SHARE

คัดลอกแล้ว

สวธ. ยกย่อง ‘สมบัติ เมทะนี’ เป็นอัญมณีล้ำค่า พระเอกตลอดกาลของวงการบันเทิงไทย พร้อมเผยกำหนดการบำเพ็ญกุศล 

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผยว่า วงการภาพยนตร์ไทยได้รับข่าวเศร้า เมื่อได้รับรายงานว่า สมบัติ เมทะนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช 2559 ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ในวันพฤหัสบดีที่ 18 ส.ค. 65 เวลาประมาณ 07.05 น.  ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ 85 ปี

ซึ่งทายาทแจ้งว่า จะมีกำหนดการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 เวลา 17.00 น. และกำหนดสวดพระอภิธรรมศพ เป็นเวลา 7 วัน ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2565 ณ ศาลา 3 วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพฯ เก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะดำเนินการเรื่องขอพระราชทานเพลิงศพให้ต่อไป

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ในฐานะหน่วยงานที่ดำเนินการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ ดำเนินการเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน แล้ว ในยามที่ศิลปินฯ เสียชีวิต ยังให้การช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการฌาปนกิจศพ คือ มอบเงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมการบำเพ็ญกุศลศพ จำนวน 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเพื่อเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000 บาท และขอพระราชทานเพลิงศพให้(กรณีเสียชีวิตปกติ) ตามระเบียบสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ

ประวัติโดยสังเขป นายสมบัติ เมทะนี เกิดวันที่ 26 มิ.ย. พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดอุบลราชธานี เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย สำเร็จระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจบัณฑิต สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปริญญาโทและปริญญาเอกสาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ท่านเป็นทั้งนักแสดงภาพยนตร์ นักแสดงละครโทรทัศน์ ผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้สร้างภาพยนตร์ นักร้อง เป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ด้วยนิยมการเพาะกายและรักษาสุขภาพเป็นอย่างดี

โดยในช่วงเวลาที่ อาแอ๊ด (ชื่อเล่น) แสดงเป็นพระเอกและได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด ทำให้กินเนสบุ๊ค เวิลด์เรคคอร์ด บักทึกไว้ว่าเป็นนักแสดงที่รับบทพระเอกภาพยนตร์ที่มีผลงานมากที่สุดในโลก จำนวนมากถึง 617 เรื่อง ซึ่งเคยรับการแสดงพร้อมกันมากถึง 28 เรื่อง  ท่านเริ่มต้นเข้าสู่วงการบันเทิง เมื่อ พ.ศ. 2503 โดยรับบทพระเอกละครโทรทัศน์ เรื่องหัวใจปรารถนา คู่กับวิไลวรรณ วัฒนพานิช ทางช่อง 7 ขาวดำ (ช่อง 5 ในปัจจุบัน) จากนั้น พ.ศ. 2504 จึงหันไปแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก คือ รุ้งเพชร ของกมลศิลปภาพยนตร์ คู่กับรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง มีผลงานแสดงภาพยนตร์ตั้งแต่ยุค 16 มม. ถึงยุคภาพยนตร์สโคป 35 มม. เสียงพากย์ในฟิล์มและซาวด์ออนฟิล์ม ผ่านการร่วมงานกับนักแสดงชั้นนำและผู้สร้าง-ผู้กำกับของวงการบันเทิงไทยมามากมาย

ผลงานภาพยนตร์เด่น อาทิ 4 สิงห์อิสาน, เกาะสวาทหาดสวรรค์, ดินน้ำลมไฟ, เสือภูพาน, เขี้ยวพยัคฆ์, ดวงตาสวรรค์, เรารักกันไม่ได้, เรือมนุษย์, คมแฝก, อีสานบ้านไร่, แม่ปิง, ภูตเสน่หา, รักเธอเสมอ, สวรรค์บ้านนา, เสือขาว, รักข้ามขอบฟ้า, ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน, แม่อายสะอื้น, ทอง, พิศวาส, มัจจุราชสีน้ำผึ้ง, ใกล้รุ่ง, แผ่นดินของเรา, ชุมแพ, กุ้งนาง, ขุนศึก, ขุนเดช, บุเรงนอง, เมขลา, ฝนเหนือ, พ่อปลาไหล, อย่าลืมฉัน, พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ, แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู, สิงห์สั่งป่า, แม่นาคพระโขนง, แม่แตงร่มใบ, พันท้ายนรสิงห์

อาแอ๊ด ยังมี ผลงานการสร้างและกำกับภาพยนตร์ หลายเรื่อง เช่น สลักจิตร, ไม่มีคำตอบจากสวรรค์, หนักแผ่นดิน, นักเลงเทวดา, นักเลงตาทิพย์,  แม่แตงร่มใบ

งานแสดงละครโทรทัศน์ อาทิโอ้ลูกรัก, เชลยศักดิ์, ทายาทอสูร, ละอองดาว, มัจจุราชสีน้ำผึ้ง, น้ำเซาะทราย, กระเช้าสีดา, ขุนศึก, แม่นากพระโขนง, เทวดาเดินดิน, แสนแสบ, บัลลังก์เมฆ, ชื่นชีวานาวี,สงครามเก้าทัพ, ปู่โสมเฝ้าทรัพย์,  สะใภ้ไกลปืนเที่ยง เป็นต้น

ตลอดช่วงเวลาของการเป็นนักแสดง อาแอ๊ด ประสบความสำเร็จได้รับรางวัลเกียรติยศ มากมาย อาทิ รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ในฐานะผู้แสดงนำฝ่ายชายจากเรื่องบางระจัน (2508) มือขวาอาถรรพ์ ( 2534)  รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ในฐานะดาราประกอบชาย จากเรื่องฟ้าทะลายโจร (2543)  รางวัลคนดีเพชรสยาม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม (2545)  รางวัลเกียรติคุณแห่งชีวิต กินรีทองคำ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมการท่องเที่ยวแห่งโลก ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ พ.ศ . 2549

นับได้ว่า อาแอ๊ด สมบัติ เมทะนี เป็นอัญมณีล้ำค่า “พระเอกตลอดกาล” ของวงการบันเทิงไทย มีส่วนในการสร้างยุคทองของภาพยนตร์ไทยให้ปรากฏในสังคมอย่างสง่าผ่าเผย และยังคงความโดดเด่นของความเป็นพระเอกในหัวใจของมหาชนมาโดยตลอด ดำรงชีวิตนักแสดงที่มีคุณภาพตลอดระยะเวลายาวนานเกือบหกทศวรรษ จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พุทธศักราช 2559

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า