SHARE

คัดลอกแล้ว

วิทยาศาสตร์เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของเด็กการปลูกฝังความรู้สมัยใหม่เพื่อให้เด็กมีความพร้อมสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ท่ามกลางแสงแดดอันร้อนแรงทางภาคเหนือของประเทศไทย เด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งเดินไปในนาข้าวขั้นบันไดอันงดงามของบ้านแม่สะลาบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และเริ่มต้นขุดดินลึกลงไปถึง 30 เซนติเมตร แต่นี่ไม่ใช่การก่อกวนพื้นที่เพาะปลูกของชาวบ้าน และไม่ใช่การทำไร่นาเช่นกัน สิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียนรู้ 

“ถ้าเรานั่งเรียนแต่ในห้องเรียน เราก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าดินมีความเป็นกรดหรือด่างมากแค่ไหน แต่โครงการทางวิทยาศาสตร์นี้ช่วยให้เราเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น” จารุวรรณ ก่อดู นักเรียนประจำอายุ 15 ปี จากโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่าให้ฟังด้วยความตื่นเต้น

จากการศึกษาเรียนรู้ภายใต้การดูแลของนฤนาถ วัฒนวงษ์ ครูวิทยาศาสตร์ประจำโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ จ.แม่ฮ่องสอน จารุวรรณและเพื่อนร่วมชั้นเป็นส่วนหนึ่งของนักเรียนรุ่นใหม่ที่ได้รับประโยชน์จากงานของยูนิเซฟในประเทศไทยด้านการศึกษา STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ยูนิเซฟกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตร เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (IPST) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ STEM ของเด็ก ๆ โดยเน้นไปที่ความเสมอภาค และความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งจะเน้นที่การขยายการศึกษา STEM ไปสู่โรงเรียนในชนบทและโรงเรียนขนาดเล็กและกลุ่มเด็กผู้หญิง

ซึ่งมักมีโอกาสที่จะเติบโตไปประกอบอาชีพด้าน STEM น้อยกว่าเด็กผู้ชายแม้ว่าทักษะ STEM จะเป็นทักษะสำคัญสำหรับศตวรรษที่ 21 ก็ตาม โครงการนี้มีเป้าหมายในการสร้างประโยชน์ให้กับเด็ก 25,000 คน และครู 500 คน โดยตรงภายใน 3 ปี โดยมีครูอีกมากมายที่ได้รับการสนับสนุนผ่านการฝึกอบรมออนไลน์ผ่านโครงการนี้

รินลดา มหานพัฒน์ คือหนึ่งในเด็กสาวที่มีความมั่นใจมากที่สุดของกลุ่ม
แม้ว่าเธอจะลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการในตอนแรก แต่ท้ายที่สุดเธอก็เป็นผู้นำในการเลือกนาข้าวขั้นบันไดในหมู่บ้านแม่สะลาบ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอให้เป็นพื้นที่วิจัย ครูนฤนาถตั้งข้อสังเกตว่า จากที่นักเรียนไม่เคยใส่ใจกับปริมาณข้าวที่พ่อแม่เก็บเกี่ยวมากนัก แต่การค้นคว้าเกี่ยวกับดินช่วยให้พวกเขาเข้าใจว่าผลผลิตข้าวที่ลดลงนั้นเกี่ยวข้องกับคุณภาพของดินหรือสภาพอากาศด้วย

“หนูมีความสุขมากที่ได้มาร่วมในโครงการนี้ หนูได้เห็นโครงการของประเทศอื่นๆ และงานวิจัย เช่น ประเทศสวีเดนวิจัยทำพลาสติกจากสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นการเปิดโลกสำหรับหนูที่ได้เห็นประเทศอื่น ๆ ทำโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบนี้ หนูภูมิใจที่ได้เอาความรู้จากการวิจัยคุณภาพดินมาเล่าให้เกษตรกรที่บ้านตัวเอง
ฟัง”

รินลดาเล่าให้ฟังด้วยความภูมิใจ ผลการวิจัยของรินลดาจะช่วยส่งเสริมความสำคัญของสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านของเธอ การทำนาขั้นบันไดเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานเกษตรกรรมในพื้นที่นี้ เพราะช่วยลดปริมาณดินที่ถูกชะล้างออกไป นอกจากนี้ แนวทางของหมู่บ้านในการปล่อยให้ปศุสัตว์กินหญ้าในนาข้าวแทนการเผาหญ้า ก็สามารถช่วยรักษาระบบนิเวศได้จริง ในขณะที่มูลสัตว์ช่วยเพิ่มแร่ธาตุและสารอาหารให้กับดินอีกด้วย

การบ่มเพาะความรักในวิทยาศาสตร์เริ่มต้นได้ดีที่สุดในวัยเด็ก
ตัวอย่างที่ดีคืออาจารย์นฤนาถเอง เธอได้รับแรงบันดาลใจในการเป็นครูจากความประทับใจที่เธอได้รับจากครูวิทยาศาสตร์เมื่อตอนที่เธอยังเป็นเด็ก ครูคนนั้นสนับสนุนให้เธอเรียนรู้ผ่านการตั้งคำถามและการสังเกตสิ่งรอบตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นและพาเธอก้าวสู่การเป็นครูวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบมา 27 ปีแล้ว

เธอกล่าวว่า แม้ว่าโครงการ STEM จะใช้เวลาในการวิจัยนาน แต่เด็ก ๆ ก็สนุกสนานและพร้อมเรียนรู้ไปด้วยกัน “โครงการ STEM ช่วยกระตุ้นความสนใจของเด็กอย่างเห็นได้ชัด จากนักเรียนบางคนที่ไม่ค่อยให้ความสนใจวิชาวิทยาศาสตร์หรือวิชาคณิตศาสตร์เลย แต่เมื่อเราให้พวกเขามีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับเด็กที่มีความสามารถคนอื่น ๆ เราจะเห็นว่าเด็กที่ไม่สนใจเรื่องนี้กลับมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมาก หากเด็กเหล่านี้ได้ลองประดิษฐ์บางสิ่งบางอย่าง พวกเขาจะล้ำหน้าเพื่อนเพราะพวกเขามีความคิดสร้างสรรคมากกว่าเด็กเรียนคนอื่น ๆ พวกเขาสามารถค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน”

“การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ทำให้หนูเปิดใจรับโลกวิทยาศาสตร์มากขึ้น
จากที่ไม่เคยทำมาก่อน หนูเลยได้ลองและได้เห็นสิ่งใหม่ๆ ต่างจากตอนที่เราเรียนในห้องเรียน ซึ่งหนูไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่พอมาทำโครงงานวิทยาศาสตร์ก็ทำให้ชอบวิทยาศาสตร์มากขึ้น หนูภูมิใจในตัวเองที่ทำได้มาถึงจุดนี้ เพราะกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ หนูเครียดมาก แต่หนูก็ผ่านมันมาได้ด้วยการสนับสนุนจากเพื่อน ครู และผู้ปกครองทุกคนภูมิใจกับโครงการนี้จริง ๆ” สีดาพร ปรีดิภา อายุ 15 ปี
เด็กอีกคนในกลุ่มวิจัยเดียวกล่าว

แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่การส่งเสริมการเรียนรู้ STEM ในพื้นที่ห่างไกลยังต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น การขาดแคลนครูที่ได้รับการฝึกอบรมและประสบการณ์ โดยครูนฤนาถเองก็จะเกษียณอายุในปีหน้า ส่งผลให้โรงเรียนมีครูวิทยาศาสตร์น้อยลงอีก 1 คน และยังไม่ทราบว่าครูทดแทนจะมีทักษะการสอนวิทยาศาสตร์หรือไม่

“ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการศึกษา STEM ในโรงเรียนห่างไกล
คือระดับความรู้ในการเรียนการสอน เราอาจจะมีครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ และครูคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าพวกเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหรือไม่สามารถออกแบบเนื้อหา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม การสอน STEM ก็จะพัฒนาได้ไม่เต็มที่”

กันต์กมล คุณรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำดิบ กล่าว
ครูนฤนาถหวังว่าการแบ่งปันความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ของเธออาจจะทำให้
เด็กบางคนอาจกลายเป็นครูในวันข้างหน้า แต่เป้าหมายหลักของเธอคือการช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะรักวิทยาศาสตร์และประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ไม่ว่าอนาคตของพวกเขาจะเติบโตขึ้นอย่างไร

“ครูอยากให้เด็ก ๆ ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฝึกแก้ปัญหาทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ อยากให้พวกเขาฝึกการแก้ปัญหาด้วยการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ให้พวกเขาใช้ทักษะเหล่านี้ทั้งในชีวิตตัวเองและชีวิตการทำงานไม่ว่าพวกเขาจะทำงานด้านใดก็ตาม”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า