SHARE

คัดลอกแล้ว
นพ.มานพ เผย ผลการศึกษาประสิทธิภาพการฉีด ซิโนแวค 4 แหล่ง ที่ ศบค. ออกมาเปิดเผย อาจคลาดเคลื่อนเพราะเป็นการสำรวจในกลุ่มคนจำนวนน้อย ไม่ใช่การศึกษาวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมาก
วันที่ 22 ก.ค. 2564 นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวถึง กรณี ศบค. ออกมาเปิดเผยข้อมูลผลการศึกษา ประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนจาก 4 แหล่ง ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลจากการเก็บสำรวจ ไม่ใช่ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เป็นระบบแบบแผนหรือการศึกษาในระยะที่ 3
การเก็บข้อมูลในชีวิตจริง (Real World Data) เช่นนี้ อาจมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้ เช่น พฤติกรรมของแต่ละคน ต่างกับการศึกษาระยะที่ 3 ที่มีการควบคุมตัวแปร ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าผลเกิดจากวัคซีนจริงๆ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยอื่น
“ในช่วงแรกเราอาจจะเห็นเริ่มต้นอาจจะดี แต่เมื่อเราเก็บไปมากขึ้น อาจจะแย่ลงก็ได้” นพ.มานพ กล่าว
ทั้งนี้การเก็บข้อมูลด้วยจำนวนหลักร้อยหรือหลักพันถือว่ามีจำนวนที่น้อยเกินไป แต่หากมีการเก็บข้อมูลในชีวิตจริงจำนวนมาก เช่น ประเทศชิลี ที่เก็บข้อมูลเกิน 10 ล้านคน จะเป็นข้อมูลที่มีคุณค่าและดีกว่าการศึกษาระยะที่ 3
ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยรายงานการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนซิโนแวคที่ได้นำมาฉีดให้กับคนไทยใน 4 แหล่ง มีดังนี้
1. จ.ภูเก็ต ได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ช่วงเดือน เม.ย. – พ.ค. 64 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ เพียง 124 ราย หากเทียบกันระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.7%
2. จ.สมุทรสาคร ได้ติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง กว่า 500 ราย ช่วงเดือน เม.ย. 64 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ 90.5%
3. จ.เชียงราย ได้ติดตามกรณีการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือนมิ.ย. 64 กว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย
นอกจากนี้ ยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 88.8% และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ 84.9% สำหรับบุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 83.8%
4. กรมควบคุมโรค ได้ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุขที่ติดเชื้อทั้งประเทศ และข้อมูลการรับวัคซีนช่วงเดือน พ.ค. 64 ที่การระบาดเป็นสายพันธุ์อัลฟาพบว่าประสิทธิผลซิโนแวค 2 เข็ม อยู่ที่ 71% ส่วนเดือน มิ.ย. 64 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาทั้งประเทศราว 20 – 40% พบประสิทธิผลอยู่ที่ 75%
ดังนั้น หากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม สามารถป้องกันติดเชื้อจากสายพันธุ์อัลฟาได้ประมาณ 90% และป้องกันปอดอักเสบได้ 85% ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตาขณะนี้ ถือว่ายังคงที่
สำหรับการฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนนั้น จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ พบว่าจะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า