SHARE

คัดลอกแล้ว

วงในฟันธงว่า 2 เรื่องสำคัญ ที่ไปอยู่บนโต๊ะพูดคุยระหว่าง นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ที่สวมหมวก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย กับ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ มีแน่นอน 2 เรื่อง

คือ

1.นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท

2.เรื่องดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติเพิ่งประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง

สองเรื่องร้อนที่ต้องมาหาจุดสมดุล ระหว่างการที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับพายุหมุนกับงบประมาณมหาศาล และทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ กับประเด็นที่แบงก์ชาติก็ต้องการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและรักษาวินัยการคลัง

การพบกันมาพร้อมกับข่าวเกาเหลา ก่อนหน้านี้ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติเคยออกมาให้ความเห็นว่า ไม่สนับสนุนวิธีแจกเงินในรูปแบบดิจิทัลวอลเล็ต และยังบอกว่านโยบายแจกเงินหมื่นบาทดิจิทัลยังไม่ชัดเจนหลายอย่าง พร้อมตั้งคำถามเรื่องการใช้งบประมาณมหาศาล 5.6 แสนล้านบาท ว่า ถ้าทำรูปแบบเฉพาะกลุ่มจะประหยัดงบประมาณได้มากกว่า เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการ

ให้ความเห็นแทงสวนนโยบายรัฐบาลเพื่อไทยแบบนี้ ขณะที่ นายกฯเศรษฐา ที่นั่งตำแหน่ง รมว.คลังเอง และมีเดิมพันที่ต้องดันให้การแจกเงินหมื่นบาทดิจิทัลเกิดขึ้นให้ได้

การพบกันหนนี้ ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านเศรษฐกิจและการเงิน นายกฯเศรษฐา พูดว่า การพบกันจะนำไปสู่การทบทวนนโยบายทั้งในส่วนของรัฐบาลและแบงก์ชาติ โดยบอกว่า “ต่างคนต่างทบทวน”

พูดง่าย ๆ ก็มาหาจุดตรงกลางที่รับได้นั่นเอง

ทำไมการพบกันของนายกฯเศรษฐา กับผู้ว่าฯเศรษฐพุฒิ ถึงเป็นที่สนใจ

เรื่องนี้ต้องย้อนไปดูว่าประวัติศาสตร์เกาเหลาชามโต เคยเกิดขึ้นมาแล้ว สมัยยุครัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีวิวาทะไปมาผ่านสื่อ ระหว่าง กิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.คลัง และ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ จากแนวคิดขัดกันหลายเรื่อง

รมว.คลังส่งสัญญาณให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยลง เพื่อสกัดค่าเงินบาทแข็งช่วยเหลือผู้ส่งออก แต่ผู้ว่าฯแบงก์ชาติยืนยันไม่เห็นด้วย มองว่าอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมแล้ว

ขัดกันหลายประเด็น ปรอทแตก สุดท้าย รมว.คลัง กิตติรัตน์ ถึงกับพูดออกมาจนเป็นข่าวครึกโครมตอนนั้นว่า

“คิดจะไล่ผู้ว่าแบงก์ชาติ ออกจากตำแหน่งทุกวัน”

ย้อนให้ไกลไปอีก ยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (อย่าลืมว่ารัฐบาลสมัครก็คือรัฐบาลต่อเนื่องจากไทยรักไทยที่ถูกยุบไป) มีหมอเลี๊ยบ-นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รมว.คลัง ก็มีประเด็นเห็นสวนกันกับผู้ว่าฯแบงก์ชาติยุคนั้น นางธาริษา วัฒนเกส เรื่องดอกเบี้ยเช่นกัน ช่วงนั้นเงินเฟ้อพุ่ง ตามสูตรแก้ก็ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ หมอเลี๊ยบ บอกผู้ว่าฯแบงก์ชาติให้ใช้ทางอื่นแทนการขึ้นดอกเบี้ย

และถ้าย้อนไปดูแนวคิดของตัวพ่อผู้ให้กำเนิดนโยบายปากท้องกินได้ อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เคยโพสต์เฟซบุ๊กใน ช่วงยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์  อัดแบงก์ชาติทำตัวอิสระเกินไป จนไม่ฟังรัฐบาล เป็นผลพวงจากการแก้ไข พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร พร้อมยกโมเดลญี่ปุ่นที่แบงก์ชาติทำงานร่วมกันกับรัฐบาลอย่างดี

หนนี้ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่ เมื่อนโยบายของเพื่อไทยอย่างดิจิทัลวอลเล็ตหนึ่งหมื่นบาท กำลังจะท้าทายแนวคิดแบงก์ชาติ

เรื่องนี้ต้องดูกันไปอีกระยะ เพราะทั้งสองเศรษ นายกฯเศรษฐา กับผู้ว่าฯเศรษฐพุฒิ เพิ่งเริ่มคุยกัน ยังจะมีแมตช์นัดคุยกันแบบนี้อีกหลายยก เพราะรัฐบาลเพื่อไทยก็ต้องการทำให้นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตออกมาให้ได้ รวมทั้งผลักดันนโยบายระยะสั้นอื่นๆ

ฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญประเด็นกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่ได้หาเสียง

อีกฝ่ายหนึ่งรักษาเสถียรภาพการเงินไม่ให้เงินฝืดไม่ให้เงินเฟ้อ

ในเชิงหลักการแล้ว ทั้งสองแนวคิดสวนทางกันอยู่แล้วตามธรรมชาติ

คิดเรื่องนี้ยังไง แสดงความเห็นกันได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า