Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) เปิดตัวสมุดปกขาว (white paper) เรื่อง Catalysing Growth: State of ASEAN University Innovation and Entrepreneurship Report 2024 ในกรุงเทพ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

การจัดทำสมุดปกขาวเล่มแรกในครั้งนี้ เป็นการแสดงถึงความสำเร็จและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของมหาวิทยาลัยในอาเซียนในด้านนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงโครงการริเริ่มที่โดดเด่นจากมหาวิทยาลัยในไทยและประเทศอื่นๆ ในอาเซียน 

ตามดัชนีนวัตกรรมโลก (Global Innovation Index) ปี 2023 ประเทศไทยสามารถแสดงออกถึงศักยภาพในการเป็นผู้นำ รวมถึงมีนวัตกรรมอันโดดเด่นในภูมิภาคอาเซียน ในระดับที่เกินความคาดหมายในบรรดาหลายประเทศที่สำรวจ ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

จึงเป็นที่มาของการร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้

บทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการส่งเสริมนวัตกรรม  

กลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมของประเทศไทยคือสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวอย่างที่ดี มีระบบที่ชัดเจนในการพัฒนาสตาร์ทอัพ การต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ การระดมทุน และการดูแลเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการส่งเสริมระบบผู้ประกอบการ ได้แก่ การช่วยเริ่มธุรกิจให้กับเหล่าสตาร์ทอัพมากถึง 367 แห่ง  

บทบาทสำคัญอีกอย่างของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือการก่อตั้ง Chulalongkorn University’s Innovation Hub (CU iHub) ที่มีโปรแกรมช่วยดูแลระบบการสร้างธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่ Life Sciences & Biotech, MedTech และ HealthTech นอกจากนี้ยังจัดงาน CHULA Deep Tech Demo Day เพื่อแสดงสตาร์ทอัพ DeepTech ที่มีศักยภาพให้กับนักลงทุนที่สนใจใน Chula Medical Innovation Center และยังเป็นผู้สนับสนุนสำคัญต่อระบบนิเวศด้านสุขภาพและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนการต่อยอดผลงานวิจัยทางการแพทย์สู่เชิงพาณิชย์ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าถึงทุน  

ดร. รณกร ไวยวุฒิ ผู้อานวยการฝ่ายนวัตกรรม ศูนย์กลางนวัตกรรมเเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ระบบสนับสนุนที่มีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สิ่งพิมพ์ งานวิจัย ทุนฝึกงาน และความร่วมมือกับอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น ทางมหาวิทยาลัยยินดีที่ได้ช่วยสร้างและดูแลสตาร์ทอัพกว่า 367 แห่ง โดย 28% เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ spin-off ออกมากว่า 103 แห่ง แสดงให้เห็นถึงพลังการสนับสนุนที่สำคัญของจุฬาฯ ในการส่งเสริมระบบนิเวศผู้ประกอบการในไทย”  

การเติบโตทางธุรกิจสตาร์ทอัพที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

นอกเหนือจากระบบนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการที่มีการเติบโตที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศไทยแล้ว สมุดปกขาวเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นภาคส่วนสำคัญที่สตาร์ทอัพกำลังสร้างอิทธิพลต่อประเทศอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงการเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนมหภาคและแนวโน้มในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตอีกด้วย  

บทบาทของมหาวิทยาลัยในการกำหนดระบบนิเวศสตาร์ทอัพในอนาคต  

มหาวิทยาลัยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในภายภาคหน้า โดยส่งเสริมนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการผ่านความร่วมมือกับอุตสาหกรรม การจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับนักศึกษา ตลอดจนการวิจัย และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนเหล่านักศึกษาต่างๆ  

ศาสตราจารย์ซุน ซุน ลิม รองอธิการบดีฝ่ายพันธมิตรและการมีส่วนร่วมของ SMU และเป็นศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี Lee Kong Chian กล่าวว่า “ระบบนิเวศสตาร์ทอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพสูง และมหาวิทยาลัยมีความสำคัญในการทำให้ระบบนิเวศสตาร์ทอัพเกิดขึ้นได้จริง อย่างไรก็ตาม การจัดการกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรและระดับความหลากหลายของ I&E ที่แตกต่างกันในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการประสานงานภายใน AUN-UIE โดยทำงานร่วมกัน เราจึงจะสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อความก้าวหน้าของ I&E ในภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้”  

SMU และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำร่วมของเครือข่าย ASEAN University Network – University Innovation and Enterprise (AUN-UIE) ที่รวมเอาความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของทั้งสองสถาบันเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพในประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ โดยใช้จุดแข็งของทั้งสองมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนและพัฒนาสตาร์ทอัพในท้องถิ่น  

ข้อมูลเชิงลึกจากสมุดปกขาวจะทำหน้าที่เป็นเข็มทิศสำหรับการประสานงานโครงการริเริ่ม และวาระการประชุมสำหรับการประชุมประจำปีของ AUN-UIE โดยจะเป็นแนวทางให้เครือข่ายได้ช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียน เพิ่มการแบ่งปันทรัพยากร และกำหนดเป้าหมายที่สามารถดำเนินการได้ มหาวิทยาลัยก็สามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่แตกต่างกันของกันและกันเพื่อสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมขึ้นได้เช่นกัน   

การร่วมมือกันในครั้งนี้ มีความสำคัญสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของโลก ซึ่งกำลังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญและมีประชาชนชนชั้นกลางที่กำลังเพิ่มขึ้น ดังนั้นเยาวชนในภูมิภาคนี้ ที่จะกลายเป็นเหล่าผู้ประกอบการที่มีความสามารถในอนาคต ควรได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันเพื่อกระตุ้นการเติบโตอย่างยั่งยืนในนวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการในภูมิภาคนี้อย่างเต็มที่

สามารถอ่านรายละเอียดของ สมุดปกขาว (white paper) เรื่อง Catalysing Growth: State of ASEAN University Innovation and Entrepreneurship Report 2024 ได้ที่นี่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า