติดตามตัวของสิงคโปร์ถูกตั้งคำถามมาตั้งแต่แรกแล้วถึงความเป็นส่วนตัวของประชาชน เพราะแม้รัฐบาลจะยืนยันถึงการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลใดๆ ในโทรศัพท์ รวมทั้งไม่ได้เก็บข้อมูลการเดินทางจากจีพีเอส และข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ถ้าในอนาคต รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการเก็บข้อมูลจริงๆ ก็สามารถทำได้ไม่ยาก

🇸🇬 ดร.ไมเคิล วีลด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีประจำมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ยกตัวอย่างว่า ถ้ารัฐบาลสิงคโปร์ต้องการเข้มงวดมาตรการกักตัวหรือจำกัดการเดินทางประชาชนก็สามารถทำได้ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์บลูทูธตามสถานที่ต่างๆ เพื่อตรวจจับว่ามีใครผ่านในบริเวณนั้นๆ บ้าง เท่านี้ก็จะทราบว่า มีใครออกจากเคหสถานหรือเดินทางไปในสถานที่ที่ไม่ควรไปหรือไม่

🇸🇬 นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางส่วนที่ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาลสิงคโปร์ โดยมองว่ารัฐบาลต้องการสอดแนมประชาชนอยู่แล้ว และข้อมูลต่างๆ ที่แม้จะยืนยันว่าปลอดภัยและถูกเข้ารหัสเอาไว้ แต่สุดท้ายหากรัฐบาลต้องการข้อมูลก็สามารถทำได้อยู่ดี

🇸🇬 ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ถูกพูดถึงอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อมีความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์ที่จะขยายขอบเขตการใช้งานระบบ ‘TraceTogether’ จากเดิมที่ใช้เฉพาะการติดตามกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 มาเป็นการติดตามผู้กระทำผิดในข้อหาอุกฉกรรจ์ด้วย

🇸🇬 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า จะผลักดันร่างกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ใช้ระบบติดตามตัว ‘TraceTogether’ ติดตามผู้กระทำผิด โดยยืนยันต่อสาธารณะว่า จะใช้เฉพาะในข้อหาร้ายแรง เช่น เหตุฆาตกรรม การก่อการร้ายและเหตุข่มขืน เป็นต้น

🇸🇬 หลายฝ่ายออกมาคัดค้านแนวคิดนี้ของรัฐบาลสิงคโปร์ เพราะนอกจากจะไม่มั่นใจว่า ร่างกฎหมายฉบับใหม่จะให้อำนาจรัฐบาลเข้าถึงข้อมูลในระบบ ‘TraceTogether’ มากน้อยแค่ไหนแล้ว หลายคนยังกังวลว่า นี่จะเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของระบบ ‘TraceTogether’ และทำให้มีผู้ใช้น้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการควบคุมโรคโควิด-19 ในสิงคโปร์ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า