Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) ถูกทดสอบจากการใช้จริง กับประชากรหลายหมื่นคนในเมืองๆ หนึ่งที่ประเทศบราซิล ซึ่งผลที่ออกมายืนยันว่า วัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพทั้งการลดการติดเชื้อ ลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19

ผลการใช้จริงหลังฉีดวัคซีนซิโนแวคในเมืองนี้เป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY จะสรุปมาให้อ่านกัน

1.) วันที่ 17 ก.พ. 2564 สถาบันบูตันตัน (Butantan Institute) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในบราซิล เริ่มทำการทดลองประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค (Sinovac) จากการใช้จริง ด้วยการระดมฉีดให้กับประชาชนในเมืองเซอร์รานา (Serrana) ให้ครอบคลุมผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดของเมือง

2.) การทดลองครั้งนี้มีชื่อว่า ‘Projeto S’ โดยจะใช้วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ราว 60,000 โดส ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ได้ 80% ของประชากรทั้งหมดที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ซึ่งการฉีดวัคซีนเป็นไปตามเป้าหมาย สะท้อนจากข้อมูลเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีชาวเมืองเซอร์รานาได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว 27,160 คน

3.) ทันทีที่ประชากรผู้ใหญ่เกือบทั้งหมดของเมืองได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ทีมวิจัยได้รวบรวมสถิติการติดเชื้อ การป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เปรียบเทียบกับช่วงก่อนฉีดวัคซีน พบว่า สถานการณ์หลังฉีดวัคซีนในเมืองเซอร์รานาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

4.) เริ่มต้นจากอัตราการติดเชื้อ ซึ่งเคยสูงถึง 706 คนในเดือนมกราคม 2564 จนกระทั่งเริ่มโครงการฉีดวัคซีนตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเกือบ 3 เท่าตัว เหลือ 235 คน

5.) เช่นเดียวกับอาการป่วยรุนแรง ที่เดือนมีนาคมเคยมีอัตราผู้ป่วยอาการหนักถึง 70% ก็ลดลงเหลือ 10% ในช่วงต้นเดือนเมษายน สอดคล้องกับรายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมาที่ระบุว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 อาการหนักในห้องไอซียูเพียง 9 คน

6.) ขณะที่การเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในช่วงที่มีการทดลอง ปรากฎว่า พบผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เสียชีวิต 14 คน ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคเสียชีวิต 6 คน โดยในจำนวนนี้ 5 คนเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ขณะที่อีก 1 คน แม้จะเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว แต่ทีมวิจัยเชื่อว่า น่าจะได้รับเชื้อมาตั้งแต่ก่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2

7.) ผลการทดลองจากการใช้จริงในเมืองเซอร์รานาของบราซิล ทำให้นักวิจัยสรุปได้ว่า วัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพต้านไวรัสโควิด-19 ได้จริง และอาจต้านไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์บราซิล (P.1) ได้ด้วย เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในบราซิล

8.) ทีมวิจัยเปิดเผยว่า จะยังคงติดตามผลการวิจัยไปอีก 1 ปี เพื่อตอบคำถามว่า วัคซีนซิโนแวค สามารถสร้างภูมิต้านทานโควิด-19 ในร่างกายมนุษย์ได้นานแค่ไหน ซึ่งปัจจุบันเป็นข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า