SHARE

คัดลอกแล้ว

ไล่ไทม์ไลน์เปิดจอง ซิโนฟาร์ม ไม่สำเร็จเพราะเว็บไซต์ล่ม

วันที่ 4 ส.ค. 2564 ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤตโควิด-19 ทำให้ความหวังของประชากรไทยพุ่งเป้าไปที่วัคซีนป้องกันโควิด-19 หลายคนยังคงต้องการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพื่อกันป่วยกันตาย วันนี้เป็นอีก 1 วันที่คนไทยพร้อมใจกันลงทะเบียนวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ 2 โดสต่อคน 1,554 บาท (โดสละ 777 บาท) ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเปิดให้จองเป็นรอบที่ 2 สำหรับบุคลธรรมดาอายุ 18 ปี ขึ้นไป แต่เสียงสะท้อนส่วนใหญ่กลับพบว่าระบบการจอง ล่ม!

เมื่อย้อนกลับไปดู ไทม์ไลน์ การเข้าจองฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กลับพบปัญหาหลักๆ คือ ระบบการจองวัคซีนผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันไม่เสถียร จนรองรับความต้องการประชาชนไม่ได้

⚫️ 12 ก.ค. 2564
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ออกมาเปิดเผย จะเปิดให้ประชาชนจองวัคซีนซิโนฟาร์มผ่านแอปพลิเคชัน โดยให้ดาวน์โหลดและจองในวันที่ 15-16 ก.ค. 2564 ในล็อตแรกจะให้จอง 30,000-50,000 คน ทำให้ประชาชนหลายคนสนใจ และตั้งตารอเพื่อจะโหลดแอปพลิเคชั่น ซึ่งเปิดลงทะเบียนในเวลา 8.00 น. ที่กำหนดไว้

⚫️ 15 ก.ค. 2564
ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ออกประกาศขอโทษผ่านเฟซบุ๊ก ที่นำแอปพลิเคชันขึ้นให้โหลดไม่ทัน อ้างว่ายังเป็นการทดสอบระบบ โดยระบุว่า จะมีลิ้งค์ให้เข้าไปดูขั้นตอนการจองวัคซีนเพื่อให้เข้าใจ แต่จะเปิดให้จอง วันที่ 18 กค. เวลา 08.00 น. ชุดแรก 40,000 คนก่อนเท่านั้น

มีประชาชนเข้ามาคอมเมนท์ในโพสต์นี้ส่วนใหญ่ระบุว่า ‘รอ’

⚫️ 18 ก.ค. 2564
เมื่อเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนจริง 08.00 น. กระแสในโซเชียลระบุว่า เว็บไซต์ล่ม แอปพลิเคชั่นใช้งานไม่ได้ระบบแจ้งว่ามีผู้เข้าใช้จำนวนมาก กระทั่งเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง เฟซบุ๊กราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แจ้งว่ามีผู้ลงทะเบียนจองวัคซีนรอบแรกเต็มแล้ว 60,000 คน สำหรับคนลงทะเบียนไม่ได้ให้รออีก 1 สัปดาห์

⚫️ 19 ก.ค. 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยสถิติการทดสอบระบบลงทะเบียนจองวัคซีนทางเลือก ‘ซิโนฟาร์ม’ สำหรับบุคคลธรรมดา ว่ามีผู้สนใจเข้าระบบดังนี้
• จำนวนผู้ที่รอเข้าระบบ 275,234 ราย (ก่อนเวลา 08.00 น.)
• จำนวนผู้เข้าระบบลงทะเบียนหลังจากเปิดระบบ 768,890 ราย
• จำนวนผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จ 87,197 ราย
• จำนวนผู้ที่ลงทะเบียนและจองได้สำเร็จ 39,038 ราย
• จำนวนผู้ที่ลงทะเบียนจองและชำระเงินสำเร็จ 29,263 ราย

พร้อมกันนี้ ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวขอโทษที่ระบบการจองมีความล่าช้า สะดุดติดขัดในขั้นตอนที่จำเป็นต่างๆ โดยจะเร่งพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานได้โดยสะดวก
เช่นเดียวกับ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ยอมรับว่า การจัดสรรวัคซีนให้กับบุคคลธรรมดานั้นค่อนข้างยากเนื่องจากต้องตรวจสอบตัวบุคคล

⚫️ 27 ก.ค. 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุ เปิดรอบเก็บตกของวันที่ 18 ก.ค. 2564 เฉพาะกลุ่มที่ลงทะเบียนรอบแรกได้สำเร็จ แต่ยังไม่ได้เข้าจองวัคซีน จำนวน 48,756 ราย โดยเปิดให้เข้าจองวัคซีน เวลา 10.10 น. จนถึงวันที่ 28 ก.ค.2564 เวลา 18.00 น. ด้วยเลขที่บัตรประชาชนของผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนเท่านั้น

⚫️ 2 ส.ค. 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกาศเปิดลงทะเบียนจองวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ สำหรับ บุคคลธรรมดา รอบ 2 จำนวน 75,000 ราย วันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 10.10 น. เปิดระบบให้ลงทะเบียน ส่วนเวลา 14.00 น. เปิดระบบการจองวัคซีนสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนสำเร็จ

⚫️ 4 ส.ค. 2564
เวลา 10.10 น.ประชาชนแห่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม รอบที่2 แต่ส่วนใหญ่ยืนยันว่า ไม่สามารถลงทะเบียนจองวัคซีนได้ตั้งแต่นาทีแรก เว็บไซต์ล่ม เช่นเดียวกับทางแอปลิเคชัน ก็มีคนเข้าใช้จำนวนมากไม่สามารถลงทะเบียนได้ค้างตั้งแต่หน้าแรกของการกรอกประวัติส่วนตัว

ต่อมาเวลา 13.07 น. ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า วันนี้ระบบการลงทะเบียนเช้านี้เริ่ม 10.10 น. หลังเปิดใช้งานได้ 2-3 นาที พบว่า แอปพลิเคชันเริ่มช้า
10.10 น. – 10.20 น. ลงทะเบียนสำเร็จ 400 ราย
10.20 น. – 10.25 น. ลงทะเบียนสำเร็จ 100 ราย

ตรวจพบมีคนใช้โปรแกรมพยายามเข้ามาในระบบแบบไม่ถูกต้อง
10.25 น. – 10.40 น. ปิดระบบเพื่อจัดการโปรแกรมที่ก่อปัญหา และเริ่มเปิดระบบ 10.30 น.
10.30 น. – 10.40 น. ลงทะเบียนสำเร็จ 4,500 ราย
10.40 น. – 11.10 น. ระบบทำงานปกติผู้ลงทะเบียนสำเร็จ 62,000 ราย

ขยายโควตารองรับการเข้าลงทะเบียน จาก 75,000 ราย เพิ่มเป็น 86,000 ราย
11.10 น. – 11.31 น. ลงทะเบียนสำเร็จ 13,471 ราย
ปิดการลงทะเบียน 11.31 น.
รวมผู้ลงทะเบียนสำเร็จรวม 86,291 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า