SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ คือ ชื่อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในสัปดาห์ที่ผ่านมา ในฐานะว่าที่ ‘ขุนคลัง’ หรือว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากพรรคก้าวไกล หัวหน้าทีมเศรษฐกิจที่ถูกวางตัวเอาไว้ก่อนการเลือกตั้ง

เพราะเข้าสู่วงการการเมืองมาได้ไม่นาน นับรวมๆ แล้วเพียง 5-6 ปีเศษเท่านั้น จึงทำให้หลายๆ คนอยากรู้ว่านอกจากนโยบายเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกลแล้ว ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนต่อไป มองปัญหาสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างไร

TODAY Bizview ชวนย้อนดูประวัติและงานวิจัยเรื่องความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยที่ศิริกัญญาและคณะเคยทำร่วมกับสถาบันอนาคตไทยเมื่อหลายปีก่อน เพื่อทำความเข้าใจแนวคิด ‘ศิริกัญญา ตันสกุล’ หญิงแกร่งแห่งก้าวไกล

[ เด็กชลบุรีสู่หัวหน้าทีมเศรษฐกิจก้าวไกล ]

‘ศิริกัญญา’ เป็นเด็กชลบุรีเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนอนุบาลชลบุรี และเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนชลกันยานุกูล ก่อนย้ายมาเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

และเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรีและปริญญาโท รวมถึงได้เรียนต่อระดับปริญญาโทอีกใบในสาขา Economics, Market and Organization, Toulouse School of Economics ประเทศฝรั่งเศส

หลายปีก่อนจะมาเป็น ‘รองหัวหน้าพรรค’ และ ‘หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล’ ศิริกัญญาเคยทำงานในฐานะนักวิจัยของสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และสถาบันอนาคตไทยศึกษา รวมถึงในบริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด

จนกระทั่งในเวลาต่อมาถูก ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ชวนมาเริ่มต้นงานทางการเมืองในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย พรรคอนาคตใหม่ ในปี 2561

หลังเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรก็ได้ทำงานในฐานะ ‘มือทำงานสภา’ ของพรรคก้าวไกล ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ ก่อนลงเลือกตั้งอีกครั้งในฐานะผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่ออันดับ 3 ของพรรคก้าวไกลและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ด้วยข้อเสนอเศรษฐกิจไทยจะพัฒนาได้ต้องยกเครื่องระบบราชการและวิธีการงบประมาณครั้งใหญ่

[ งานวิจัยเก่า เล่าเรื่องความเหลื่อมล้ำ ]

ย้อนกลับไปในช่วงที่ยังทำงานในฐานะนักวิจัย ศิริกัญญาเคยเผยแพร่ผลงานชิ้นหนึ่งในปี 2557 ร่วมกับสถาบันอนาคตไทยศึกษา เรื่อง ‘8 ข้อเท็จจริงความเหลื่อมล้ำในไทย’ ที่เนื้อหาสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำไทยให้เข้าใจง่าย

หลักๆ คือ งานวิจัยชิ้นนี้นำ ‘ครอบครัวไทย’ ทั้งประเทศกว่า 22 ล้านครอบครัวมาเรียงกันจาก ‘รายได้น้อย’ ไปหา ‘รายได้มาก’ แล้วแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มหรือเรียกว่า ‘10 หมู่บ้าน’ เท่าๆ กัน

โดยหมู่บ้านที่ 1 คือ หมู่บ้านที่รายได้น้อยที่สุดหรือหมู่บ้านที่จนที่สุด
ส่วนหมู่บ้านที่ 10 คือ หมู่บ้านที่รายได้มากที่สุดหรือหมู่บ้านที่รวยที่สุด

– หมู่บ้านที่ 1 ที่จนที่สุด มีรายได้เฉลี่ย 4,300 บาทต่อเดือน
ส่วนใหญ่ 40% เป็น ‘ครอบครัวคนชรา’ มีผู้สูงอายุเป็นหัวหน้าครอบครัว
ส่วนอีกราว 20% เป็น ‘ครอบครัวเกษตรกร’

– หมู่บ้านที่ 10 ที่รวยที่สุด มีรายได้เฉลี่ย 90,000 บาทต่อเดือน
ส่วนใหญ่ 40% ทำอาชีพเฉพาะทางอย่าง หมอ หรือ วิศวกร
อีกราว 12% เป็นเจ้าของธุรกิจหรือเถ้าแก่

– ส่วนหมู่บ้านที่ 5 ที่อยู่ระดับกลางๆ มีรายได้เฉลี่ย 13,000 บาทต่อเดือน
ส่วนใหญ่ 20% หัวหน้าครอบครัวเป็นเสมียนหรือพนักงานขาย
รองลงมา 16% เป็นพ่อค้าแม่ค้า และอีก 16% เป็นหนุ่มสาวโรงงาน

โดยงานวิจัยได้สรุปออกมาเป็น 8 ข้อเท็จจริงที่ได้ค้นพบเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 1 : เกือบ 30 ปีผ่านไป ปัญหา ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ไม่ดีขึ้นเลย

– เพราะ 25 ปีที่ผ่านมา (2529-2554) GDP ของประเทศไทยไทยเพิ่มขึ้น 4 เท่า แต่ส่วนแบ่งรายได้ไม่ได้ตกถึงครอบครัวไทยทั้งหมด ทำให้ครอบครัวไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นแค่ 3 เท่า และรายได้ของทั้ง 10 หมู่บ้านไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่ากัน

– หมู่บ้านที่จนที่สุด เพิ่มขึ้นไม่ถึง 3 เท่า
– หมู่บ้านที่รวยที่สุด เพิ่มขึ้นราว 3.2 เท่า
– ทำให้ยิ่งนานวัน รายได้ของหมู่บ้านที่ 1 และ 10 ยิ่งแตกต่างและยิ่งทิ้งห่าง เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 2 : ครอบครัวที่จนที่สุด ส่วนใหญ่ มี ‘คนชรา’ เป็นหัวหน้าครอบครัว

– 40% ของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 1 (หมู่บ้านที่จนที่สุด) มีหัวหน้าครอบครัวเป็น ‘คนชรา’ และอีก 20% เป็นเกษตรกร

– 40% ของครอบครัวในหมู่บ้านที่ 10 (หมู่บ้านที่รวยที่สุด) มีหัวหน้าครอบครัวทำ ‘อาชีพเฉพาะทาง’ อย่างเช่นหมอหรือวิศวกร และอีก 12% เป็นนักธุรกิจ

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 3 : ครอบครัวไทยครึ่งประเทศมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน

– ครอบครัวในหมู่บ้านที่ 5 (หมู่บ้านที่อยู่ตรงกลาง) มีรายได้เฉลี่ยไม่ถึง 15,000 บาท และรายได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แปลว่า ครอบครัวไทยเกือบครึ่งประเทศที่อยู่ในหมู่บ้านที่ 1-5 มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท

– ถ้านำรายได้ของทุกครอบครัวไทยมาเฉลี่ยจะเท่ากับ 23,000 บาท = รายได้เฉลี่ยของหมู่บ้านที่ 8 แปลว่า รายได้เฉลี่ยของครอบครัวไทยไม่ได้สะท้อนรายได้จริงของคนส่วนใหญ่ในประเทศ

– โดยครอบครัวที่มีรายได้ 7,000-8,000 บาท คือ กลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย มีจำนวน 1 ล้านครอบครัวอยู่ในหมู่บ้าน 2-3

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 4 : ข้อมูล ‘คนรวย’ หายไป ความเหลื่อมล้ำจริงจึงแย่กว่ารายงานอย่างน้อยๆ 25%

ข้อมูลหมู่บ้านที่ 9 และ 10 มีส่วนที่หายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าเติมข้อมูลส่วนนี้หรือ 1 ล้านล้านบาทกลับไปในหมู่บ้านที่ 9 และ 10

ช่องว่างระหว่างหมู่บ้านที่ 9 และ 10 กับหมู่บ้านที่ 1 และ 2 จะห่างกันเพิ่มขึ้น 25% อันดับความเหลื่อมล้ำไทยจะขยับลงไปอีกกว่า 10 อันดับ

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 5 : ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้าย ๆ ของโลก

ในงานวิจัยพบว่า ไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงมากๆ และไม่ใช่แค่ด้านรายได้อย่างเดียว แต่เป็น ‘ด้านความมั่งคั่ง’ ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสมมติให้ประเทศไทยมีที่ดิน 100 ไร่

– หมู่บ้านที่จนที่สุด จะมีที่ดินรวมกันไม่ถึง 1 ไร่
– หมู่บ้านที่รวยที่สุด มีที่ดินรวมกันมากกว่า 60 ไร่

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 6 : ครอบครัว สส. รวยกว่า 99.999% ของครอบครัวไทย

ข้อมูลที่เก็บในปี 2554 ครอบครัวของ ส.ส. เกือบทั้งหมดอยู่ในหมู่บ้านที่ 10 และเกือบจะรวยที่สุดในหมู่บ้านที่ 10

– ส.ส. 500 ครอบครัว มีทรัพย์สินรวม 4.1 หมื่นล้าน หรือเท่ากับอีก 2 ล้านครอบครัวไทย ดังนั้น ในปี 2554 ส.ส. จึงไม่ใช่ตัวแทนของคนทุกกลุ่มรายได้

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 7 : ไม่ใช่แค่ ‘รายได้-ทรัพย์สิน’ แต่ด้านอื่นๆ ก็เหลื่อมล้ำ

ลูกหลานหมู่บ้านที่รวยที่สุด เรียนโรงเรียนดีกว่า มีโอกาสเรียนต่อปริญญาตรีมากกว่า หมู่บ้านที่จนที่สุด ถึง 3 เท่า แล้วยังมีโอกาสผ่านการทดสอบระดับนานาชาติมากกว่าลูกหลานหมู่บ้านที่จนที่สุดถึง 2 เท่า

ดังนั้น ไม่ใช่แค่ ‘รายได้-ทรัพย์สิน’ ด้านอื่นๆ อย่างการศึกษาหรือสาธารณสุขก็เหลื่อมล้ำเช่นกัน

⚫️ ข้อเท็จจริงที่ 8 : ความเหลื่อมล้ำที่ควรแก้ที่สุด คือ ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส

งานวิจัยของศิริกัญญา เสนอว่า การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในไทย ไม่ใช่การทำให้ทุกคนรายได้เท่ากันหมด รัฐไม่สามารถทำให้คนที่อยู่หมู่บ้านที่ 1 ไปอยู่ในหมู่บ้านที่ 10

แต่สิ่งที่รัฐทำได้คือการทำให้คนไทยทุกหมู่บ้านมี ‘โอกาสเท่าเทียม’ ผ่าน ‘การเข้าถึงบริการภาครัฐ’ อย่างการศึกษาหรือบริการสาธารณสุข เพราะโอกาสที่เท่าเทียมจะช่วยบรรเทาปัญหาความขัดแย้งจากความเหลื่อมล้ำได้ในที่สุด

ที่มา https://thaipublica.org/2014/04/ttf-inequality/


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า