SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครที่กำลังรู้สึกว่าปีที่สองของการทำงานมันช่างหดหู่กว่าปีแรกเหลือเกิน TODAY Bizview คิดว่าคุณอาจกำลังเจอปรากฏการณ์ Sophomore Slump อยู่ก็ได้

‘ครั้งแรก’ มักเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ท้าทาย และสนุกสนานอยู่เสมอ ได้เป็นน้องใหม่เฟรชชี่ในรั้วมหาวิทยาลัย แต่ผ่านไปไม่นานคุณก็จะเริ่มปรับตัวกับ ‘ความใหม่’ จนกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างไม่ยากนัก

เช่นเดียวกันกับคนวัยทำงาน ลองมองย้อนกลับไปในวันแรกที่ได้เริ่มต้นการทำงาน ณ ตำแหน่งแห่งที่ตรงนี้ หลายคนรู้สึกกระตือรือร้นกับบทบาทใหม่ที่ได้รับ

ยิ่งถ้าเป็นงานในฝันด้วยแล้ว ความมุ่งมั่นตั้งใจที่เรามีก็คงทำให้มีผลงานดีๆ ออกมาอย่างแน่นอน

แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้สักพัก ความตื่นเต้น ท้าทาย ไฟในการทำงานที่เคยลุกโชติช่วงในขวบปีแรกก็กลับไม่หลงเหลืออยู่แล้ว

ซึ่ง TODAY Bizview จะบอกว่านี่ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะมีคำเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า ‘Sophomore Slump’ หรือภาวะความตกต่ำในช่วงปีที่สอง มักเชื่อมโยงกับการเกิดขึ้นของ ‘macro-transitions’ หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยเรียนที่ต้องขยับจากการเรียนในโรงเรียนสู่มหาวิทยาลัย หรือจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน เป็นต้น

ถ้าคุณเป็นอีกคนที่สงสัยว่า ตนเองกำลังเผชิญกับภาวะ Sophomore Slump อยู่หรือเปล่า วันนี้ TODAY Bizview จะชวนมาทำความเข้าใจ พร้อมหาคำตอบให้กับช่วงเวลาแบบนี้ไปพร้อมๆ กันค่ะ

[ มองเป็นการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งสปรินต์ ]

จีน-นิโคลัส รีต (Jean-Nicolas  Reyt) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กร มหาวิทยาลัยแม็คกิลล์ (McGill University) ประเทศแคนาดา ให้คำอธิบายไว้ว่า เมื่อต้องเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ผู้คนมักจัดสรรเวลาและให้ความสนใจกับเรื่องนั้นเป็นพิเศษ โดยหวังว่าจะต้องทำออกมาได้ดีมาก

แต่ปัญหาก็คือ หลายครั้งความตั้งใจดังกล่าว ก็ไม่อาจยืนระยะได้นานเท่าที่พวกเขาตั้งเป้าไว้ได้

รีต ให้นิยามลักษณะเหตุการณ์เช่นนี้ว่า “การเปลี่ยนแปลงคือการวิ่งมาราธอน แต่หลายครั้งเรากลับคิดว่า มันคือการวิ่งแบบ ‘sprint’ ด้วยอัตราที่เร็วมาก”

ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ อาจทำให้เราเข้าใกล้เป้าหมายได้ไวขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไปถึงจุดหมายได้ในท้ายที่สุด

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นอกจากจะชวนให้ตื่นเต้น ฮึกเหิม รู้สึกสนอกสนใจกับมันมากๆ แล้ว การเปลี่ยนแปลงยังสร้างความคาดหวังที่สูงลิ่วให้กับเราไปด้วย

แต่อย่าลืมว่า เมื่อชีวิตต้องเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ มันมักมาพร้อมกับความพยายาม ความเหนื่อย และการปรับตัวอีกมากมาย

ฉะนั้น เป็นธรรมดาที่คุณจะรู้สึกเหนื่อย หมดแรง หรือประสบกับภาวะตกต่ำที่การเปลี่ยนแปลงนั้นกลับไม่เป็นดังใจคิด

ซึ่งภาวะนี้ยังเกิดขึ้นได้กับคนทำงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงผู้บริหารที่ต่างก็ต้องเผชิญกับ Sophomore Slump กันมาแล้วทั้งสิ้น

ด้านแซลลี เมตลิส (Sally Maitlis) ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กรและความเป็นผู้นำ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวเสริมว่า คนเหล่านี้มักมาพร้อมกับความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึงการผูกโยงอัตลักษณ์เข้ากับการทำงาน

เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะที่อ่อนแรงจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ได้ทำงานในตำแหน่งงานและองค์กรที่ใฝ่ฝัน ก็จะยิ่งเกิดคำถามสะท้อนกลับมายังตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ‘self-doubt’ หรือความสงสัยในตัวเองที่อาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟได้ในที่สุด

[ ตัดแบ่งความสำเร็จให้สั้นลง ปรับความคาดหวังตามความเป็นจริง ]

ลึกลงไปมากกว่าการตั้งรับความผิดหวังไม่ได้ อาจเป็นเพราะเราเลือกที่จะโฟกัสเพียงเรื่องราวดีๆ ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงมากเท่าที่ควร

แต่การมองการณ์ไกลและปรับความคาดหวังให้อิงกับความเป็นจริงที่มีทั้งบวกและลบก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับคนที่ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน

เอลิกซ์ (Alix) หญิงสาวที่ได้ทำงานในบริษัทเกมแห่งหนึ่งเล่าว่า เธอรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ทำงานในฝัน อุตสาหกรรมเกมเป็นความท้าทายที่เธอคาดหวังว่า ตำแหน่งงานนี้น่าจะสร้างประสบการณ์ดีๆ ให้กับเธอได้อย่างแน่นอน

แต่การทำงานก็มีทั้งวันดีๆ และ ‘bad day’ แม้จะเป็นงานที่รักและชื่นชอบมากก็ตาม ปรากฏว่า บางครั้ง งานที่เอลิกซ์ได้รับมอบหมายก็สร้างความรู้สึกเชิงลบให้กับเธอได้เหมือนกัน

เธอมองว่า เป็นเพราะนี่คือการเริ่มทำงานที่แรก ความไม่มีประสบการณ์ของเธอทำให้ต้องพบเจอกับสภาวะตกต่ำเช่นนี้

ฉะนั้น สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำจึงเป็นการสร้างสมดุลแห่งความคาดหวังอย่างเหมาะสม ไม่กดดันตัวเองด้วยไม้บรรทัดที่เถรตรงจนเกินไป จนบีบให้เราต้องติดอยู่ในภาวะตกต่ำ

นอกจากนี้ การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานก็อาจช่วยคุณได้อีกแรง หลายครั้งเรามักเลือกที่จะระบายความอัดอั้นตันใจการทำงานกับเพื่อนสนิทที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร

แต่อันที่จริงแล้ว การแลกเปลี่ยนกับคนในทีม หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับคุณในสนามการทำงาน จะช่วยให้คุณผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายเช่นนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว

นั่นเป็นเพราะพวกเขาเข้าใจสิ่งที่คุณกำลังเจอได้เป็นอย่างดี ลองแบ่งปันกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ สบายใจที่จะคุยด้วยก็ไม่เสียหายนะ

[ ให้ ‘Job Crafting’ เป็นตัวช่วย ]

แนวคิด ‘Job Crafting’ คือการปรับงานที่กำลังทำให้เหมาะกับจุดแข็งและความสนใจของตนเอง

อันที่จริงก็คือการทำงานที่เดิม ตำแหน่งเดิม เพียงแต่ลองปรับวิธีคิด มุมมองที่มีต่อการทำงาน เหมือนกับเราคราฟต์งานชิ้นเดิมขึ้นมาใหม่ ให้กลายเป็นงานที่อยากลุกขึ้นมาทำในทุกทุกวันมากขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น เภสัชกรประจำโรงพยาบาลที่กำลังรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน เมื่อลองหยิบแนวคิด Job Crafting มาใช้จะถูกปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยแนวคิดที่ว่า เภสัชกรไม่ใช่แค่อาชีพจัดยาแล้วจ่ายยาให้กับคนไข้จบไปเป็นกรณีๆ

แต่พวกเขายังได้ช่วยเหลือผู้คน ทำให้คนเจ็บเหล่านี้กลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นได้

หรือคนทำงานในบริษัทเทคฯ ที่ไม่ใช่แค่คนเขียนโค้ด ส่งงานปิดโปรเจกต์ไปเฉยๆ แต่ยังได้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับโลก ทำให้ชีวิตของผู้คนอีกหลายสิบล้านดีขึ้นได้ด้วยผลงานของคุณนั่นเอง

ใครที่กำลังเผชิญกับ Sophomore Slump อยู่ ก็ไม่ต้องรู้สึกด้อยค่าตัวเองแต่อย่างใด เพราะนี่คือเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นกับใคร อาชีพไหนก็ได้

สิ่งสำคัญคือหลังจากเกิดขึ้นแล้ว เราจะมีสติ รับมือกับมันอย่างไรได้บ้าง เพื่อเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เช่นนี้

อ้างอิง:

https://www.bbc.com/worklife/article/20220217-why-the-sophomore-slump-of-adulthood-hits-so-hard

https://hbr.org/2010/06/managing-yourself-turn-the-job-you-have-into-the-job-you-want

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า