SHARE

คัดลอกแล้ว

สงครามซอสศรีราชา กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงที่สหรัฐอเมริกา นี่คือการต่อสู้ของ 2 แบรนด์ ที่ใช้ชื่อใกล้เคียงกัน


เจ้าตลาดที่อเมริกาคือ “ซอสศรีราชา สูตรเดวิด ทราน” ที่เป็นของคนเวียดนามอพยพ ขณะที่ ซอสศรีราชาที่คนไทยรู้จัก ซึ่งเป็นคนของคนไทย มีชื่อว่า “ศรีราชาพานิช” กำลังจะเดินหน้าไปตีตลาดอเมริกาอย่างเต็มตัวในปีนี้

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมซอสศรีราชาที่ผลิตโดยคนเวียดนาม ถึงกลายมาโด่งดังเป็นพลุแตกที่สหรัฐฯ ขณะที่ซอสศรีราชาต้นตำรับตัวจริง ต้องไล่ตามหลังความสำเร็จแบบนี้

1) จุดเริ่มต้นของซอสพริกศรีราชา ที่มีการบันทึก คือ ในช่วงปี 2480 กิมซัว ทิมกระจ่าง คนไทยเชื้อสายจีน พยายามคิดค้นซอสที่มีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ในขวดเดียว และในที่สุด เขาก็คิดค้นสูตรเฉพาะของตัวเองได้ ก่อนตั้งชื่อว่า “น้ำพริกศรีราชา” (แต่จริงๆคือซอส)

2) สูตรในตระกูล ทิมกระจ่าง ถูกถ่ายทอดกันภายในครอบครัว และในปี 2505 มีการตั้งโรงงานในซอยแหลมฟาน ศรีราชา ใช้ชื่อว่า “ศรีราชาพานิช” ไว้เพื่อผลิตซอสพริกโดยเฉพาะ จน ซอสพริกศรีราชา กลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ใครที่มาเยี่ยมเยือนศรีราชา ก็ต้องซื้อซอสพริกกลับไปเป็นของฝากเสมอ

3) ส่วนผสมของซอสพริกแบบออริจินอล มี พริก กระเทียม เกลือ น้ำส้มสายชูหมัก และน้ำตาลทรายขาว ในตอนแรกใช้ชื่อน้ำพริกก็จริง แต่เมื่อ อย.พิจารณา คุณสมบัติแล้ว จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ซอสพริกศรีราชา”

4) จากนั้นในปี พ.ศ.2527 บริษัท ไทยเทพรส ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซอสปรุงรส ตราภูเขาทอง ได้เข้าซื้อกิจการของ “ซอสพริกศรีราชา” และกลายมาเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเต็มตัว นับตั้งแต่นั้น

5) ข้ามไปที่ประเทศเวียดนาม ทางตอนเหนือของโฮจิมินห์ ใน พ.ศ.2516 เดวิด ทราน ชายชาวจีน ที่อพยพมาอยู่เวียดนาม ชื่นชอบการทำซอส โดยเขาผลิตซอสขิง เอาไว้กินกับเฝอ อย่างไรก็ตาม เดวิด ทราน เปิดกิจการได้ไม่นาน เขาก็หนีสงครามเวียดนาม ออกมาตายดาบหน้าที่สหรัฐอเมริกา

6) ในปี พ.ศ.2519 เดวิด ทราน ล่องเรือขนส่ง ชื่อฮุย ฟง โดยเรือไปลงที่บอสตัน ทางตะวันออกของอเมริกา ก่อนจะย้ายไปอยู่ลอสแองเจลิส ในปี 2523 และทันทีที่เขาย้ายไป ก็เริ่มทำงานที่ตัวเองชอบ คือผลิตซอส ทันที

7) คนเวียดนามในลอสแองเจลิส เรียกร้องให้เดวิด ทราน ผลิตซอส ที่สามารถเอาไว้กินกับเฝอได้ “แต่ผมต้องการบางอย่างที่ขายให้คนอื่นได้ด้วย ไม่ใช่แค่คนเวียดนามอย่างเดียว” เดวิด ทรานเผย

เดวิด ทราน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากซอสศรีราชาแบบออริจินอลที่ไทย จึงพยายามคิดค้นซอสพริกขึ้นมา เพื่อขายให้ร้านอาหารเอเชียทั่วอเมริกา เป็นซอสที่มีความเผ็ด และสามารถกินคู่กับอาหารได้หลายๆอย่าง โดยใช้ส่วนผสมเป็น พริกฮาลาเปนโย่,น้ำตาล,เกลือ,น้ำส้มสายชู และ สารเคมีที่ทานได้อีก 3 ชนิด

8) เดวิด ทราน ตั้งชื่อบริษัทตัวเองว่า ฮุย ฟง ฟู้ดส์ และตั้งชื่อสินค้าของเขาว่า “ซอสพริกศรีราชา” (Tuong Ot Sriracha) ใช้ชื่อแบบตรงๆ เลย อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวยืนยันว่า มันไม่ใช่สูตรของที่ไทย แต่เป็นสูตรเฉพาะของเขาเอง แม้จะใช้ชื่อเดียวกันก็ตาม

ขณะที่ตัวขวด เป็นขวดใส มีฝาสีเขียวเป็นเอกลักษณ์มาก ขณะที่โลโก้เป็นรูปไก่ตัวผู้ (Rooster) ทำให้คนอเมริกันเรียกว่า “ซอสตราไก่” ซึ่งก็หมายถึงซอสพริกนั่นเอง

9) กลายเป็นว่า สูตรของเดวิด ทราน ไปโดนใจคนอเมริกาอย่างจัง จากที่จะผลิตขายในลอสแองเจลิส ซอสตราไก่ของเขากลับฮิตติดลมบน เป็นรสชาติที่คนอเมริกาชอบ โดยซอสตราไก่ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ใดๆในสื่อ ไม่มีเฟซบุ๊กของตัวเอง แต่ใช้การบอกปากต่อปาก จนขายดีกระหน่ำ

ในปี 2009 นิตยสาร Bon Appetite มอบรางวัล ซอสยอดเยี่ยมแห่งปี ให้ ซอสศรีราชาสูตรเดวิด ทราน

จากนั้นในปี 2011 แรนดี้ คลีเมนส์ เชฟฝีมือดี ได้เขียนหนังสือประกอบภาพ เรื่อง The Sriracha Cookbook เป็นการสอนทำอาหารโดยใช้ซอสศรีราชา สูตรเดวิด ทราน เป็นองค์ประกอบ ซึ่งหนังสือนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้คนอเมริกันได้เห็นว่า ซอสศรีราชา สามารถมิกซ์แอนด์แมตช์ กับอาหารได้อย่างหลากหลาย

ขณะที่ยอดขายจากเริ่มต้นขายในระดับปีละไม่เกิน 1 แสนขวด ในปี 2014 ซอสขายได้ มากกว่า 20 ล้านขวด กลายเป็นบริษัทซอสยอดขายดีที่สุด ในระดับท็อปไฟว์ของอเมริกา

10) เดือนกุมภาพันธ์ 2014 ฮุยฟง ฟู้ดส์ ผู้ผลิตซอสศรีราชาสูตรเดวิด ทราน ได้เปิดเฟซบุ๊กออฟฟิเชี่ยลของแบรนด์ ปัจจุบันมีคนไลค์ราว 2.2 แสนคน ขณะที่ตัวเฟซบุ๊ก จะอัพข่าวสารเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อเดือน

11) ตลาด Hot Sauce หรือซอสแบบเผ็ดของสหรัฐฯ มีการบันทึกในปี 2017 ว่ามีมูลค่ารวมในตลาด ราว 1370 ล้านดอลลาร์ ( ราว 45,210 ล้านบาท) โดยมี ผู้ครองตลาดอยู่หลักๆ แค่ 4 แบรนด์เท่านั้น คือ ศรีราชา ของเดวิด ทราน, Tabasco, Cholula และ Frank’s RedHot เมื่อเป็นธุรกิจที่ร้อนแรง มีมูลค่าสูง แต่มีคู่แข่งน้อย จึงคาดว่า มีช่องทางในตลาด ให้แบรนด์อื่นๆเข้ามาเติบโตที่สหรัฐฯ ได้ด้วย

12) สำหรับ บริษัท ไทยเทพรส เจ้าของศรีราชาพานิช ต้นตำรับซอสศรีราชา ถือเป็นเบอร์ 1 ของยอดขายในประเทศ อย่างไรก็ตาม บัญชา วิญญูรัตน์ ผู้บริหารของบริษัท มีแผนที่จะนำศรีราชาต้นตำรับไปวางขายในตลาดอเมริกาด้วย

“ถ้าหากเราสามารถชิงส่วนแบ่งตลาด 1 เปอร์เซ็นต์ ที่สหรัฐฯได้ นั่นหมายถึงว่า เราประสบความสำเร็จมากแล้ว”

13) ในขณะนี้ ตลาดอเมริกา ถ้าพูดถึงซอสศรีราชา ต้องคิดถึงสูตรของเดวิด ทราน เป็นเบอร์ 1 ของตลาด ซึ่งด้วยความนิยมของซอสศรีราชา ทำให้ แบรนด์ดังๆอื่นๆ รวมถึง แบรนด์ยักษ์อย่าง Heinz ทำซอสศรีราชาของตัวเองมาสู้ด้วย ซึ่งเมื่อ ศรีราชาพานิช เข้าไปเล่นในตลาดอเมริกา พวกเขาจะไม่ได้สู้กับเดวิด ทรานแค่คนเดียว

14) ขณะที่เรื่องของรสชาติ สูตรเดวิด ทราน กับ สูตรต้นฉบับมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน

“ดิฉันชอบเวอร์ชั่นของไทยมากกว่านะ แต่นั่นก็เพราะมันเป็นรสชาติที่คุ้นเคย” คุณหมู สุนทรีย์ เชฟไทยในร้านอาหารที่อิลลินอยส์เผย “แต่ฉันคิดว่า คนอเมริกัน น่าจะชอบสูตรของเดวิด ทรานมากกว่า เพราะมันคือรสชาติที่พวกเขาคุ้นเคย”

ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า เมื่อศรีราชาพานิช ตั้งใจจะเดินหน้าลุยในตลาดอเมริกาอย่างจริงจัง พวกเขาจะกระชากส่วนแบ่งการตลาดมาจาก สูตรของ เดวิด ทรานได้หรือไม่

คำถามคือสำหรับคนอเมริกันทีคุ้นเคยกับรสชาติเดิมๆของซอสศรีราชา มาหลายสิบปี จะพร้อมใจเปิดรับสูตรอื่นหรือไม่ แม้จะเป็นสูตรที่ยืนยันได้ว่าเป็น สูตรแบบของแท้และดั้งเดิมก็ตาม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า