SHARE

คัดลอกแล้ว

การเปลี่ยนงานในวัย ‘First jobber’ อาจดูเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้สร้างความกังวลใจให้กับตัวเรามากเท่าไร

แต่ถ้าคุณกำลังก้าวเข้าสู่ระดับ ‘Mid-career’ หรือวัยกลางคน ที่พรั่งพร้อมไปทั้งอายุ ความสามารถ และตำแหน่งงานแล้วนั้น การเปลี่ยนงานคงเป็นประเด็นที่ต้องทบทวน-ชั่งน้ำหนักมากพอสมควร

โดยเฉพาะใครที่ทำงานอยู่ที่เดิมมานานเกิน 10 ปี แล้วต้องเปลี่ยนไปเริ่มต้นในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ บวกกับวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่คุ้นชิน การเปลี่ยนงานก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

หากใครกำลังตกอยู่ในช่วงเวลาแบบนี้อยู่ TODAY Bizview มีเทคนิคดีๆ สำหรับการเปลี่ยนงานในวัยกลางคนมาฝากกัน เพื่อให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบนี้ไปได้

[ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน ]

นอกจากเรื่องของเนื้องานหรือ ‘Job Description’ เพื่อนร่วมงานเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

เมื่อห่างหายจากการโยกย้ายเปลี่ยนงานมานาน บางครั้ง คุณอาจลืมขั้นตอนสำคัญอย่างการสร้างความสัมพันธ์กับคนในทีมไปแล้วก็ได้

ดังนั้น นอกจากการโฟกัสไปที่ชิ้นงานแล้ว ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมทีม การสร้างความไว้วางใจ ทั้งหมด ล้วนส่งผลต่อความสำเร็จในหน้าที่การงานของคุณไม่มากก็น้อย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้ลองนึกถึงตอนตัวเองเป็น ‘Newbie’ ในการทำงาน เมื่อเราเข้าไปในพื้นที่ใหม่ๆ แม้จะมีอายุงานมาเป็นสิบปีแล้ว แต่เมื่อสถานที่เปลี่ยน ความเข้าใจหรือประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ก็อาจจะหยิบมาใช้ทั้งหมดเสียทีเดียวไม่ได้

ลองทำความเข้าใจถึงบทบาทของทีมแต่ละคน สนใจใคร่รู้ถึงคุณค่าของงานที่พวกเขาทำ เพื่อเชื่อมโยงกลับมายังการทำงานของคุณได้ว่า เราจะสามารถเข้าไปเติมเต็มส่วนไหนได้บ้าง

และการให้ความสนใจ ให้คุณค่าแบบนี้ยังเป็นหลักจิตวิทยาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เพื่อนร่วมทีมรู้สึกดีกับคุณด้วย

ด้วยอายุงาน และประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างโชกโชน บางครั้ง การก้าวเข้าไปในองค์กรใหม่ก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจกับวิธีการทำงานบางอย่างได้

ยกตัวอย่างเช่น การทำงานที่ไม่ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนมากนัก คุณอาจมองว่าสิ่งเหล่านี้ดูล้าหลัง คร่ำครึ แต่เราเองก็ต้องทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านั้นด้วย ค่อยๆ ใช้วิธีเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆ ดูก่อน ทิ้งระยะไว้สักหน่อย

จากนั้น ค่อยหาลู่ทางเปิดสนทนา แลกเปลี่ยนด้วยชุดข้อมูลที่ทำให้พวกเขาคล้อยตาม เพื่อให้ทีมมองเห็นว่า การทำงานจะดีขึ้นอย่างไรหากเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น

ที่สำคัญ ต้องใจเย็นสักหน่อย การเปลี่ยนแปลงไม่อาจเกิดขึ้นภายใน 1-2 เดือน บางครั้งก็กินระยะเวลานานนับปีเหมือนกัน

[ เรียนรู้โปรดักต์-ธุรกิจ-เป้าหมายขององค์กรให้แม่นยำ ]

แม้จะผ่านการสัมภาษณ์ ได้รับเลือกเข้ามาแล้ว แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ลึก-รู้จริงในสิ่งที่เป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กร

ดังนั้น เราอาจต้องให้เวลาตัวเองเรียนรู้ประวัติศาสตร์-ความเป็นมาขององค์กรมากขึ้น รอบปีที่ผ่านมาบริษัททำผลประกอบการไปได้เท่าไร มีผลิตภัณฑ์อะไรเป็นตัวชูโรง เป้าหมายในปีนี้คืออะไร ทิศทางบริษัทในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ตรงกับเป้าหมายของเราหรือไม่

คำถามเหล่านี้ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ภาพรวมบริษัท แต่จะทำให้เราตัดสินใจ-วางแผนชีวิตการทำงานของตัวเองได้ด้วยว่า วิสัยทัศน์ที่องค์กรต้องการจะไปให้ถึง ตรงกับเป้าหมายของตนเองหรือไม่

ถัดจากส่วนแผนธุรกิจแล้ว ลองขยับมาเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรให้มากขึ้นกัน

อย่างที่บอกไปว่า เพื่อนร่วมงานก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การทำงานราบรื่นตลอดรอดฝั่งไปได้ เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นแบบไหน มีความเป็น ‘traditional firm’ หรือ ‘flat organization’

แต่ละคนสื่อสารกันด้วยวิธีใด งานเร่ง งานด่วนสามารถโทรโดยไม่ต้องบอกล่วงหน้าได้ไหม ใช้โปรแกรมแชตอะไร สื่อสารกันเป็นลำดับชั้นหรือคุยกันได้ทุกระดับ ต้องผ่านขั้นตอนการตัดสินใจจากใครก่อนหรือเปล่า

ยิ่งเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ได้เร็วมากเท่าไร ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นเท่านั้น

[ เรียนรู้ความคาดหวังจากทีม ที่มีต่อตำแหน่งงานคุณ ]

ด้วยประสบการณ์ อายุงาน และโปรไฟล์ จึงมาพร้อมกับความคาดหวังของทีมและเพื่อนร่วมงาน

แต่ความคาดหวังที่ว่านี้จะไม่สามารถรับรู้ตรงกันได้เลยหากขาดการสื่อสารกัน ลองปรึกษาหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมดูว่า พวกเขาคาดหวังอะไรจากคุณ อยากให้ช่วยซัพพอร์ตในส่วนไหนเป็นพิเศษไหม

บางครั้ง ตำแหน่งงานที่เหมือนหรือคล้ายกัน ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องทำงานเหมือนกันเสมอไป

คุณอาจเก่งและเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทีมยังขาด หากทำในส่วนนี้ได้ ก็จะช่วยให้คุณค่าของ ‘role’ ที่รับผิดชอบพิเศษมากยิ่งขึ้น

[ ให้เวลากับตัวเองบ้าง ]

ถ้ายังปรับตัวไม่ได้ ก็ไม่ต้องรู้สึกกังวลมากจนเกินไป

เมื่อต้องเริ่มงานใหม่ผู้คนมักต้องการสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับสถานที่และผู้คนในสภาพแวดล้อมนั้นๆ ทันที

แต่การเริ่มต้นใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ในตอนแรก คุณจะเจอกับความรู้สึกตื่นเต้น ตกใจ หวาดกลัว เต็มไปด้วยมวลอารมณ์ที่หลากหลาย

และหากเร่งรัดตนเองมากเกินไป ความตื่นเต้น ตกใจ เหล่านั้น อาจกลายเป็นอารมณ์เศร้า หงุดหงิด ปฏิเสธสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามาในที่สุด

ให้เกียรติตัวเองเพื่อผ่านกราฟแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ไปให้ได้ แต่ละคนใช้ความเร็วในการเชื่อมต่อกับสิ่งใหม่ด้วยอัตราเร่งที่ต่างกัน

หากล้มเหลวหรือผิดพลาดขึ้นมา จงมองความผิดพลาดเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ไม่มีความผิดพลาดใดสูญเปล่าหากเราหยิบบทเรียนทั้งหมดมาพัฒนาต่อ จนกลายเป็นความสำเร็จได้

ที่มา:

https://hbr.org/2022/04/starting-a-new-job-as-a-mid-career-professional

https://www.thebalancecareers.com/tips-for-a-successful-mid-career-change-4083208

https://www.themuse.com/advice/6-highpaying-jobs-that-are-great-for-career-changers

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า