Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้ายกประเด็นเรื่องการบำบัดการเสพติดโซเชียลมีเดียมาคุยกันตอนนี้ เชื่อว่าใครๆ ก็คงบอกว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถ้าบอกว่า ปัจจุบันมีหลายประเทศกำลังสนใจเรื่อง ‘Social Media Detox Dilemma’ หรือ ภาวะการดีท็อกซ์โซเชียลมีเดีย อาจจะมีทั้งคนที่รู้และคนที่ไม่รู้รายละเอียดมากนัก

บทความนี้จะมาแชร์ให้อ่านกันว่า ตอนนี้เรื่องการบำบัด หรือการดีท็อกซ์ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ มีที่ไหนบ้างที่เริ่มทำให้พูดถึงเรื่องนี้มากขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยเป็นอย่างไร?

แต่ก่อนอื่นเราต้องปูพื้นฐานเกี่ยวกับ ‘FOMO’ กันก่อนว่ามันคืออะไร ซึ่งก่อนหน้านี้มีคนที่พูดเกี่ยวกับสิ่งนี้ไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีอีกมากที่ไม่เคยได้ยิน

 

[ FOMO = ภาวะความกลัวที่จะตกกระแส ไม่รู้เรื่องคนอื่น ]

FOMO มาจากคำว่า ‘Fear of Missing Out’ หมายถึงความกลัวที่จะตกกระแส คุยกับใครไม่รู้เรื่องเพราะไม่ได้อัพเดทข่าวสารมา หรือพลาดเรื่องคนอื่น คนรอบตัว มีอาการติดมือถือ ใช้เวลาในการก้มหน้าอยู่กับหน้าจอตลอดเวลา

อาการที่สังเกตเห็นชัดๆ เกี่ยวกับภาวะ FOMO ก็คือ ได้ยินเสียงแจ้งเตือนไม่ได้ต้องหยิบมือถือมาเปิดดู หรือเข้าห้องน้ำ, เดินทาง ก็ต้องมีมือถือใช้มือถือตลอดเวลา

ถือว่าเป็นภาวะของคนที่เสพติดมือถือ ถูกโซเชียลมีเดียครอบงำ บางคนมีอาการเหล่านี้ก็คือ กลัวไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมเพราะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง, กลัวไม่ได้เป็นคนสำคัญ รู้สึกว่าอยากจะรู้ก่อนและแชร์ข่าวสารก่อนคนอื่น

FOMO ชอบที่จะรู้เรื่องรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร, เรื่องราวชีวิตของคนอื่น และจะหงุดหงิดหากรู้ไม่ครบ รู้ไม่หมด หรือรู้ช้ากว่าคนอื่น ตามข้อมูลวิเคราะห์กล่าวว่า คนที่เข้าข่ายอาการ FOMO มีแนวโน้มที่จะเป็น ‘โรคหลงตัวเอง’ ต้องการคนติดตามเยอะในโซเชียลมีเดีย, อยากเป็นคนเด่นที่มีคนติดตามเยอะ หรือมีอิทธิพลต่อผู้อื่น แต่ข้อน่ากังวลก็คือ มีแนวโน้มที่จะเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ ได้ง่ายกว่า เพราะต้องการเป็นที่ยอมรับมากกว่าปกติ และจะรู้สึกกดดันเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น รวมถึงรับการวิจารณ์ได้น้อยกว่า

ภาวะเหล่านี้เชื่อมโยงมาถึงการเสพติดโซเชียลมีเดียที่มากเกินจำเป็น ‘Statista Research Department’ เปิดเผยในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ว่าค่าเฉลี่ยของคนที่ใช้เวลาไถโซเชียลมีเดียต่อวัน ประมาณ 3.6 ชั่วโมง/คน โดยแต่ละช่วงวัยใช้เวลาไปกับแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่เหมือนกัน แต่ถือว่าทุกแพลตฟอร์มใช้เวลามากขึ้นเรื่อยๆ

เช่น คน Gen Z (18-24 ปี) ใช้ TikTok มากที่สุด ตามด้วย Instagram แต่ถ้าเป็นช่วงอายุประมาณ 55-65+ ปี ใช้ Facebook มากที่สุด

ข้อมูลเหล่านี้น่าจะพอทำให้เห็นภาพว่า การเสพติดโซเชียลมีเดียของคนในปัจจุบันนั่นไม่ได้พูดเกินจริงแม้แต่น้อย และไม่ใช่แค่กลุ่มคนอายุน้อย หรือวัยทำงานเท่านั้นที่ใช้โซเชียลมีเดียหนัก วัยผู้ใหญ่ไปจนถึงวัยเกษียณก็เยอะพอๆ กัน

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายๆ ประเทศเห็นถึงความน่ากังวลนี้ แล้วพยายามดีท็อกซ์ปรับพฤติกรรมตัวเอง และหันหน้าเข้าสู่ออฟไลน์โหมดมากขึ้น วางมือถือ พักหน้าจอโทรศัพท์ และไปใช้เวลากับชีวิตจริงมากขึ้น

 

[ ติดมือถือหนัก เพิ่มโรคอีกเพียบ ]

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) สหรัฐอเมริกา เผยข้อมูลว่า Facebook, WhatsApp, Facebook-Messenger และ Instagram มีจำนวนผู้ใช้งานในปี 2021 มากกว่า 3.58 พันล้านคนต่อเดือน เป้นสัญญาณที่น่ากังวลมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะระยะเวลาที่ใช้มือถือก็นานขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

มาดูว่าผลเสียที่จะมาจากพฤติกรรมเหล่านี้มีอะไรบ้าง?

  • สุขภาพจิตเสีย
  • มีความวิตกกังวลทางสังคมง่ายขึ้น
  • เข้าสู่ภาะซึมเศร้า
  • จำนวนผู้ที่คิดฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
  • มีอาการนอนไม่หลับ
  • การสื่อสารและอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย

 

[ Gen Z คนกลุ่มแรกๆ ที่อยากดีท็อกซ์โซเชียลมีเดีย ]

การศึกษาวิจัยของ McKinsey Health Institute ระบุว่า Gen Z เป็นกลุ่มที่ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียเยอะที่สุดเทียบกับเจนอื่นๆ และก็เป็นกลุ่มแรกๆ ที่คิดเรื่อง ‘การบำบัด’ หรือโซเชียลมีเดียดีท็อกซ์

จากงานวิจัย Gen Z ราว 3 ใน 5 คนมักจะดีท็อกซ์โซเชียลมีเดียเพื่อเชื่อมต่อกับโลกภายนอก โลกความจริงที่ไม่เกี่ยวอะไรกับบนหน้าจอเลย

คน Gen Z กว่า 56 ล้านคนที่ใช้โซเชียลมีเดียนเป็นประจำ วันๆ หนึ่งมีการเข้าใช้หลายครั้ง โดย 38% ใช้เวลาไปกับโซเชียลมีเดียมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งหนึ่งในผู้ที่อยู่ในกลุ่มสำรวจ เธอชื่อว่า Nuzzo สารภาพว่า นิสัยหลังจากที่ตื่นนอนคือจับมือถือแล้วไถดู Instaram ซึ่งการที่เธอบำบัดการเสพติดโซเชียลมีเดียช่วงแรกๆ ทำให้เธอกังวลเพราะไม่รู้ว่ากิจกรรมหลังตื่นนอนตอนเช้าควรทำอะไรดี

จนเธอเริ่มลบแอปฯ ต่างๆ ออกทีละแอปฯ 2 แอปฯ และไม่ต้องการใช้มันอีกเลย ทำแบบนี้อยู่นาน 7 เดือน จนรู้สึกว่าเธอขาดโซเชียลมีเดียได้ ถึงแนะนำเพื่อนๆ และทำเป็นโครงการออฟไลน์โหมดชวนทำมาบำบัดด้วยกัน ด้วยวิธีง่ายๆ

กระแสการดีท็อกซ์โซเชียลมีเดียไม่ใช่แค่ในสหรัฐฯ แต่ยังข้ามไป ‘อัมสเตอร์ดัม’ เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นกระแสมาสักพักหนึ่งเกี่ยวกับร้านคาเฟ่ที่ชื่อว่า The Offline Club’ เอาจริงมันก็ไม่ถึงกับเป็นคาเฟ่ แต่เป็นแหล่งรวมคนที่อยากดีท็อกซ์โซเชียลมีเดีย โดยมีพื้นที่ มีกิจกรรมต่างๆ และมีเครื่องดื่มดีๆ ไว้คอยบริการ

ถือว่าเป็นโมเดลใหม่ที่เอาใจคน Gen Z และอีกหลายเจนที่อยากจะบำบัดสิ่งนี้ แต่อยากจะมีเพื่อนที่คอยทำไปด้วยกัน แบบว่า ทำคนเดียวก็กลัวจะเหงา มีเพื่อน มีคนอื่นที่อ่านหนังสือไปด้วย หรือเล่นเปียโนร้องเพลงไปด้วยกัน อะไรแบบนี้

The Offline Club คล้ายๆ เป็นคอมมูนิตี้เพื่อฮีลใจชาวดัตช์ที่รู้สึกว่า โซเชียลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมากเกินไป ก่อตั้งขึ้นโดย Ilya Kneppelhout และถือเป็นโครงการบุกเบิกที่ให้ที่พักพิงหลีกหนีจากโลกดิจิทัล มีกิจกรรมมากมายตั้งแต่ อ่านหนังสือ, วาดภาพ, ร้องเพลง, เล่นเปียโน ฯลฯ

ผู้ก่อตั้งได้ให้สัมภาษณ์กับ Forbs ว่า “โทรศัพท์กินเวลาอันมีค่าของเราไปมากเกินไป และเราไม่ได้ติดต่อกับผู้คนจริงๆ ด้วยซ้ำ การสร้าง The Offline Club เพราะอยากให้ผู้คนได้สื่อสาร ได้มีปฎิสัมพันธ์กันแบบเจอหน้า พบปะกันในร้าน ได้พูดคุยกัน ไม่ใช่แค่แชท สื่อสารผ่านตัวหนังสือ”

“จุดยืนเราเรียบง่ายมาก คือ ต่อต้านการหลงลืมเวลาบนโลกความเป็นจริง ที่ทุกวันนี้ผู้คนแทบจะละเลยมันไปหมดสิ้น”

บทความนั้นของ Forbs ยังเผยผลสำรวจที่น่าสนใจด้วยว่า ผู้คน 76% มีปัญหาในการติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน และ 58% มองว่าความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นเพียงผิวเผิน ไม่จำเป็นต้องซีเรียสในการพัฒนาให้ดี

การศึกษานี้สำรวจใน 113 ประเทศ ซึ่งผลลัพธ์ก็คือทุกประเทศมีแนวโน้มเหมือนกัน และมีแต่จะแย่ลง ดังนั้น คุณคิดว่าถ้าประเทศไทยมีโมเดลคาเฟ่แบบนี้เยอะๆ หรือมีพื้นที่เปิดตรงไหนที่สามารถทำให้ผู้คนใช้เวลาร่วมกันได้แบบนี้ จะดีหรือไม่ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ถ้าช่วงเวลาหนึ่งเราต่างได้ดีท็อกซ์โลกโซเชียลออกจากส่วนหนึ่งของชีวิตเราบ้าง?

 

อ้างอิง:

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10730966/

https://www.linkedin.com/pulse/social-media-dilemma-quit-vasukam-ww3bc

https://www.statista.com/statistics/1484565/time-spent-social-media-us-by-age/

https://www.bbc.com/cymrufyw/erthyglau/c90xn3ne9jzo

https://www.forbes.com/sites/danpontefract/2024/04/11/the-offline-clubs-quest-against-digital-overload/?fbclid=IwY2xjawFfP3RleHRuA2FlbQIxMAABHRjGkn7x6q93ALBpMGqVigm9xc8m09sH25nteWXlbNq42mxrMLvBH-reAg_aem_xtzMbG4IZBvBG2Ru1V6Zpg

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า