SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการเลือกตั้ง 2562 พรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยถือเป็นพรรคขนาดใหญ่ กลับกลายเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส. เพียง 53 ที่นั่ง ไม่เพียงพอที่จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ในที่สุดมติพรรคตัดสินใจเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะในช่วงหาเสียง อดีตหัวหน้าพรรค “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ประกาศว่า ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

จุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ 4 มิ.ย. 62

มีเสียงสะท้อนหนึ่ง ที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นเพราะการประกาศ ไม่เอา “ลุงตู่” ของ นายอภิสิทธิ์ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ จึงสำรวจพื้นที่ภาคใต้ ฐานเสียงสำคัญที่สุดของพรรคประชาธิปัตย์ว่า ความรักความศรัทธา พรรคสีฟ้าเปลี่ยนแปลงหรือไม่เพียงใด

จังหวัดตรัง ผลการเลือกตั้ง 62 ประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. มา 2 ที่นั่งจากทั้งหมด 3 ที่นั่ง คือ เขตเลือกตั้งที่ 2 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และเขตเลือกตั้งที่ 3 น.ส.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ โดยเขตเลือกตั้งที่ 1 ตกเป็นของ นายนิพันธ์ ศิริธร จากพรรคพลังประชารัฐ

อภิญญา แอสนั่น เจ้าของร้านเสริมสวย จ.ตรัง

น.ส.อภิญญา แอสนั่น อายุ 49 ปี เจ้าของร้านเสริมสวย ใน ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง บอกว่า เป็นคนหนึ่งที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะชอบมาตั้งนานแล้วตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด ญาติพี่น้องทุกคนชอบพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด และเลือก ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์มาตลอดไม่เคยเปลี่ยน ขณะที่ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ยอมรับว่า มีประชาชนในพื้นที่มากพอสมควรที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์แล้วเปลี่ยนไปเลือกพรรคพลังประชารัฐ

ส่วนความนิยม หลังจากพรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ น.ส.อภิญญา บอกว่า รู้สึกว่าจะลดลงมากเลย เพราะ ณ เวลานี้ที่ลูกค้าทุกคนได้พูดกัน รู้สึกไม่โอเคเหมือนที่ผ่านมา ส่วนที่ นายอภิสิทธิ์ ลาออกจาก ส.ส. นั้น เจ้าของร้านเสริมสวย เล่าว่า จากที่พูดคุยกับลูกค้าเรื่องการเมืองเวลานี้ ทุกคนก็สงสารท่านที่ได้แสดงสปิริตตัวเอง เพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า สิ่งที่ท่านพูดไปท่านได้ทำแล้ว แต่เวลานี้ทุกคนก็ตอบรับว่า ไม่โอเคกับพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่มีใครยอมรับในเวลานี้

น.ส.อภิญญา ยังยอมรับ สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตคงจะยากแล้ว เพราะตนเองก็ไม่แน่ใจแล้ว หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ เพราะเด็กสมัยใหม่ตอนนี้ ก็อยากให้มีการเปลี่ยนแปลงสักครั้งใหญ่อีกครั้ง แต่ถ้ายังอยู่ระบบนี้ บ้านเมืองประเทศไทย ก็ยังจะอยู่แบบนี้

สุปราณี กาวกระโทก จ.ตรัง

เปลี่ยนใจไปเลือกพลังประชารัฐ เพราะบัตรคนจน

สอดคล้องกับคนรุ่นใหม่ อย่าง น.ส.สุปราณี กาวกระโทก อายุ 28 ปี ชาว ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.ตรัง ที่บอกว่า เธอเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่อายุครบ 18 ปี ก็คือครั้งแรกของการได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง เหตุผลนั้นก็เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นที่นิยมตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย คนรุ่นก่อนเชื่อมั่นในพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนตอนนี้เธอมองว่า ความนิยมของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงจริงๆ และคนส่วนใหญ่แถวบ้านเธอก็หันไปเลือกพรรคพลังประชารัฐ เพราะโดนใจที่นโยบายบัตรคนจน และมีรายได้เสริมให้กับคนมีรายได้น้อยทำให้ชาวบ้านมีทางเลือก

สำหรับมติของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ส่วนตัวของ น.ส.สุปราณี บอกว่า ไม่โอเค แต่การที่ นายอภิสิทธิ์ ลาออกจากการเป็น ส.ส. เธอรู้สึกว่า เขาเป็นคนที่พูดคำไหนคำนั้น และยังคงเชื่อมั่นในการทำงานของนายอภิสิทธิ์ในฐานะนักการเมืองไม่ว่าจะอยู่เบื้องหน้าหรือเบื้องหลัง

นพ.ประพนธ์ โชติกมาศ จ.ตรัง

แต่สำหรับแฟนพันธุ์แท้ ประชาธิปัตย์ เช่น นพ.ประพนธ์ โชติกมาศ แพทย์ประจำโรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ ซึ่งมีความสนิทสนมกับทีมงานพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะกับ นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ มองว่า ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีแนวความคิดด้านการเมือง เป็นประชาธิปไตยพรรคหนึ่ง จึงทำให้เลือก ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ สำหรับความนิยมของประชาธิปัตย์ในพื้นที่ภาคใต้ มองว่า ยังไม่ลด โดยเฉพาะตนเอง “ประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่ในใจผม”

นพ.ประพนธ์ ยอมรับเช่นเดียวกันว่า ในการเลือกตั้งที่ผ่านมา คนรอบข้างมีหันไปเลือกพรรคประชารัฐพอสมควร เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิทางการเมือง คนไทยควรจะเปิดกว้าง และให้โอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตังเอง

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศลาออกจาก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

ส่วนกรณีที่คุณอภิสิทธิ์ลาออกจาก ส.ส. ซึ่งเมื่อตนเองทราบข่าวแรกๆ ก็ ไม่เชื่อว่าท่านจะลาออก แต่พอท่านลาออกจริงๆ ก็คิดเลยว่า ท่านอภิสิทธิ์เป็นนักประชาธิปไตยจริงๆ และท่านก็รักษาคนพูด การลาออกของท่าน เชื่อว่าทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้มีการพัฒนาและเข้มแข็งมากขึ้น และทำให้นักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ได้ดูเป็นแบบอย่างว่า คนที่เคยเป็นอดีตผู้นำพรรค และอดีตนายกรัฐมนตรี มีการตัดสินใจที่เด็ดขาดและตรงไปตรงมา

สุราษฎร์ธานี เป็นอีกจังหวัดที่ ประชาธิปัตยได้ที่นั่ง ส.ส. ยกจังหวัดถึง 6 คน ได้แก่ นายภานุ ศรีบุศยกาญจน์, นายวิวรรธน์ นิลวัชรมณี, น.ส.วชิราภรณ์ กาญจนะ, นายสมชาติ ประดิษฐพร, นายสินิตย์ เลิศไกร และนายธีรภัทร พริ้งศุลกะ

ธีรพจน์ นามอินทราภรณ์ จ. สุราษฎร์ธานี

ความนิยมที่สุราษฎร์ฯ ยังไม่ลด

คอการเมืองที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์อีกคนหนึ่ง ธีรพจน์ นามอินทราภรณ์ ผู้ประกอบการร้านเสต็กท่าช้าง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี บอกว่า สำหรับคนที่สุราษฎร์ธานี มองพรรคประชาธิปัตย์เป็นสถาบันทางการเมือง ทำงานการเมืองมาอย่างยาวนาน บอกได้ว่า “คนสุราษฎร์รักใครแล้วก็รักอย่างมั่นคง”

แม้การเลือกตั้งครั้งนี้ จะมีพรรคเฉพาะกิจเข้ามามาก แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคุ้นเคยของคนในพื้นที่ได้ สำหรับพรรคพลังประชารัฐ ชาวบ้านไม่ค่อยรู้จักตัวผู้สมัคร และลงพื้นที่ยังไม่ทั่วถึง จึงทำให้ไม่ได้รับความไว้วางใจเหมือนพรรคเก่าแก่

ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ส่วนมติที่พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ ธีรพจน์ บอกว่า ไม่อยู่เหนือความคาดหมาย และมองเห็นว่า ประธานฝ่ายนิติบัญญัติควรเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ จะเป็นใครก็ได้ ซึ่งเมื่อเป็น นายชวน หลีกภัย ก็เห็นว่าเหมาะสมทุกคนที่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ก็อยากให้ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล

ไม่ปลื้มคำพูดอภิสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม มีอีกหลายจังหวัดในภาคใต้ที่ประชาธิปัตย์ต้องเสียที่นั่ง ส.ส.ไป เช่น จังหวัดสงขลา ได้ ส.ส.มาเพียง 3 ที่นั่ง อีก 4 ที่นั่งตกไปเป็นของพรรคพลังประชารัฐ ส่วนอีก 1 ที่นั่งเป็นของพรรคภูมิใจไทย ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ได้เข้าไปพูดคุยกับชาวบ้าน แต่ไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อ และหน้าตา ในพื้นที่เขตอำเภอเมืองสงขลา พบว่า ที่ไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้ เหตุผลใหญ่ก็เพราะการประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ของอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง

กฎกติกาที่เปลี่ยนแปลงของการเลือกตั้ง 62 ทำให้พรรคการเมืองใหญ่ประสบปัญหาจำนวนที่นั่งลดลงไปตามๆ กัน แต่นอกเหนือจากนั่น นโยบายและผลงานในการเป็นรัฐบาล ก็เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเพื่อเลือก “ผู้แทน” ในยุคที่มีตัวเลือกใหม่ๆ เพิ่มขึ้นให้กับประชาชน

 

ขอบคุณภาพประกอบ FB : Democrat Party, Thailand พรรคประชาธิปัตย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า