Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลัง COVID-19 แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องส่งผลให้หลายประเทศดำเนินมาตรการหยุดการทำกิจกรรม ปิดสถานที่สาธารณะ รวมถึงแนะนำให้ประชาชนอยู่บ้าน

Workpoint Today พามาสำรวจมาตรการเยียวยาที่รัฐออกมาเพื่อประชาชนโดยเฉพาะจากการปิด-ไม่มีรายได้ของแต่ละประเทศกัน

รัฐสภาออสเตรเลียออกนโยบายเยียวยาเศรษฐกิจออกมา 189,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย คิดเป็น 10% ของจีดีพีออสเตรเลีย โดยในที่นี้แบ่ง 66 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อปกป้องคนงานและธุรกิจเล็ก ๆ โดยเฉพาะ เพื่อบรรเทาความเดีอดร้อนจากการสูญเสียรายได้

[1]อุดหนุนผู้มีรายได้น้อย-คนทำประกันสังคม-คนเกษียณอายุ 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย

กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผู้เกษียณอายุ ผู้มีประกันสังคม ทหารผ่านศึก และผู้รับรายได้อุดหนุนประเภทอื่น ๆ จะได้รับเงินอุดหนุนรอบละ 750 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 14,535 บาทไทย) ทั้งหมดสองรอบ
– รอบแรกให้ประชากร 6.5 ล้านคน ในวันที่ 31 มีนาคม 2563
– รอบที่สองจำนวน 5 ล้านคน ได้รับเงินวันที่ 13 กรกฎาคม 2563
ประชาชนไม่ต้องนำรายได้ตรงนี้เข้าคิดภาษี

[2] เพิ่มเงิน 550 ดอลลาร์ให้ คนตกงาน, ผู้ปกครองที่รับเงินเลี้ยงดูบุตร, เกษตรกร เป็นเวลา 6 เดือน

ออสเตรเลียมีเงินสวัสดิการหลายรูปแบบ เช่น เงินสำหรับคนตกงาน (JobSeeker Payment), เงินค่าเลี้ยงดูบุตร (Parenting Payment), เงินสำหรับนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่ได้งาน (Youth Allowance for jobseekers) เงินสำหรับเกษตรกร (Farm Household Allowance) ในช่วงนี้ผู้ที่ได้รับเงินเหล่านี้จะมีเงินพิเศษเพิ่มอีก 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 10,000 บาทไทย) โดยจะจ่ายทุก ๆ 2 สัปดาห์เป็นเวลา 6 เดือน เริ่มจ่ายวันที่ 27 เมษายน 2563

ปกติคนตกงานของออสเตรเลียจะได้เงินอยู่แล้ว 550 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 10,000 บาทไทย) คราวนี้เพิ่มเงินพิเศษตรงนี้เข้ามา เท่ากับว่าตกงานระหว่างเจอโคโรนาไวรัส ได้ 1,100 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ /0,000 บาทไทย)

ผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบอาชีพอิสระมีสิทธิเข้าถึงเงินพิเศษนี้ด้วยผ่านการลงทะเบียนคนตกงาน โดยต้องให้ข้อมูลด้วยว่าผลประกอบการลดลงเท่าใดหรือต้องหยุดประกอบการเพราะโคโรนาไวรัส

[3]ถอนกองทุนเกษียณของตัวเองมาใช้ก่อนโดยไม่ต้องจ่ายภาษี

ผู้ได้รับผลกระทบทางการเงินจากการระบาดของโคโรนาไวรัสจะสามารถถอนเงินจากกองทุนเกษียณอายุของตัวเองได้โดยไม่เสียภาษี แต่เป็นการถอนออกมาในปริมาณจำกัดเพียง 20,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียเท่านั้น (ประมาณ 4 แสนบาทไทย)

โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงปีงบประมาณที่ 2019-20 จะสามารถถอนออกมาได้ 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 2 แสนบาท) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 และถอนได้อีก 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ในปีงบประมาณถัดไปวันที่ 1 ตุลาคม 2563

[4] อุดหนุนค่าแรงธุรกิจ-องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรตามที่เคยหักภาษี ณ ที่จ่าย

ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 100 ล้านบาท) และองค์การไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ จะได้รับเงินคืนในจำนวนเท่ากับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่นายจ้างหักจากเงินเดือนพนักงานในบริษัท แต่ไม่เกิน 100,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 200 บาท) เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือค่าจ้างให้บริษัทจ้างพนักงานต่อไปได้โดยไม่ต้องปลด

เงินก้อนนี้จะโอนเข้าบัญชีบริษัทอัตโนมัติโดยหน่วยงานด้านภาษีของออสเตรเลียในวันที่ 28 เมษายน 2020 โดยคาดว่าจะช่วยให้คนไม่ต้องตกงานได้กว่า 7.8 ล้านคน

นอกจากคนงานประจำ รัฐบาลออสเตรเลียยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ฝึกอาชีพด้วย โดยรัฐจะช่วยบริษัทจ่ายค่าแรงผู้ฝึกอาชีพสูงถึง 50% ครอบคลุมถึงผู้ฝึกอาชีพที่ไม่ได้มีสัญชาติออสเตรเลียด้วย โดยจะจ่ายให้เป็นเวลา 9 เดือนตั้งแต่มกราคม – กันยายน

[5]ค้ำประกันให้ธุรกิจขนาดเล็ก 50%

รัฐจะเป็นผู้ค้ำประกนให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นมูลค่า 50% โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสามารุใช้สิทธิกู้ผ่านธนาคารที่ร่วมรายการ กู้ยืมได้สูงสุด 250,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 5 ล้านบาท) ในระยะเวลากำหนดชำระสูงสุด 3 ปี

ริชี่ สุนัค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศกู้เงิน 330,000 ล้านปอนด์ เพื่อนำมาเยียวยาผู้ขาดรายได้-ธุรกิจรายย่อยโดยเฉพาะ

[1] จ่ายเงินเดือนแทนนายจ้าง 80% สำหรับคนตกงาน-ขาดรายได้ทั้งเดือน

หากถูกปลดออกจากงาน หรือให้ลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง (Leave without pay) ทั้งเดือน รัฐจะจ่ายเงินเดือนแทนนายจ้าง 80% ของเงินเดือนที่เคยได้ แต่ไม่เกิน 2,500 ปอนด์ เป็นเวลา 3 เดือน

โดยนายริชี่ สุนัค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงวันที่ 20 มีนาคม 2563 ว่าออกมาตรการให้ลูกจ้างได้สิทธิลาโดยไม่ได้เงินเดือนจากนายจ้างเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกไล่ออก โดยลูกจ้างสามารถรับเงินเดือนในเดือนที่ลาจากรัฐบาลแทน โดยจะให้เป็นเวลา 3 เดือน

[2] ชดเชยรายได้ให้คนที่ชั่วโมงทำงานน้อยลง

สำหรับคนที่ถูกตัดชั่วโมงทำงานจนได้เงินน้อยลง แต่ไม่ถูกยกเลิกเงินเดือนเลยทีเดียว รัฐจะจ่ายเงินเติมให้วันที่ขาดไป ไม่เกิน 5 วัน เป็นจำนวนเงินตามจริงที่ได้ในแต่ละวัน แต่ไม่เกินวันละ 29 ปอนด์ (1,120 บาทไทย) ข้อนี้ครอบคลุมพนักงานพาร์ทไทม์ด้วย

[3] ให้รายได้ลูกจ้าง – ผู้ประกอบอาชีอิสระที่ต้องกักตัว 14 วันหรือป่วยเป็น COVID-19

สำหรับลูกจ้าง หากนายจ้างมีสวัสดิการลาป่วยดีกว่าที่รัฐให้อยู่แล้วก็ให้รับสวัสดิการของนายจ้าง แต่หากนายจ้างให้สวัสดิการต่ำกว่ารัฐ ก็รับเพิ่มจากรัฐ โดยต้องเข้าระบบเงินให้สำหรับผู้ป่วย (statutory sick pay) ซึ่งจะได้เงินสัปดาห์ละ 94.25 ปอนด์หรือประมาณ 3,648 บาท ได้ติดต่อกันสูงสุด 28 สัปดาห์

ปกติแล้วผู้รับเงินสำหรับผู้ป่วยจะสามารถขอรับเงินได้วันที่ 4 นับจากวันที่ป่วยเป็นต้นไป แต่มีการแก้ไขให้รับได้ตั้งแต่วันแรกหากเป็นกรณีของ COVID-19

ส่วนผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ต้องขาดรายได้เพราะต้องอยู่บ้านกักตัว หรือป่วยจาก COVID-19 สามารถลงทะเบียบรับเบี้ยยังชีพพื้นฐาน (Universal Credit Pay) ปกติเป็นเงินให้ผู้มีรายได้ต่ำ แต่ในวิกฤตินี้โดยรัฐบาลเอาเงื่อนไขด้านรายได้ออก และเพิ่มจำนวนเงินพื้นฐานที่จะได้ในแต่ละเดือนเป็นเวลา 12 เดือน รวมแล้วคิดเป็นจำนวนเงิน 1,000 ปอนด์ หรือประมาณ 38,682 บาทต่อปี

[5] พักการจ่ายหนี้จำนอง
รัฐมนตรีการคลังประกาศให้มีการพักภาระการจ่ายหนี้จำนองเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อให้เวลาคนที่ไม่ได้ทำงานได้หายใจหายคอ ผู้รับจำนองจะต้องไม่คิดค่าธรรมเนียมในช่วงนี้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายจากการที่ผู้ให้ยืมสูญเสียดอกผลที่อาจเกิดหากมีการชำระเงินตามกำหนด โดยผู้รับจำนองจะต้องแจ้งผู้จำนองก่อนว่าเป็นเงินเท่าไหร่ ก่อนที่ผู้จำนองจะตัดสินใจพักการชำระหนี้จำนอง

[6] ช่วยค่าที่อยู่อาศัย 30%
สำหรับคนที่ได้สิทธิ Universal Credit อยู่แล้วจะได้สิทธิรับเงินช่วยเหลือด้านค่าเช่าที่อยู่อาศัย ( housing allowance ) โดยช่วยจ่ายค่าเช่า 30% ของราคาค่าเช่าในท้องถิ่นนั้น สำหรับคนที่เพิ่งตกงานหรือขาดรายได้สามารถสมัครรับสิทธิได้ทันที

นอกจากนี้ยังมีการประกาศห้ามฟ้องขับไล่ผู้เช่าในช่วงนี้เป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้คนต้องขาดที่อยู่อาศัย หรือบริษัทห้างร้านที่ค้าขายไม่ได้กำไรต้องรับภาระค่าเช่า โดยผู้ให้เช่าที่ขาดรายได้จะสามารถใช้สิทธิพักชำระหนี้จำนองที่รัฐออกมารองรับได้

[7] ปล่อยเงินกู้ให้ภาคธุรกิจไม่คิดดอกเบี้ยได้มากสุด 5 ล้านปอนด์ กำหนดชำระ 12 เดือน
ปกติเงินกู้ดอกเบี้ย 0% สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมีระยะเวลาการชำระหนี้เพียง 6 เดือน แต่ในวิกฤตกาลนี้รัฐบาลอังกฤษยืดเวลาออกไปให้เป็น 12 เดือน และสามารถกู้ยืมได้มากสุดถึง 5 ล้านปอนด์ (ประมาI 200 ล้านบาท) และรัฐบาลประกาศว่าจะมีมาตรการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายขึ้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงเมื่อวันที่ 24 มี.ค. เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ว่าถึงวันนี้สถานการณ์ไปสู่จุดที่กระทรวงการคลัง ต้องมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชน ดังนี้

1.เพิ่มสภาพคล่องให้กลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม
-ให้เงินเดือนละ 5,000 บาท/เดือน เป็นเวลา 3 เดือน โดยให้ประมาณ 3 ล้านคน ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบำนาญ และไม่รวมเกษตรกร (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่)

ส่วนผู้ประกันตนตามประกันสังคมจะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้าง (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ และที่นี่ )

2. ลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา 3% ทุกบ้าน โดยมีการขยายเวลาชำระค่าน้ำและไฟฟ้า ตลอดจนมีการคืนเงินประกันการใช้น้ำและไฟฟ้า (อ่านรายละเอียดได้ที่นี่)

3.ฝึกอบรมมีเงินใช้ รวมทั้งนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้

นายสมคิดยังกล่าวว่ารัฐบาลจะมีมาตรการปล่อยสินเชื่อและการรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ ได้แก่

-มีสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน
-สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แต่ต้องมีหลักประกัน
-โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย อัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน

นอกจากนี้ยังมีมาตรการภาษีสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

-ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ส.ค. 2563
-เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ โดยเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท
-ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรการแพทย์

ส่วนของผู้ประกอบการ
-ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
-ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ
-ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ
-ยืดภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำมัน
-ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

และสินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย3% 2 ปีแรก สำหรับ ธุรกิจทัวร์ ธุรกิจสปา ธุรกิจขนส่งที่เกี่ยวเนื่อง (รถทัวร์ รถบัส รถตู้ รถแท็กซี่ เรือนำเที่ยว รถเช่า) บริษัทนำเที่ยว โรงแรม ห้องพัก และร้านอาหาร

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท วงเงินต่อรายไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 สำหรับ 2 ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 5 ปี รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีมาตรการดังนี้

[1] เงินอุดหนุน 100-300 ดอลลาร์สิงคโปร์ ให้ชาวสิงคโปร์ทุกคนที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป
เงินที่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้ หากมีรายได้ 0-28,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จะได้เงิสนับสนุน 300 ดอลลาร์ รายได้ 28,001-100,000 ดอลลาร์ะได้เงินสนับสนุน 200$ ส่วนคนที่มีรายได้ 100,000 ขึ้นไปจะได้เงินสับสนุนเพียง 100 ดอลลาร์ เงินสนับสนุนนี้จ่ายเพียงครั้งเดียว

[2] คนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 21 ปีจะได้เงินเพิ่มอีก 100 ดอลลาร์

[3]ช่วยค่าน้ำค่าไฟ
ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่ของประเทศจะอยู่ในโครงการบ้านของรัฐ คนส่วนนี้จะได้รับการช่วยค่าน้ำค่าไฟผ่านระบบคูปอง GST ตามขนาดของที่อยู่อาศัย เช่น แฟลตขนาด 1-2 ห้องจะได้เงินช่วยเหลือสูงสุด 800-1000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่แฟลตขนาด 5 ห้องจะได้เงินช่วยเหลือ 560-700 ดอลลาร์สิงคโปร์

[4] อายุมากกว่า 50 ปี ได้เบี้ยเพิ่ม 100 ดอลลาร์

ชาวสิงคโปร์อายุมากกว่า 50 ปีจะถือบัตร passion card ที่ใช้จ่ายค่าอาหร ค่าทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้สูงวัย ในสถานการณ์นี้รัฐบาลสิงคโปร์มอบเงินเพิ่มให้ 100 ดอลลาร์

[5] ให้เงินอุดหนุน-คูปองซื้ออาหารเพิ่ม 100 ดอลลาร์ผู้มีรายได้น้อย

รัฐบาลจะช่วยเหลือครอบครัวผู้มีรายได้น้อยที่อยู่ในแฟลตของรัฐขนาด 1-2 ห้องให้ซื้ออาหารได้ผ่านคูปองซื้ออาหารเพิ่มอีก 100 ดอลลาร์ในปี 2020 และ 2021 โดยคูปองนี้จะใช้ได้กับซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่อย่าง NTUC FairPrice Giant และ Sheng Siong

นอกจากนี้ผู้มีรายได้น้อยที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะได้เบี้ยอุดหนุนเพิ่มอีก 20% ของเบี้ยที่ได้รับในปีที่แล้วเป็นเงินสด

รัฐบาลนิวซีแลนด์มีมติออกมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับเหตุการณ์ COVID-19 โดยบางส่วนมุ่งช่วยเหลือผู้ขาดรายได้โดยเฉพาะ เช่น

[1] ชดเชยค่าแรงงานให้ลูกจ้าง/คนขาดรายได้จากการกักตัว 14 วัน / คนหยุดงานดูแลญาติที่ป่วย COVID-19

หากนายจ้างไม่สามารถจ่ายค่าแรงได้เนื่องจากพิษเศรษฐกิจ รัฐจะอุดหนุนค่าแรงให้ โดยพนักงานเต็มเวลาจะได้รับเงิน 585 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (19,206 บาทไทย) ต่อสัปดาห์ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน ส่วนพนักงานพาร์ทไทม์จะได้รับ 350 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ต่อสัปดาห์ (11,491 บาทไทย) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ รวมแล้วนายจ้างจะได้เงินค่าแรงให้ลูกจ้างเต็มเวลา 7,029.60 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (230,676 บาทไทย) และลูกจ้างพาร์ทไทม์ 4,200 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (137,823 บาทไทย)

เงินจำนวนเดียวกันนี้ใช้เพื่อจ่ายให้พนักงานและอาชีพอิสระที่ขาดรายได้เพราะต้องกักตัว 14 วัน หรือต้องขาดรายได้จากการดูแลญาติที่ป่วยจากโควิด-19 ด้วย

[2] ให้เงินอุดหนุนครอบครัวผู้มีรายได้ต่ำ และคนพึ่งพิงสวัสดิการสังคม
ปกติครอบครัวผู้มีรายได้ต่ำและผู้ใช้สวัสดิการสังคมประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้พิการ คนชราได้รับเงินจากรัฐอยู่แล้ว แต่ในสถานการณ์วิกฤตินี้จะได้รับเพิ่มอีก 25 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ต่อสัปดาห์ (ประมาณ 800 บาท)

[3]ลดภาษี

เพิ่มรายได้ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษีจาก 2,500 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ เป็น 5,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ เริ่มใช้กับการจ่ายภาษีปี 2020/2021 เพิ่มให้ธุรกิจหักค่าใช้จ่ายในการคิดภาษีได้ 500-1,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และจะเพิ่มเป็น 5,000 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ในปี 2020/2021 เพื่อให้นายจ้างมีเงินจ่ายเงินเดือนให้พนักงาน

นอกจากนี้เว็บไซต์รัฐบาลนิวซีแลนด์ระบุว่าหากมีข้อจำเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายด้านอาหาร,ที่อยู่อาศัย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ สามารถติดต่อเข้ามาทางสายด่วนของรัฐบาลได้ทันที โดยจะใช้ช่องทางให้ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่มีในสถานการณ์ปกติอยู่แล้วช่วยเหลือ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า