SHARE

คัดลอกแล้ว

การบริหารจัดการมรดก ไม่ใช่เป็นแค่การโอนย้ายทรัพย์สินให้กับลูกหลานเท่านั้น แต่ยังมีภาษีมรดกที่ต้องวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับลูกหลานที่ได้รับผลประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งกฎหมาย ข้อกำหนดต่างๆ ที่มีผลบังคับใช้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้การบริหารจัดการมรดกมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

บริการเดอะวิสดอมกสิกรไทย จึงได้จัดงานสัมมนาพิเศษ “THE WISDOM Wealth Decoded Talk” เพื่อเจาะลึกถึงแนวทางและกลยุทธ์การบริหารจัดการมรดก โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ภาษี” กับทรัพย์สินต่างๆ ที่เตรียมส่งต่อให้กับทายาทผู้ได้รับผลประโยชน์

strategies-to-lower-your-tax-bill

โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและบริหารจัดการมรดกและภาษี 2 ท่าน คือ ‘อ.ชินภัทร วิสุทธิแพทย์’ Partner: One Law Office และ ‘คุณอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง’ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)

TODAY Bizview มีโอกาสได้ร่วมรับฟังข้อมูลเจาะลึกที่เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนส่งต่อความมั่งคั่ง ด้วยการบริหารจัดการภาษี ควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ ใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญ คือ เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์

กฎใหม่ มีรายได้จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษี

เท้าความตั้งแต่เรื่องภาษีที่ต้องรู้ฉบับปี 2567 (2024) เมื่อกรมสรรพากรออกนโยบายภาษีใหม่ โดยระบุให้คนที่มีรายได้จากต่างประเทศ หากต้องการนำเงินได้ที่อยู่ต่างประเทศเข้ามาในไทย จะต้องเสียภาษี 15%

นอกจากนี้ ยังมีข้อตกลงแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินระหว่างประเทศ – CRS ตรวจสอบภาษีข้ามพรมแดน

อาจารย์ชินภัทร กล่าวว่า ประเทศไทยได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-Operation and Development: OECD) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีข้ามพรมแดน โดยมีสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดกรอบการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติของ OECD ที่เรียกว่า Common Reporting Standard (CRS) กับประเทศคู่สัญญาตามความตกลงระหว่างประเทศ 

“กรมสรรพากรในแต่ละประเทศสมาชิกคู่สัญญากว่า 150 ประเทศจะมีการส่งข้อมูลทางการเงินของผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศไทย (Thai Tax Resident) ให้กับประเทศคู่สัญญา ขณะเดียวกัน คนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ กรมสรรพากรของประเทศนั้นๆ ก็จะส่งข้อมูลทางการเงินอัตโนมัติกลับมาให้ประเทศไทย เช่น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มี “ถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย” มีการออกไปลงทุนหรือตั้งบริษัทในต่างประเทศ และไม่ได้มีการนำรายได้กลับเข้ามาในประเทศ กลุ่มนี้อาจจะได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องวางแผนภาษีรองรับเกณฑ์ดังกล่าวด้วย”

ยกตัวอย่างสิงคโปร์ ที่มีกฎหมายส่งเสริมให้จัดตั้ง Singapore Variable Capital Company (VCC) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ออกแบบเพื่อใช้ในธุรกิจการจัดการ Wealth ในสิงคโปร์ ซึ่ง VCC ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ CRS ในการรายงานข้อมูลทางการเงินของนักลงทุนต่างชาติให้กับหน่วยงานภาษีของสิงคโปร์  และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาษีของประเทศต่างๆ

strategies-to-lower-your-tax-bill

4 กลยุทธ์ ‘Exit Strategy’ วางแผนภาษีมรดก ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคง

อาจารย์ชินภัทร ให้คำแนะนำว่า การวางแผนภาษีมรดก เป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินและการสืบทอดทรัพย์สิน เจ้าของทรัพย์สินและผู้ได้รับมรดกสามารถวางแผนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทรัพย์สินมรดก แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน อาคาร  2) หุ้นหรือหลักทรัพย์ รวมทั้งสินทรัพย์ดิจิทัล 3) เงินฝากในสถาบันการเงิน  และ 4) ยานพาหนะที่จดทะเบียน

ส่วนสินทรัพย์ที่ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดกมีอยู่หลายประเภท เช่น เงินค่าสินไหมทดแทนจากการทำประกันชีวิต ทองคำแท่ง ธนบัตร เครื่องเพชร ของสะสมต่างๆ เช่น ภาพเขียน นาฬิกา

“การบริหารจัดการภาษีมรดกพร้อมส่งต่อความมั่งคั่ง สามารถทำได้ใน 4 รูปแบบ ซึ่งสามารถผสมผสานควบคู่กับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อให้แผนตอบโจทย์ความต้องการ และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับประโยชน์ ได้แก่ 1) บริษัทโฮลดิ้ง 2) ประกันชีวิต 3) พินัยกรรม และ 4) ธรรมนูญครอบครัว

1. บริษัทโฮลดิ้ง

การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง (Holding) เป็นรูปแบบที่นิยมสำหรับธุรกิจครอบครัว ด้วยการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อถือหุ้นบริษัทในเครือ หรือถือครองทรัพย์สิน โดยมีรายได้คือเงินปันผลจากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ไม่ได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจเป็นการลงทุนทั้งบริษัทในไทยและต่างประเทศก็ได้ โดยรายได้จะอยู่ในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะเป็นส่วนที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทโฮลดิ้ง มีหลายประเภท เช่น Family Holding, Property Holding, Investment Holding, Offshore Holding หรือ IPO Holding ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม บริษัทโฮลดิ้งนั้น ‘ตั้งง่าย แต่ใช้ยาก’ โดยต้องทำความเข้าใจภาษีแต่ละตัวให้ดี เปรียบเทียบความคุ้มค่าก่อนตัดสินใจวางแผนภาษี รวมถึงศึกษาข้อยกเว้นของรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีด้วย

strategies-to-lower-your-tax-bill

2. ประกันชีวิต เครื่องมือส่งต่อมรดก

คุณอุมาพันธุ์ กล่าวต่อถึงการส่งต่อความมั่งคั่งรูปแบบที่ 2 คือ การทำประกันชีวิต

ประกันชีวิต นอกจากจะเป็นเครื่องมือป้องกัน (Protection) แล้ว ยังเป็นเครื่องมือสืบทอดมรดก (Succession) โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่ต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ ซึ่งสินไหมมรณกรรมที่ได้จากประกันชีวิตจะได้รับยกเว้นภาษี นอกจากนี้ผู้รับประโยชน์ยังได้รับเงินอย่างรวดเร็วเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต เพราะเงินประกันไม่ถูกรวมเข้ากับกองมรดก จึงสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับมรดกได้เลยโดยไม่ต้องรอการจัดการมรดก

นอกจากนี้ คุณอุมาพันธ์ ได้ให้คำแนะในการใช้ประกันชีวิตเพื่อบริหารจัดการภาษี ซึ่งสามารถทำได้ 4 รูปแบบ คือ

1) การส่งต่อทรัพย์สินส่วนเกินที่ต้องเสียภาษี คือ การแบ่งเงินก้อนส่วนที่ต้องเสียภาษีมาอยู่ในรูปกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่วนที่ไม่เกิน สามารถนำลงทุนอย่างอื่นได้ อาทิ การใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีสูงสุด เช่น มีทรัพย์สิน 200 ล้านบาท ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี 5% สำหรับทรัพย์มรดก 100 ล้านบาท และอีก 100 ล้านบาท ให้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยมีทุนประกัน 100 ล้านบาท ถือว่าได้ให้มรดกกับผู้รับประโยชน์ 100 ล้านบาทแล้ว เพราะสินไหมจากการทำประกันไม่จัดเป็นทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกมีไว้ก่อนตาย จึงไม่ต้องนำไปรวมกับมรดก และไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก

2) การทำทุนประกันชีวิตเพื่อชำระภาษีมรดก ภาษีที่ดินในอนาคต ซึ่งเหมาะกับคนที่มีที่ดินเยอะๆ

3) การแบ่งมรดกเท่าเทียม คือ สร้างมรดกให้ทายาทคนที่ไม่ได้รับกิจการ โดยใช้ประกันสร้างมรดกชดเชยให้คนที่ได้สัดส่วนน้อยหรือไม่ได้สิทธิเป็นเจ้าของ

4) สร้างมรดกก้อนใหญ่ ใช้เงินน้อย คือ การใช้ประกันสร้างมรดกให้บุตรหลานแต่ละคนเท่ากัน ด้วยการจ่ายค่าเบี้ยประกันซึ่งมีวงเงินไม่สูง และเก็บเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้จ่ายในชีวิต

สำหรับแบบประกันที่จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนส่งมอบมรดก ตามรูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น เดอะวิสดอม กสิกรไทย ขอแนะนำ ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่* ที่จะช่วยส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่น…สู่รุ่น อย่างไม่สะดุด ช่วยให้วางใจได้ว่า สามารถส่งมอบหลักประกันครอบครัวสู่คนที่รักอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพูนความมั่งคั่ง และคลายกังวลเรื่องภาษีมรดกที่อาจเกิดขึ้น ตอบโจทย์เรื่องการส่งต่อมรดกได้เป็นอย่างดี เพราะทุนประกันสูง เริ่มต้นตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และสามารถทำทุนประกันได้สูงสุดถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ

  • ให้ความคุ้มครองชีวิตสูง คุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์อนุมัติ ยาวนานถึงอายุ 99 ปี
  • จ่ายเบี้ยสั้นหรือยาว เลือกเองได้ เลือกชำระเบี้ยครั้งเดียว , 5 ปี , 10 ปี หรือ จ่ายถึงครบอายุ 99 ปี
  • ส่งมอบหลักประกันให้ครอบครัว ได้ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ
  • ช่วยบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินไหมมรณกรรมไม่ถือเป็นมรดก ไม่มีภาระทางภาษี
  • ค่าเบี้ยลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด

3. การทำพินัยกรรม

อาจารย์ชินภัทร กล่าวว่า การทำพินัยกรรม เพื่อจัดสรรปันส่วนทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากและต้องทำอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น “บุคคล” ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรรมในการรับมรดก และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมเมื่อเวลาผ่านไป

ตามกฎหมายมรดกของประเทศไทยพินัยกรรมมีอยู่ 5 แบบ คือ  1) พินัยกรรมแบบธรรมดา  2) พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ 3) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง และ 4) พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ 5) พินัยกรรมทำด้วยวาจา (แต่ไม่สามารถใช้ได้ในความเป็นจริงเพราะไม่มีสงคราม) ซึ่งการทำพินัยกรรมจะมีภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือภาษีการรับมรดก

4. ธรรมนูญครอบครัว

“การจัดทำธรรมนูญครอบครัว ควรต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำเพื่ออะไร และทำเพื่อใคร” อ.ชินภัทร ให้คำแนะนำเบื้องต้น

“ธรรมนูญครอบครัว เป็นการบริหารทรัพย์สินของกงสี ซึ่งเป็นเอกสารของครอบครัวที่ต้องวางหลักการ กฎ กติกา ของสมาชิกในครอบครัวให้ชัดเจน โดยธรรมนูญครอบครัวจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ต้อง “เชื่อมโยง” กฎหมาย และ “สัมพันธ์” ภาษีให้ใช้งานได้จริง และสามารถกำหนดกระบวนการจัดการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความขัดแย้งภายในครอบครัว และส่งผลทำให้ธุรกิจของครอบครัวเติบโตได้อย่างมั่นคง”

ทั้ง 4 กลุยทธ์นี้จึงเป็น Exit Plan ของการวางแผนบริหารจัดการมรดกและภาษีมรดกให้ได้ประโยชน์สูงสุดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อส่งต่อความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลังต่อไป

คำเตือน*

– ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

– เป็นกรณีกรมธรรม์ไม่ได้ระบุผู้รับประโยชน์หรือระบุไว้แต่เสียชีวิตก่อนหรือพร้อมกับผู้เอาประกันภัย ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะตกแก่กองมรดกของผู้เอาประกันภัย

#THEWISDOM #WealthDecoded #KBANKTHEWISDOM

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า