SHARE

คัดลอกแล้ว

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยรายงานสภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปีนี้ พบคนไทย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่มากขึ้น หนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ เยาวชนเสี่ยงมีภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตายมากขึ้น

(ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สคช.)

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) เปิดเผยรายงานสภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่งปี 2562 ซึ่งมีความเคลื่อนไหวทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ การจ้างงาน รายได้ และผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่เพิ่มขึ้น

โดยปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไตรมาสหนึ่งปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ซึ่งต้องเฝ้าระวังปัจจัยที่มีผลกระตุ้นพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ อาทิ สื่อโฆษณา ปัญหาความเครียด และพฤติกรรมการเลียนแบบ สคช. ระบุว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 55,000 คน และจากการดื่มแอลกฮอล์ประมาณ 22,000 คน หรือ คิดเป็นประมาณร้อยละ 11 และ 4.5 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

สำหรับ หนี้สินครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยต่อเนื่อง พิจารณาจากยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ พบว่า ขยายตัวร้อยละ 10.1 สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสสองปี 2557

ขณะที่ สถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ ได้แก่ เยาวชนมีความเสี่ยงต่อการเป็นภาวะซึมเศร้าและฆ่าตัวตายมากขึ้น สคช. ระบุว่า โรคซึมเศร้านับเป็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพที่จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และหากไม่ได้รับการรักษาอาจรุนแรงจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

กลุ่มเยาวชน นับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญและเร่งแก้ไข แม้จะมีสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพียงร้อยละ 11.5 น้อยกว่ากลุ่มวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีค่าในการพัฒนาประเทศในอนาคต และพบว่ามีแนวโน้มฆ่าตัวตายมากขึ้น

ภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชนเกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิ ภาวะของการเสียศูนย์จากการถูกประเมิน ภาวะการเงิน ความรัก ความรู้สึกผิดกับคนที่มีความสำคัญ ความสูญเสียอย่างฉับพลัน ความกดดันจากสภาพแวดล้อมและค่านิยมทางสังคม รวมทั้งความรักของพ่อแม่ที่คอยประคบประหงมตามใจ ทำให้เด็กขาดทักษะการสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองไม่สามารถจัดการปัญหาเมื่อเกิดความผิดหวังในชีวิต ทำให้ทุกปัญหาสามารถกลายเป็นสาเหตุให้เกิดความกังวล ความเครียด จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าและคิดทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตายได้

โดยในปี 2561 พบว่า เยาวชนอายุ 20-24 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายเท่ากับ 5.33 ต่อประชากรแสนคนเพิ่มขึ้นจากอัตรา 4.94 ต่อประชากรแสนคนในปี 2560 ขณะที่กลุ่มเยาวชนอายุ 15-19 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 2.59 ต่อประชากรแสนคน และกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 0.5 ต่อประชากรแสนคน

ทั้งนี้ การป้องกันสามารถทำได้โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งครอบครัวและคนใกล้ชิดต้องเอาใจใส่ต่อบุตรหลาน สถานศึกษาต้องเฝ้าระวังและสังเกตพฤติกรรม พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมทักษะชีวิตในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น

 

ที่มา สคช.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า