SHARE

คัดลอกแล้ว

สหประชาชาติและองค์กรสิทธิมนุษยชนร่วมรำลึก 16 ปีหลังการถูกบังคับให้สูญหายของทนายสมชาย นีละไพจิตร ในการจัดแสดงนิทรรศการ “ยังอยู่ในความทรงจำ: ทวงความยุติธรรมที่หายไป”

วันที่ 11 มีนาคม 2563 ที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร บริเวณห้องอเนกประสงค์มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ รูปถ่ายส่วนตัว รูปถ่ายทะเบียนบ้าน วารสาร ชุดครุยทนาย หมวก ผ้าขาวม้าและเสื้อยืด ข้าวของพวกนี้มองเผิน ๆ อาจจะเหมือนเครื่องใช้ประจำวันทั่วไป แต่ในวันนี้ มันถูกจัดแสดงในฐานะเครื่องเตือนความทรงจำที่ครอบครัวผู้ถูกบังคับให้สูญหาย ใช้รำลึกถึงสมาชิกในครอบครัวที่ตนไม่เคยทราบชะตากรรม

งานนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ICJ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอาทิ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน(HRLA) องค์กร Protection International (PI) องค์กรแอมนาสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย และ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

มวลบรรยากาศใหญ่ก้อนหนึ่งของงานซึ่งมองข้ามไปไม่ได้เลยคือความทรงจำครอบครัวเหยื่อ ที่นับวันยิ่งมีความพยายามจะทำลายให้สูญหายไป

ในงานนี้อังคณา ในฐานะภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร นำชุดครุยของสามีมาจัดแสดงในนิทรรศการ เธอกล่าวว่าการเก็บรักษาข้าวของของคนหายคือส่วนหนึ่งของการเก็บรักษาความทรงจำ ทำให้ไม่ลืมว่ามันเกิดอะไรขึ้นและคนเหล่านั้นเคยอยู่ในสัังคมอย่างไร เสื้อครุยตัวดังกล่าวคือเสื้อที่ทนายสมชายใช้มากว่า 20 ปีก่อนที่จะหายไป อยู่ในกระเป๋าที่เขาเตรียมไว้ แต่ไม่เคยกลับมาหยิบ

นอกจากอังคณา ครอบครัวของผู้สูญหายคนอื่น ๆ ก็นำเครื่องใช้ของผู้ถูกบังคับสูญหายมาแสดงเช่นเดียวกัน เช่น ประเสริฐ เหล่าโสภาพันธ์ นำรูปของพี่ชาย นายกมล เหล่าโสภาพันธ์ มาตั้งไว้ พี่ชายของเขาเป็นพ่อค้าผู้พบเห็นการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เข้าไปแจ้งสิ่งที่ตนเห็นในโรงพักบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่นในวันที่ 7 ก.พ. 2551 ไม่มีใครพบเขาออกมาจากโรงพักนั้นอีกเลย

ขณะที่ปราณี ด่านวัฒนานุวรณ์ ภรรยาของสุรชัย แซ่ด่าน นำเสื้อผ้าของสามีและหนังสือผลงานของเขามาจัดแสดง ร่วมกับบุคคลอื่นที่สูญหายไปในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนายอิทธิพล สุขแป้น นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ นายชัชชาญ บุปผาวัลย์ และนายไกรเดช ลือเลิศ

“หลังจากที่คุณสุรชัยหายตัวไป ก็ได้ไปเรียกร้องต่อหน่วยงานต่างๆ ไปแจ้งความต่อพื้นที่ที่มีศพลอยขึ้น แล้วในพื้นที่นั้นมีหายไป 1 ศพ ส่วนอีก 2 ศพก็ตรวจว่าเป็นคุณกาสะลองภูชนะ เราก็ไปแจ้งต่อกรมคุ้มครองสิทธิกรรมการสิทธิมนุษยชน ไปที่ทำเนียบรัฐบาลไปยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล้วก็ไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ยูเอ็น” ภรรยาของนายสุรชัยกล่าว “เดินทางไปเรียกร้องขอให้ลดหรือยกเลิกการเสียค่าปรับคดีพัทยาที่คุณสุรชัยไม่ได้ขึ้นไปบุกและปราศรัยที่โรงแรมรอยัลคลิปบีช  เรามีหลักฐานอยู่แต่เราก็ไปแจ้งความกลับไม่ได้เพราะตัวคุณสุรชัยไม่อยู่ ซึ่งทางกฎหมายก็บอกว่าต้องให้เจ้าตัวเป็นคนไปแจ้งความกลับเอง ทางญาติก็เลยต้องรับผิดชอบเสียค่าปรับที่นายประกันคดีพัทยา ตอนนี้เราก็ไปยื่นเรื่องไว้ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติและเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบหาตัวผู้สั่งการผู้กระทำผิดแต่ก็ยังเงียบหายอยู่”

นางนาอือ จะโล ภรรยาของนายจะวะ จะโล ชนพื้นเมืองเผ่าลาหู่ก็ได้นำรูปถ่ายจากทะเบียนบ้านของสามีมาจัดแสดงด้วยเช่นกัน สามีของเธอหายไปหลังถูกเจ้าหน้าที่อาวุธครบมือจับในปี 2546 ขณะตรวจงยาเสพติดที่จังหวัดชายแดนภาคเหนือ ในนิทรรศการยังมีรูปผู้สูยหายคนอื่น ๆ เช่น นายสยาม ธีรุวุฒิ นักกิจกรรมที่หายไปในเขตลาว-เวียดนาม นายพอละจี รักจงเจริญ นักสิทธิชุมชนชาวกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน และรูปถ่ายนายเด่น คำแหล้ แกนนำเรียกน้องโฉนดที่ดินทำกินสวนป่าโคกยาว จ.ชัยภูมิ

ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย แด่นักสู้ผู้จากไป ขององค์กร Protection International (PI) และ Luke Duggleby ช่างภาพชาวอังกฤษ รูปถ่ายประกอบด้วยประเด็นผู้สูยหายหลายคน เช่น สมชาย นีละไพจิตร พอละจี รักจงเจริญ กลม เหล่าโสภาพันธ์ เด่น คำแหล้ และทนง โพธิอ่าน

บริเวณงานยังมีเวทีเสวนาเรื่อง “ความคืบหน้าของกรอบกฎหมายและกระบวนการสืบสวนสอบสวนในประเทศไทย” ซึ่ง อังคณา นีละไพจิต ตัวแทนครอบครัวผู้ถูกบังคับสูญหาย  น.ส.ทิพย์วิมล ศิรินุพงษ์ ทนายความในคดีของ พอละจี หรือบิลลี่ รักจงเจริญ  และ น.ส.สัณหวรรณ ศรีสด ตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ICJ

อังคณา ภรรยาของทนายสมชาย นีละไพจิต หนึ่งในนักสิทธิมนุษยชนที่หายไปกล่าวบนเวทีว่าหากยังไม่ปฏิรูปหน่วยงานความมั่นคงไม่มีทางที่รัฐจะคลอดกฎหมายว่าด้วยการทรมานและการบังคับสูญหาย เพราะเธอเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานความมั่นคงมีเอี่ยวในเกือบทุกคดี อย่างไรก็ดี หากทุกฝ่ายจริงใจเธอก็ขอให้ลงนามสัตยาบรรณคุ้มครองบุคคลสูญหายของยูเอ็นก่อน ประเด็นในการพูดคุยครอบคลุมหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อมั่นว่าพลังของประชาชนจะร่วมผลักดันกฎหมายให้เกิดขึ้นจริง เรื่องคดีอุ้มหายต้องไม่มีอายุความ ขณะที่นางเจนนี่ ลุนด์มาร์ค ผู้แทนจากคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (EU) ย้ำว่าจุดยืนการบังคับให้สูญหายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงและขอให้ส.ส.และส.ว.เร่งออกกฎหมายเพื่อที่จะทำให้การทรมานหรือการบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า