SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณี สมคิด พุ่มพวง ฆาตกรต่อเนื่อง ที่ถูกศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต ในคดีฆ่าข่มขืน 5 ศพ เมื่อปี 2548 และเพิ่งถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 62 แต่ก่อคดีซ้ำ ฆาตกรรมแม่บ้าน อายุ 51 ปี ที่ จ.ขอนแก่น เป็นศพที่ 6 

จากเหตุสะเทือนขวัญดังกล่าว ทำให้สังคมตั้งคำถามว่า เพราะอะไร สมคิด พุ่มพวง ที่ฆ่าคนตายถึง 5 ศพ จึงถูกจำคุกจริงๆ เพียงแค่ 14 ปี

รายการ Workpoint Today สัมภาษณ์ รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการลดโทษของกรมราชทัณฑ์

รศ.ดร.ปกป้อง อธิบายว่า นักโทษที่ถูกศาลพิพากษา ‘จำคุกตลอดชีวิต’ จะมีพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 กำหนดหลักเกณฑ์ในการลดวันต้องโทษและการพักการลงโทษเอาไว้ โดยระบุว่า ถ้านักโทษจำคุกมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว สำหรับนักโทษชั้นเยี่ยมจะได้รับการลดวันต้องโทษ เดือนละ 5 วัน ไปเรื่อยๆ  อันนี้คือการลดวันต้องโทษส่วนแรกตามกฎหมายราชทัณฑ์

นอกจากนั้น จะมีการลดวันต้องโทษตาม พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ  ในโอกาสสำคัญๆ ที่กำหนดลดวันต้องโทษลงอีก

ดังนั้น นักโทษที่ถูกพิพากษา ‘จำคุกตลอดชีวิต’ จึงได้รับการลดวันต้องโทษจากกฎหมาย 2 ส่วนนี้

รศ.ดร.ปกป้อง อธิบายต่อถึงหลักคิดในการลงโทษผู้กระทำผิดว่า หากไม่ใช่โทษประหารชีวิต การลงโทษผู้กระทำผิดโดยการจำคุก 10 ปี 20 ปี หรือตลอดชีวิต กระบวนการในเรือนจำจะต้องฟื้นฟูแก้ไขผู้กระทำความผิด ให้สามารถปรับตัวและกลับสู่สังคมได้ โดยที่ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมอีก

“ในต่างประเทศจึงมีระยะเวลาจำคุกขั้นต่ำ อย่างกรณีจำคุกตลอดชีวิตในฝรั่งเศสจะกำหนดว่า ต้องติดคุกอยู่จริงๆ 18 ปี  หรือถ้าเป็นคดีคดีอุกฉกรรจ์ ที่เป็นฆาตกรต่อเนื่อง นักโทษที่กระทำความเสียหายอย่างมาก ก็อาจจะขยายระยะเวลาจำคุกไปถึง 22 ปี”

“โดยเมื่อครบ 18 ปี หรือ 22 ปีแล้ว เขาจะประเมินนักโทษเป็นรายๆ คนที่ปรับตัวได้ คนที่ไม่สร้างปัญหาแล้ว อาจได้รับการปล่อยตัวแบบมีเงื่อนไข ส่วนคนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ก็ขังคุกต่อไป เพราะโทษสูงสุดคือโทษจำคุกตลอดชีวิต” รศ.ดร.ปกป้อง กล่าว

และตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาของไทยคือกำหนดระยะเวลาจำคุกขั้นต่ำน้อยเกินไป

“เรามีระยะเวลาจำคุกขั้นต่ำ สำหรับความผิดที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต แค่ 10 ปี ซึ่งสั้นไป  แปลว่าตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป นักโทษที่ถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตสามารถลดวันต้องโทษได้ รวมทั้งขอพักการลงโทษ และปล่อยตัวก่อนกำหนดได้”

 

กรณี ‘สมคิด พุ่มพวง’ โทษสูงสุดคือ ประหารชีวิต ทำไมเหลือโทษจำคุกแค่ 14 ปี

รศ.ดร.ปกป้อง อธิบายว่า การฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) โทษคือ ประหารชีวิตสถานเดียว  เพียงแต่ในการพิจารณาคดี ฆาตกรอาจสารภาพ แล้วคำสารภาพนั้นเป็นประโยชน์ ศาลจึงลดโทษให้เป็นจำคุกตลอดชีวิต หรือศาลอาจจะคำนึงถึงเหตุอื่นๆ จึงลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต

“คราวนี้เมื่อคำพิพากษาเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว กระบวนการก็จะเข้าสู่การรับโทษตามกฎหมายราชทัณฑ์ เขาเดินเข้าเรือนจำวันนี้ด้วยโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อจำคุกครบ 10 ปี เขาก็จะได้รับการลดวันต้องโทษ ได้รับการอภัยโทษ ทำให้วันต้องโทษของเขาลดลงเรื่อยๆ จนได้รับการปล่อยตัวออกมา หลังจากจำคุก 14 ปี อย่างที่เห็น”

กระบวนการของ ‘ศาล’ กับ ‘กรมราชทัณฑ์’ แยกกัน เป็นจุดอ่อน

“เมื่อศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตวันนี้ นักโทษเดินเข้าเรือนจำด้วยโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลไม่เกี่ยวข้องแล้ว จะต้องปฏิบัติกับนักโทษอย่างไร ต้องลดโทษอย่างไร เป็นไปตามกฎหมายราชทัณฑ์ ผลที่ตามมาก็คือ กระบวนการลดวันต้องโทษ กระบวนการพักโทษ และการปล่อยตัวนักโทษก่อนกำหนด จึงแย้งกับคำพิพากษาของศาล”

“ในหลายประเทศการปล่อยตัวนักโทษก่อนกำหนด โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ คดีฆาตกรรม หรือคดีที่เป็นภัยต่อสังคม ก่อนปล่อยตัวเขาจะให้ไปพิจารณาในชั้นศาลใหม่ ทำให้สาธารณชน ผู้เสียหาย ได้เข้าไปสะท้อนความคิดเห็น ว่าควรจะปล่อยตัวหรือควรให้ขังต่อไปตามคำพิพากษาเดิม  ซึ่งกระบวนการตรงนี้ของไทยไม่มี”

 

ปัจจุบันนักโทษล้นเรือนจำ 168%

ทำไมต้องกรมราชทัณฑ์ต้องรีบปล่อยนักโทษ ทั้งๆ ที่คำพิพากษาบอกให้จำคุกตลอดชีวิต รศ.ดร.ปกป้อง ชี้ว่า ทุกวันนี้คนล้นคุก

“ประเทศไทยมีผู้ต้องขังมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนมากต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ทุกวันนี้นักโทษล้นเรือนจำไป 168% เรือนจำทั้งประเทศไทยรองรับนักโทษได้ 200,000 คน แต่ปัจจุบันเรามีนักโทษมากถึง 360,000 คน ราชทัณฑ์รับไม่ไหว จึงต้องเร่งระบายนักโทษออกมาก่อนกำหนด”

แต่ประเด็นก็คือว่า เราควรปล่อยนักโทษที่ถูกประเมินแล้วว่าไม่เป็นภัยต่อสังคม ควรจะใช้วิธีการประเมินอย่างเข้มข้นและรัดกุมมากกว่านี้หรือไม่

รศ.ดร.ปกป้อง เสนอว่า กรณีนักโทษคดีฆาตกรรม นักโทษที่เป็นภัยต่อสังคม กรมราชทัณฑ์ควรใช้เกณฑ์ประเมินลดโทษอีกแบบ ที่ไม่เหมือนกับนักโทษทั่วๆ ไป

ที่มา กรมราชทัณฑ์

ฟังสัมภาษณ์เต็มๆ

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/450289575924577/

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า