SHARE

คัดลอกแล้ว

จริงหรือไม่? กองทุนประกันสังคมนำเงินที่พวกเราจ่ายสมทบกันทุกๆ เดือน ไปบริหารจนเงินหาย-ขาดทุน แล้วไม่มีเงินมาเยียวยาผู้ประกันตน

 

ก่อนจะตอบคำถามนี้ อันดับแรกมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เงินสมทบที่พวกเราถูกหักอยู่ทุกเดือน เดือนละ 750 บาท หรือ 5% ของค่าจ้าง เมื่อหักไปแล้วเงินของเราไปไหน ทุกๆ เดือน เงิน 750 บาทของเรา จะได้รับการสมทบจากนายจ้างอีก 750 บาท หรือ 5% ของค่าจ้าง เท่าๆ กัน และได้รับการสมทบจากรัฐบาลอีก 412.50 บาท หรือ 2.75% ของค่าจ้าง เงินทั้งสามส่วนนี้จะถูกส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ให้ สปส. ไปบริหารจัดการและนำมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในกรณีต่างๆ เช่น เจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน

 

โดยเงินที่นำมาจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนนั้น ถูกแบ่งสัดส่วนตามวัตถุประสงค์เอาไว้แล้ว เป็น 3 กองหลักๆ ได้แก่

  • กรณีเจ็บป่วย พิการ เสียชีวิต คลอดบุตร (ลูกจ้าง 1.5% นายจ้าง 1.5% รัฐบาล 1.5%)
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ชราภาพ (ลูกจ้าง 3% นายจ้าง 3% รัฐบาล 1%)
  • กรณีว่างงาน (ลูกจ้าง 0.5% นายจ้าง 0.5% รัฐบาล 0.25%)

 

นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2563 กองทุนประกันสังคมมีเงินสะสมจากการจ่ายสมทบของลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล รวมทั้งสิ้น 1,357,119 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สปส. ไม่ได้เก็บเงินสมทบเอาไว้เฉยๆ หากแต่นำไปลงทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการประกันสังคมและกระทรวงการคลังกำหนด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับมาจ่ายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนในอนาคต ดังนั้น นับตั้งแต่ปี 2534 จนถึงวันที่ 31 มี.ค. 2563 กองทุนประกันสังคมมีผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมอยู่ที่ 675,722 ล้านบาท

 

ทำให้ในปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีเงินรวมกันทั้งสิ้น 2,032,841 ล้านบาท โดยเงินทั้งหมดนี้ถูกแบ่งไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้แก่

 

สินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง 82% ประกอบด้วย

  • พันธบัตรรัฐบาล ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน 67.90% หรือเป็นเงินจำนวน 1,380,198 ล้านบาท
  • หุ้นกู้เอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ 5.03% หรือเป็นเงินจำนวน 102,355 ล้านบาท
  • เงินฝาก 4.68% หรือเป็นเงินจำนวน 95,190 ล้านบาท
  • หน่วยลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ 4.60% หรือเป็นเงินจำนวน 93,433 ล้านบาท

 

และสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง 18% ประกอบด้วย

  • ตราสารทุนไทย (หุ้น) 10.17% หรือเป็นเงินจำนวน 206,672 ล้านบาท
  • กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทองคำ โครงสร้างพื้นฐาน 4.02% หรือเป็นเงินจำนวน 81,746 ล้านบาท
  • หน่วยลงทุนตราสารหนี้ที่เสี่ยงและตราสารทุน (หุ้น) ต่างประเทศ 3.09% หรือเป็นเงินจำนวน 62,889 ล้านบาท
  • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 0.51% หรือเป็นเงินจำนวน 10,358 ล้านบาท

 

 

ทีนี้ กลับมาสู่ประเด็นที่หลายๆ คนกำลังสงสัย วิพากษ์วิจารณ์ และแชร์กันในโซเชียลมีเดีย ว่ากองทุนประกันสังคมนำเงินของพวกเราไปบริหารจนเงินหาย-ขาดทุน แล้วไม่มีเงินมาเยียวยาผู้ประกันตน จริงหรือไม่?

 

หากย้อนดูข้อมูลจากรายงานสถานะการบริหารเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม ไตรมาสที่ 4 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562 จะพบว่า ในช่วงเวลานั้นกองทุนประกันสังคมมีเงินอยู่ 2,095,393 ล้านบาท เมื่อเทียบกับจำนวนเงิน ณ วันที่ 31 มี.ค. 2563 มีเพียง 2,032,841 ล้านบาท จึงแปลว่าเงินในกองทุนประกันสังคมลดลง 62,552 ล้านบาทจริง

 

ดร.พีรภัทร ฝอยทอง นักวางแผนการเงินส่วนบุคคล ให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า “เงินหายไป 6 หมื่นกว่าล้านบาท ก็น่าตกใจ แต่ถ้าดูเป็นพอร์ตการลงทุนมันหายไป 2-3% เทียบกับตลาดหุ้นไทยช่วงสิ้นปี 2562 ดัชนีอยู่ที่ 1,580 จุด ส่วนสิ้นเดือน มี.ค. 2563 ดัชนีอยู่ 1,125 จุด เทียบดูแล้วตลาดหุ้นไทยติดลบไปประมาณ 28% ในวิกฤติโควิด-19 ตลาดที่ไหน ๆ ก็ติดลบ ดังนั้น การที่พอร์ตลงทุนของประกันสังคมเงินลดลง 2-3% ถือว่าธรรมดา”

 

ประเด็นถัดมา ที่หลายๆ คนสงสัยมากก็คือ จริงๆ แล้วประกันสังคมมีเงินเยียวยาจ่ายให้กับลูกจ้างที่กำลังเดือดร้อนเท่าไหร่กันแน่ มีเงิน 2 ล้านล้านบาท หรือมีแค่ 160,000 ล้านบาท?

 

คำถามนี้ คำตอบอยู่ที่สัดส่วนการแบ่งเงินสมทบออกเป็น 3 กอง อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างบน ยังจำได้ไหมว่า เงินสมทบของลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% และรัฐบาล 2.75% จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กองตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเงินชดเชยกรณีว่างงานเป็นกองที่มีส่วนแบ่ง “น้อยสุด” คือแบ่งจากลูกจ้าง 0.5% นายจ้าง 0.5% และรัฐบาล 0.25% ดังนั้น เงินในส่วนนี้จึงมีอยู่แค่ประมาณ 10% ของเงินประกันสังคมทั้งหมด ถามว่า สปส. สามารถดึงเงินจากอีก 2 ส่วนมาจ่ายชดเชยกรณีว่างงานเพิ่มเติมได้หรือไม่ ต้องบอกว่ากฎหมายปัจจุบันไม่อนุญาตให้ทำ

 

อย่างไรก็ตาม การที่ประกันสังคมออกมาตรการช่วยเหลือลูกจ้างในระบบล่าช้าก็เป็นข้อบกพร่องสำคัญ ที่ควรเร่งแก้ไขและรีบดำเนินการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะลูกจ้างกลุ่มที่ไม่ได้ตกงาน ไม่ได้ถูกรัฐสั่งปิดกิจการชั่วคราว แต่ถูกลดชั่วโมงทำงานจนรายได้หายไปกว่า 50% ลูกจ้างกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับเงินเยียวยาหรือความช่วยเหลือใดๆ ทั้งที่จ่ายเงินสมทบทุกเดือน

 

อ้างอิง https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/900b06662ae9768005732f7cabe3ba95.pdf

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า