SHARE

คัดลอกแล้ว

ศจย.แนะสังคมหนุนรณรงค์สูบบุหรี่เสี่ยงโควิด-19 ต่อเนื่อง โพลชี้คนไทยส่วนมากตระหนัก “ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง”

รณรงค์สูบบุหรี่เสี่ยงโควิด-19 ได้ผล! ศจย.หนุนเดินหน้าต่อเนื่องตามแคมเปญวันงดสูบบุหรี่โลก ปี 2563 ‘ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง’ #เลิกสูบลดเสี่ยง ชวนคนไทยลด-เลิกสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด หลังผลสำรวจพบคนไทยร้อยละ 76 รู้ว่าสูบบุหรี่เสี่ยงติดไวรัสก่อโรคโควิด-19 อีกร้อยละ 85 ตระหนักบุหรี่ทำให้ปอดอักเสบจากโควิด-19 รุนแรงมากขึ้น รวมถึงบุหรี่ช่วยแพร่กระจายโรค ป่วยแล้วรักษาหายยากกว่าคนไม่สูบ พร้อมบอกต่ออันตรายนี้แก่คนใกล้ชิด ทึ่งสิงห์อมควันร้อยละ 58 สูบลดลงหลังทราบข้อมูล

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เผยผลสำรวจ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่มีต่อการสูบบุหรี่  ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายป่วยร้ายแรงจากปอดติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 แบบควิก โพล ทางออนไลน์ ช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 เพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายด้านสุขภาวะ ที่เกี่ยวกับการรณรงค์ให้คนไทยเลิกสูบบุหรี่ พบว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่สูบและไม่สูบบุหรี่ อายุระหว่าง 21-60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 40.8 และต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.5 ที่ติดตามข่าวสารสถานการณ์โควิด-19 ทราบว่าการสูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการติดไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2019 ที่ก่อโรคโควิด-19 (COVID-19) ถึงร้อยละ 76 และยังทราบด้วยว่าการสูบบุหรี่ทำให้ปอดอักเสบจากโรคโควิด-19 รุนแรงขึ้นถึงร้อยละ 85

ศ.นพ.รณชัย กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 36 ทราบว่าการสูบบุหรี่ในช่วงไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2019 ระบาด ทำให้ติดโรคโควิด-19 ง่ายขึ้น อีกร้อยละ 52 ทราบว่าการสูบบุหรี่สามารถแพร่กระจายไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้ง่ายและมากขึ้น จากการไอ ถ่มเสมหะหรือน้ำลาย และร้อยละ 48 ทราบว่าการสูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากขึ้น

ทั้งนี้ ประชาชนยังมีความเข้าใจเรื่องบุหรี่ต่อสถานการณ์วิกฤตเป็นอย่างดี โดยร้อยละ 87 รับทราบว่าผู้สูบบุหรี่ที่ติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 จะรักษาหายยากกว่าคนที่ไม่สูบ เพราะปอดเสื่อมโทรมจากบุหรี่มาก่อนแล้ว ขณะที่ประชาชนร้อยละ 71 พร้อมบอกต่อถึงอันตรายหากสูบบุหรี่ในช่วงสถานการณ์โรคระบาดวิกฤตจากไวรัสแก่คนใกล้ชิด ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่ร้อยละ 58.5 สูบลดลงหลังจากทราบข่าวสารสถานการณ์โควิด-19 ที่เกี่ยวกับบุหรี่

“ผลโพลที่ปรากฏนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมถึงสื่อมวลชนช่วยกันเผยแพร่ให้ความรู้ ว่าการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิด ในช่วงไวรัสก่อโรคโควิด-19 ระบาด จะยิ่งทำให้อาการป่วยทรุดและอาจเสียชีวิตได้นั้นมาถูกทาง ซึ่งควรถอดบทเรียนการสื่อสารที่สำเร็จนี้มาพัฒนาต่อยอด หาช่องทางเข้าถึงกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับข่าวสาร หรือรับข่าวสารแล้วยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่เหมือนเดิม เชื่อว่าจะช่วยสร้างสังคมปลอดบุหรี่ได้จริงในอนาคต และถือเป็นโอกาสอันดีที่จะร่วมกันรณรงค์อย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2563 ที่กำลังจะมาถึง โดยในปีนี้มีคำขวัญที่สอดคล้องกับสถานการณ์คือ ‘ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง’ #เลิกสูบลดเสี่ยง ทาง ศจย.ก็ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนร่วมมือร่วมใจหยุดหรือเลิกสูบบุหรี่ในช่วงวิกฤตนี้ และตลอดไป เพื่อลดความเสี่ยงของตัวท่านเองและคนที่ท่านรักให้รอดพ้นจากเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ” ผอ.ศจย. กล่าว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า