SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุสลดขึ้นในเกาหลีใต้ หลังจากฝนตกหนักมาหลายวัน ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่

อุทกภัยครั้งนี้ นับเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของเกาหลีใต้ หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงโซล เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2565 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 14 รายและบาดเจ็บราว 140 คน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่ฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 วัน จนเกิดการสะสมของมวลน้ำ และส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่และดินถล่มในเวลาต่อมา ซึ่งในคืนเกิดเหตุ 

สามารถวัดปริมาณน้ำฝนได้ 141.5 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2450

เหตุการณ์ในครั้งนี้ เกิดจากเขื่อนโกซาน ซึ่งกั้นแม่น้ำมีโฮ ในจังหวัดชุงชองเหนือทางตอนกลางของประเทศ พังเสียหายจนทำให้เกิดเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้น้ำเอ่อทะลักแม่น้ำ ไหลไปท่วมอุโมงค์ทางลอดใต้ดิน จนรถยนต์ มอเตอร์ไซต์ และรถโดยสารถูกน้ำท่วมติดอยู่ในอุโมงค์กว่า 10 คัน 

จังหวัดคยองซังเหนือ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเกาหลีใต้ เป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเกิดเหตุน้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มทับบ้านเรือนหลายหลัง ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก 

ข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2566 เวลา 05:55 น. ตามเวลาท้องถิ่นเกาหลี มีรายงานว่า มีจำนวนผู้เสียชีวิต 41 ราย และผู้สูญหาย 9 ราย 

ด้านความเสียหายต่อบ้านเรือน มีบ้านที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 274 หลัง โดยมีบ้านที่ได้รับผลกระทบจนพังเสียหายไปทั้งหลัง หรือเสียหายไปกว่าครึ่งหลัง เพิ่มขึ้นเป็น 46 หลัง นอกจากนี้ มีประชาชนจากทั่วประเทศราว 12,000 คน ถูกอพยพไปยังศูนย์ชุมชน และสถานที่อื่น ๆ ขณะที่ประชาชนจำนวน 5,600 คน ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ 

ด้านพืชผล ได้รับความเสียหาย 31,064.7 เฮกตาร์ เทียบเท่ากับสนามฟุตบอลประมาณ 43,000 สนาม

ในขณะที่ชาวบ้านวัย 87 ปีคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ BBC ว่า เขาไม่เคยประสบเหตุการณ์ฝนตกหนักเช่นนี้มาก่อน 

ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ยุน ยอก ซอล ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ก่อนเตรียมการเยือนพื้นที่ประสบภัยในจังหวัดคยองซังเหนือ ว่าสภาพอากาศสุดขั้วนี้เป็นผลมาจาก Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งชาวเกาหลีใต้ต้องยอมรับและรับมือกับมันให้ได้ พร้อมย้ำถึงความเร่งด่วนในการพิจารณาแผนรับมือภัยพิบัติของประเทศในอนาคตอีกด้วย 

ชาวเกาหลีใต้คนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ Yonhap สำนักข่าวของเกาหลีใต้ว่า เขาเองไม่เข้าใจเลยว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่สร้างเขื่อนกั้นน้ำที่แข็งแรงพอที่จะรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น 

ชาวบ้านหลายครัวเรือนออกมาตั้งคำถามถึงหน่วยงานท้องถิ่นของจังหวัดชุงชองเหนือว่า เหตุใดจึงไม่สั่งปิดอุโมงค์ดังกล่าว หลังมีการออกมาประกาศเตือนเรื่องน้ำท่วมตั้งแต่ 4 ชั่วโมงก่อนเกิดเหตุแล้ว 

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2564 กระทรวงสิ่งแวดล้อมของเกาหลีใต้ได้เผยแพร่ ‘แผนที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม’ ผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์ ซึ่งสามารถคาดการณ์สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด และระบุช่วงความลึกที่เสี่ยงจะเกิดน้ำท่วมได้ เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นสามารถเตรียมพร้อมรับมือความเสี่ยงจากน้ำท่วมอย่างทันท่วงที แต่ในสถานการณ์น้ำท่วมหนักที่ผ่านมา ไม่ได้มีการนำแผนดังกล่าวมาใช้อย่างเหมาะสม ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณเตือนว่า อุโมงค์ใต้ดินคุงพยอง 2 จังหวัดชุงชองเหนือ อาจมีน้ำท่วมสูงกว่า 5 เมตร แต่หน่วยงานท้องถิ่นกลับนิ่งนอนใจ จนทำให้เกิดการสูญเสีย

เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานท้องถิ่นออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อหนึ่งว่า ตามแผนรับมือสภาวะฉุกเฉิน ไม่จำเป็นที่จะต้องจำกัดการเข้าอุโมงค์ในกรณีที่มีการประกาศเตือนน้ำท่วม

เหตุการณ์ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความโศกเศร้าให้กับชาวเกาหลีใต้ แต่ยังสร้างความโศกเศร้าให้กับชาวไทยอีกด้วย โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีหญิงไทย 1 ราย เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในจังหวัดคยองซังเหนือ พร้อมเตือนคนไทยในเกาหลีใต้ให้ระมัดระวังตัวจากเหตุการณ์ดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ให้มากขึ้นในระยะนี้ด้วย

กรมอุตุนิยมวิทยาเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า ฝนจะตกหนักต่อเนื่องไปจนถึงวันพุธหน้า (26 ก.ค. 2566) และเตือนว่า สภาพอากาศจะเลวร้ายมากขึ้นไปอีก

ที่มา:

CNN, The Guardian, BBC, Naver, Naver, BBCth

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า