SHARE

คัดลอกแล้ว

เกาหลีใต้เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) อย่างเต็มรูปแบบ หลังประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ครองสัดส่วน 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศ เรื่องนี้สำคัญยังไง เราพาไปหาคำตอบในโพสต์นี้

รัฐบาลเกาหลีใต้เพิ่งจะออกมาเปิดเผยข้อมูลน่าตกใจเกี่ยวกับจำนวนประชากร โดยระบุว่า ขณะนี้ เกาหลีใต้มีประชากรสูงวัย ที่มีอายุมากกว่า 65% จำนวน 10,244,550 คน  หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งประเทศ ที่มีอยู่ 51,221,286 คน

ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์สูงสุดขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่มีการแบ่งระดับขั้นการเป็นสังคมผู้สูงอายุ จากการพิจารณาสัดส่วนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปดังนี้

  • ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ถือว่าเป็นสังคมสูงวัย
  • ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนมากกว่า 14% ถือว่าเป็นสังคมสูงวัยเต็มขั้น
  • ประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนมากกว่า 20% ถือเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด

ส่งผลให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียที่เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดตามหลังญี่ปุ่นและนับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องรีบหาทางรับมือ

 

ชาวเกาหลีใต้อายุยืนมากกว่าที่คาดไว้

ความน่าสนใจของการเปิดเผยล่าสุดนี้ คือหากย้อนไปดูสถิติจำนวนประชากรของเกาหลีในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จะพบว่า เกาหลีใต้มีจำนวนประชากรที่เป็นผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่ประชากรสูงวัยครองสัดส่วนทะลุ 10% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศไปเมื่อปี 2008

โดยแค่ 4 ปีหลังจากนั้น ในปี 2011 สัดส่วนประชากรสูงวัยในเกาหลีใต้ก็เพิ่มขึ้นมาเป็นมากกว่า 15% ถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มขั้น ก่อนที่จะมาทะลุ 19% เมื่อต้นปีนี้ และเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปลายปี 2024 ซึ่งเร็วกว่าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้เคยคาดการณ์ไว้ว่าประเทศจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดอย่างสมบูรณ์ในปี 2025

ที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะในเวลาแค่ 16 ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้มีประชากรสูงอายุในประเทศเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า จากราวๆ 4.95 ล้านคนในปี 2008 มาเป็นกว่า 10.24 ล้านคนในปี 2024

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้น คือมีการคาดการณ์ว่า หากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบนี้ต่อไป คาดว่า ประชากรสูงอายุในเกาหลีใต้จะเพิ่มเป็น 25.3% ภายในปี 2030 และจะพุ่งขึ้นมาเป็น 40.1% ภายในปี 2050

ระเบิดเวลาด้านประชากรลูกใหญ่

การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอดไม่ใช่แค่ปัญหาเดียวที่เกาหลีใต้กำลังเผชิญเพราะในช่วงเวลาเดียวกันนี้เกาหลีใต้ก็กำลังพยายามแก้ไขปัญหาอัตราการเกิดต่ำที่กำลังเข้าขั้นวิกฤติเช่นเดียวกัน

แม้ที่ผ่านมารัฐบาลเกาหลีใต้จะพยายามหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาตลอดด้วยการออกมาตรการต่างๆมากระตุ้นให้ประชาชนมีลูกกันมากขึ้น

โดยมีการเปิดเผยออกมาเมื่อปี 2022 ว่า รัฐบาลเกาหลีใต้ทุ่มงบประมาณมากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยได้เกือบ 7 ล้านล้านบาท ไปกับความพยายามในการกระตุ้นให้คนมีลูก ผ่านโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะเวลาลาคลอดแบบมีเงินเดือน, มอบคูปองเงินสดสำหรับเด็กแรกเกิดรวมไปถึงการรณรงค์ทางสังคมให้ผู้ชายมาช่วยดูแลลูกและทำงานบ้าน

แต่แนวทางเหล่านั้นกลับดูเหมือนว่าจะยังไม่ค่อยได้ผล เพราะเมื่อปี 2023 เกาหลีใต้มีอัตราการเกิดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์จนทำให้ประธานาธิบดียุนซอกยอลต้องออกมาประกาศให้ภาวะฉุกเฉินด้านประชากรศาสตร์เป็นวาระแห่งชาติ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าปัญหานี้ยังไม่ถูกแก้ไข

ในความเป็นจริง วิกฤติด้านประชากรศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่เกาหลีใต้ แต่หลายประเทศยุโรป และเอเชีย รวมถึงไทย ก็กำลังเผชิญ และหาทางรับกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน

เพราะสิ่งสำคัญก็คือผลกระทบที่จะตามมาจากการความเหลื่อมล้ำระหว่างสัดส่วนประชากรอายุน้อยกับผู้สูงอายุที่ห่างออกจากกันเรื่อยๆ

หนึ่งเรื่องที่จะเห็นได้ชัดเจนจากการที่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นก็คือทำให้ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องแบกรับภาระมากขึ้นทั้งในระดับครอบครัวที่อาจจะต้องมีการดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านและระดับประเทศจากการแบกรับภาระทางภาษีเพราะว่ารัฐบาลก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นภาษีเพื่อมาเป็นงบประมาณสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ยังไม่รวมถึงปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานจะเป็นอีกปัญหาใหญ่ตามมาซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวและการพัฒนาประเทศหยุดชะงัก

 

เรียกร้องรัฐบาลรีบแก้ไขก่อนไม่ทันการ

แม้ว่านี่จะไม่ใช่ปัญหาใหม่แต่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังรอการแก้ไขทำให้ที่ผ่านมามีทั้งคำแนะนำและความพยายามกระตุ้นให้รัฐบาลเกาหลีใต้เร่งหาทางแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน

โดย คิม มิน แจ เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงมหาดไทยเกาหลีใต้ ระบุในแถลงการณ์ที่ออกมาพร้อมรายงานจำนวนประชากรฉบับล่าสุดนี้ แนะนำว่ารัฐบาลควรต้องเปลี่ยนแปลงรากฐานและระบบนโยบาย ตลอดจนจัดตั้งหน่วยงานมาดูแลวิกฤติด้านประชากรโดยเฉพาะ ในขณะที่เรากำลังเข้าสู่ยุคใหม่ ที่มีสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเกิน 20%”

แต่แม้ว่าคำแนะนำนี้ จะสอดคล้องกับข้อเสนอที่ ประธานาธิบดียุน ซอก ยอล เคยเสนอไปยังรัฐสภาตั้งแต่เดือน พ.. ที่ผ่านมาให้ดำเนินศึกษาการตั้งกระทรวงเพื่อมาดูแลด้านประชากรศาสตร์

ในเวลานี้ ต้องบอกว่าแผนการตั้งกระทรวงใหม่กำลังหยุดชะงัก เนื่องจากเกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง หลังจาก ประธานาธิบดียุนถูกลงมติถอดถอนจากตำแหน่ง จากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

นี่เป็นอีกเรื่องที่ต้องจับตาว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะดำเนินการอย่างไรในขณะที่ประเทศกำลังวิกฤติการเมืองอย่างรุนแรง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า