SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.จัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) สังเกตอาการผู้เดินทางกลับต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน รวม 1,206 แห่งทั่วประเทศ ป้องกันการแพร่กระจายโรคโควิด-19 ขณะที่กรมควบคุมโรค แจงยาฟาวิราเวียร์เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วยและมีการปรับใช้ยามากขึ้น 

วันที่ 23 เม.ย.2563 นพ.เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการป้องกันควบคุมการแพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ได้มอบให้กระทรวงกลาโหม มหาดไทย และสาธารณสุข ร่วมกันจัดพื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine/ Local Quarantine) เป็นสถานที่สำหรับเฝ้าสังเกตอาการผู้ที่กักกันโรคหลังจากกลับจากการเดินทางต่างประเทศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงกลาโหม ดูแล State Quarantine ในกทม. และร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดเป็น Local Quarantine ในต่างจังหวัด ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ปัจจุบัน มี state Quarantine ที่มีผู้เข้าพักจำนวน 10 แห่ง ใน กทม. และ 4 แห่งที่ต่างจังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี และนครปฐม จนถึงปัจจุบันมีผู้ถูกกักกันเข้าพักสังเกตอาการสะสม 1,478 คน พบการติดเชื้อ 9 ราย ส่วน Local Quarantine มีจำนวน 1,192 แห่งกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีผู้ถูกกักกันรวม 3,506 ราย พบการติดเชื้อ 62 ราย

สำหรับแนวทางการดำเนินงานใน State Quarantine กระทรวงกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีบุคลากรจากกรมควบคุมโรคเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินงานให้คำปรึกษาด้านการป้องกัน ควบคุมโรค เฝ้าระวังติดตามอาการ และคัดกรองผู้เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค ภายใต้การสั่งการจากผู้บัญชาการเหตุการณ์และหัวหน้าทีม รวมทั้งกรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และกรมอนามัย ให้การสนับสนุนบุคลากรร่วมดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้กักกันโรคจะได้รับการดูแลจากทางเจ้าหน้าที่ ตรวจเช็คสุขภาพประจำวัน มีทีมให้คำแนะนำและประสานงานตลอด 24 ชั่วโมง ณ สถานที่กักกันนั้นๆ และจะมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการภายในวันที่ 5-7 ของการเฝ้าระวัง หากตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือมีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค (PUI) จะถูกส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดต่อไป
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค ได้มอบหมายให้สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เป็นศูนย์กลางบริหารเหตุการณ์พื้นที่ควบคุมโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และทำหน้าที่ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จะไปประจำการ เพื่อให้การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์สถานที่กักกันโรคฯ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ด้าน นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวถึงปริมาณยาฟาวิราเวียร์ (Favilavir) ที่ใช้ในปัจจุบันว่า ไทยมีการนำเข้ายาฟาวิราเวียร์มาแล้ว 5 ครั้ง ยอดรวม 1.8 แสนเม็ด ใช้ไปกับผู้ป่วย 682 รายทั่วประเทศ มียาคงเหลือที่หน่วยบริการแต่ละเขตประมาณ 30,000 เม็ด เหลือในคลังองค์การเภสัชกรรมประมาณแสนกว่าเม็ด และได้ทำการจัดซื้อเพิ่มเติมจากญี่ปุ่น 1 แสนเม็ด จากจีนอีก 2 แสนเม็ด เพราะฉะนั้นยาฟาวิราเวียร์ ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ร่วมกับยาตำหรับอื่น ยืนยันไม่ขาดยาแน่นอน
.
นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ยาฟาวิราเวียร์เป็นปัจจัยที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ผ่านมามีการปรับแนวทางการให้ยาเมื่อให้ยาฟาวิราเวียร์กับผู้ป่วยเร็วขึ้น การกำจัดเชื้อในตัวผู้ป่วยก็ทำได้เร็วขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 รักษาหายกลับบ้านได้เพิ่มขึ้น เร็วขึ้น เพราะเราให้ยาเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นเรื่องที่ดี เมื่อตรวจได้เร็วก็เข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วซึ่งจะทำให้เราควบคุมโรคได้เร็วขึ้นไปด้วย

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย

ขณะที่ พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้อธิบายถึงแนวทางการบริจาคของที่ปลอดภัย ปลอดเชื้อโควิด19 โดย แนะนำให้ประชาชนที่จะนำของมาบริจาค ขอให้คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และให้คำนึงถึงการไม่ให้มีการรวมตัวของคนหมู่มากโดยไม่มีการจัดระเบียบ และการสัมผัสใกล้ชิด หากไม่มีการจัดระเบียบ มีระยะห่าง อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้

ทั้งนี้ ผู้บริจาคควรแจ้งเจ้หน้าที่ของรัฐที่ดูแลพื้นที่ / มีจุดการคัดกรองผู้ที่จะมารับของ รับอาหาร / จัดบริเวณล้างมือ หรือ เจงแอลกอฮอล์/ จัดพื้นที่ให้มีระยะห่างในการรับของ1-2เมตร/จัดในพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก/จัดระบบเข้าออกไม่ให้แออัด เช่น จัดเป็นรอบๆ

อย่างไรก็ตาม ผู้ปรุงอาหาร ผู้ตักอาหารและผู้ให้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือและผ้ากันเปื้อน หากมีอาการเจ็บป่วยไอให้หยุดปฏิบัติงานทันที และให้ล้างมือก่อนปรุงอาหารและหลังปรุงอาหาร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า