SHARE

คัดลอกแล้ว

สมช. หารือ 7 แนวทางแก้ปัญหาชายแดนใต้ ใช้กลไกสภาสันติสุขเป็นหลัก เตรียมความรองรับสถานการณ์ความมั่นคงปี 66

พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงผลการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565 ว่า ที่ประชุมหารือการยกระดับการจัดระเบียบชายแดนเพื่อความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเสริมศักยภาพ พื้นที่ชุมชน และระบบบริหารจัดการชายแดน ซึ่งครอบคลุมเรื่องการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในการป้องกันพื้นที่ชายแดน การเสริมสร้างเอกภาพในการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล การเพิ่มความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นนอกภาครัฐ โดยให้หน่วยงานของรัฐและภาคีเครือข่ายได้ประสานการดำเนินงานในการป้องกันและแก้ไขปัญหาชายแดน

พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)

นอกจากนี้ที่ประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่ประชุมได้เสนอความเห็นเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน 7 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.แนวทางการป้องกันเหตุความรุนแรง 2.การปรับแนวทางการพูดคุยเพื่อสันติสุขที่ต้องสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป 3.การเสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศที่ต้องใกล้ชิดและต่อเนื่อง 4.การบริหารจัดการงานการศึกษาในพื้นที่ต้องเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ และการส่งเสริมเยาวชนให้อยู่ร่วมกันในความหลากหลายทางวัฒนธรรม 5.การบริหารจัดการพื้นที่ที่ต้องเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยเน้นความต้องการของประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะงานด้านการพัฒนา ที่ต้องใช้กลไกสภาสันติสุขตำบลเป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง 6.การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ต้องมีการบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วน โดยเน้นให้มีการทำงานร่วมกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น และ 7.การเพิ่มประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องมีความเข้าใจแนวนโยบายของรัฐ และเน้นย้ำให้การปฏิบัติงานต้องไม่สร้างเงื่อนไขใหม่อีก

พล.อ.สุพจน์ กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบแผนการสนับสนุนการศึกษาของนักเรียนและนักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาต่อในต่างประเทศ (พ.ศ. 2566-2570) ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษาไทยมุสลิมที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญให้สำเร็จการศึกษาในสาขาที่มีคุณภาพ มีภูมิคุ้มกันทางความคิด มีความเข้าใจและร่วมสนับสนุนบรรยากาศอยู่ร่วมกันภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมกลับมาเป็นกำลังสำคัญ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาพื้นที่และประเทศ

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อเป็นกรอบทิศทาง ในการจัดทำแผนงานและโครงการด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลแบบองค์รวม เพื่อให้สามารถรับมือและจัดการภัยคุกคามทางทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเตรียมการรักษาความปลอดภัยในห้วงการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิก (Asia – Pacific Economic Cooperation) โดยให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการรักษา ความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกการจราจร ตลอดจนความพร้อมในด้านกฎหมายรองรับการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความมั่นใจในการดำเนินการ มากยิ่งขึ้น

“ที่ประชุมได้รับทราบแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงและความเสี่ยงภัยคุกคามในห้วงปี พ.ศ. 2566 โดยให้มีการเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที สำหรับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่สำคัญ อาทิ สถานการณ์รัสเซีย – ยูเครน โดยไทยยึดมั่นการเคารพในหลักการแห่งอำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน รวมทั้งสนับสนุนให้ทุกฝ่ายใช้ความพยายามในการเจรจาแก้ไขสถานการณ์โดยสันติวิธี สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ ส่วนสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา เน้นย้ำการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและดำเนินการตามคู่มือขั้นตอน การปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน (SOP) อย่างเคร่งครัด และการจัดทำแผนระดับที่ 3 รองรับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อถ่ายทอด นโยบายฯ ไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนงาน โครงการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม” พล.อ.สุพจน์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า