Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นเรื่องที่หลายคนคุ้นเคยกับชีวิตปัจจุบันที่ผู้คนดูเร่งรีบ ทำและคิดอะไรอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังคมในยุคปัจจุบันแตกต่างจากยุคก่อนหน้าอย่างชัดเจน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสังคมยุคใหม่คือการพัฒนาของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในหลายๆ ด้าน

‘ดร.กลอเรีย มาร์ค’ ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และอธิการบดี มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ บอกว่า คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คอยรบกวนสมาธิของเราอยู่ตลอดเวลา การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาความสนใจในบางสิ่งบางอย่างของผู้คนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

โดยความหมายของคำว่า ‘สมาธิสั้น’ อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ การมีปัญหาในการจดจ่อหรือไม่สามารถให้ความสนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้นานๆ เชื่อว่าปัจจุบันมีหลายคนที่มีอาการเช่นนี้ สาเหตุหลักคือการติดจอเล่นโซเชียลเป็นเวลานาน

ยิ่งช่วงโควิด-19 ความจำเป็นที่ต้องเว้นระยะห่างออกจากสังคม การใช้โซเชียลจึงเป็นทางเดียวที่ยังทำให้ติดต่อกับผู้คนได้ แต่ผลกระทบที่ตามมาก็คือคนส่วนใหญ่มีอาการสมาธิสั้นลงใจจดจ่ออยู่แต่กับโทรศัพท์มากขึ้น

ที่สำคัญผลเสียของการติดสื่อโซเชียลที่นอกจากจะทำให้สมาธิสั้นแล้ว ยังมีผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น ขาดทักษะเข้าสังคม เนื่องจากใช้เวลาอยู่แต่ในโลกโซเชียล รวมถึงการรับรู้สิ่งรอบข้างลดลง เพราะความเคยชินกับการดูสื่อวิดีโอสั้นๆ และสนใจแต่สิ่งนั้นจนไม่ได้เงยหน้ามาสังเกตบรรยากาศรอบๆ ข้าง

โดยพบว่ากลุ่มคนเจน Y และเจน Z เป็นกลุ่มที่มีจำนวนผู้ใช้โซเชียลมากที่สุด และมีแนวโน้มที่อัตราการติดโซเชียลเดียของคนกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นทุกปี

นอกจากนี้ตามการวิจัยของ Common Sense พบว่าวัยรุ่นใช้เวลาหน้าจอเฉลี่ย 7 ชั่วโมง 22 นาทีต่อวันและเด็กอายุ 8–12 ปี ใช้เวลาหน้าจอเฉลี่ย 4 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน

ซึ่งปัจจุบันประชากรโลกประมาณ 56.8% กำลังใช้โซเชียลและเชื่อกันว่าอัตราการติดโซเชียลจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าและตามการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน พบว่าผู้คนทั่วโลกประมาณ 210 ล้านคนกำลังติดโซเชียลและอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของการติดโซเชียลมีเดียต่อวัยรุ่นกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวลมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหลายคนกังวลว่าเด็กและวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการติดโซเชียลเป็นพิเศษ

ความกังวลดังกล่าวเกิดจากวิธีที่แพลตฟอร์มโซเชียลส่งเสริมให้คนเลื่อนฟีดหน้าจออย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการทำคลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาสั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นและความต้องการความพึงพอใจทันทีหรือใจร้อนง่ายขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับแนวทางในการฟื้นฟูสมาธิในสังคมยุคใหม่

1.จำกัดการใช้เทคโนโลยี : กำหนดเวลาใช้งานโซเชียลมีเดียและอุปกรณ์เทคโนโลยีเพื่อให้สมองมีเวลาพักจากสิ่งเร้า

2.ฝึกสมาธิและการมีสติ (Mindfulness) : การฝึกสมาธิหรือการทำกิจกรรมที่เน้นการจดจ่อช่วยฝึกฝนสมองให้กลับมามีความสามารถในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีขึ้น

3.จัดการเวลาพักผ่อน : การพักผ่อนที่เพียงพอจะช่วยให้สมองฟื้นฟูและสามารถจดจ่อกับงานได้ดีขึ้น

4.ทำงานทีละอย่าง (Single-tasking) : ฝึกทำงานหรือกิจกรรมทีละอย่างและหลีกเลี่ยงการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน

5.พักสายตาจากหน้าจอ : ให้เวลากับตัวเองในการพักสายตาและสมองจากการใช้เทคโนโลยีเป็นระยะ ๆ

สุดท้ายแม้ว่าสังคมยุคใหม่อาจมีส่วนทำให้คนมีสมาธิสั้นลง แต่ด้วยการปรับตัวและฝึกฝนก็สามารถฟื้นฟูและเพิ่มความสามารถในการจดจ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

ที่มา :

https://www.addictionhelp.com/social-media-addiction/statistics/

https://www.forbes.com/health/mind/adhd-statistics/

https://www.apa.org/news/podcasts/speaking-of-psychology/attention-spans

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า