SHARE

คัดลอกแล้ว

โรคระบาดโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของธุรกิจทุกแขนง อีกทั้งโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอนก็ยังไม่คลี่คลาย แม้จะมีสัญญาณดีจากการคลายล็อคมาตรการต่างๆ รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุม แต่ความกังวลก็อาจฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวช้า

บริษัท เอสที เทเลมีเดีย โกลบอล ดาต้าเซ็นเตอร์ (ประเทศไทย) หรือ STT GDC Thailand นำโดย ศุภรัฒศ์ ศิวะเพ็ชรานาถ สิงหรา ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ออกมาเปิดเผยวิสัยทัศน์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทย 

โดยชี้ว่าปัญหาสามารถเริ่มแก้ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มาส่งเสริมสามเครื่องจักรเศณษฐกิจหลักของไทยอย่างการท่องเที่ยว, เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการผลิต

 

1. การท่องเที่ยว

เริ่มจากการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างงาน Expo 2020 Dubai งานนิทรรศการโลกที่ดูไบ (1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565) ที่แม้จัดท่ามกลางโควิด-19 แต่ก็สามารถดึงดูดผู้ที่สนใจและนักท่องเที่ยวเข้าไปดูงานนิทรรศการเกือบ 8 ล้านราย สร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล 

ซึ่งเมื่อย้อนมองประเทศไทย มีข้อได้เปรียบหลายอย่างทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม 

โครงการ Phuket Sandbox ก็ได้ขยายไปถึง 4 จังหวัดแล้ว คือ ภูเก็ต, พังงา กระบี่ และสุราษฎร์ธานี 

นายศุภรัฒศ์แนะนำต่อว่า เพื่อให้การท่องเที่ยวเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้วิธีคัดกรองนักท่องเที่ยวที่เป็น High Spender เข้ามาในประเทศโดยกำหนด Minimum Spending ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรพิจารณา

และด้วยข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ก็ควรนำเทคโนโลยีทันสมัยอย่างบล็อกเชนมาปรับใช้ รวมถึง 5G และคริปโตก็เช่นกัน เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ 

2. เกษตรกรรม

ภูมิประเทศของไทยเอื้อและทำให้เราเป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นยอด เรามีวัตถุดิบชั้นดีมากมายอยู่ในมืออยู่แล้ว อาหารไทยมีเอกลักษณ์และมีรสชาติถูกปากคนทั่วโลก 

แต่เกษตรกรยังไม่หลุดพ้นจากความยากจน 

การทำเทคโนโลยีมาช่วยภาคการเกษตรนอกจากประโยชน์เรื่องเสริมศักยภาพแล้ว ไทยควรเน้นการสร้าง Story และพัฒนา Soft Power ของประเทศในด้านนี้ไปควบคู่กัน ซึ่งต้องอาศัยความเชื่อมั่นและศรัทธาในชาติของตัวเองค่อนข้างสูง 

แนวทางการสร้างร้านมิชลินสตาร์ของคนไทยช่วยเพิ่มมูลค่าอาหารไทยให้ทัดเทียมเมนูขึ้นชื่อของนานาชาติ ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจและควรนำมาพิจารณา 

“หากเราสามารถเปลี่ยนข้าวกระเพราเป็นจานล่ะสามพันบาท และเจาะกลุ่มลูกค้า High-End ได้ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นและฟื้นคืนเศรษฐกิจในระยะยาวได้”

3. อุตสาหกรรมการผลิต

ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญของภูมิภาค เรามีบริษัทชั้นนำมากมายเลือกมาลงทุน มีการสร้างโรงงานการผลิตหรือโกดังจัดเก็บสินค้าในรูปแบบ Physical จำนวนมาก ซึ่งเป็นแนวโน้มที่เติบโตควบคู่ไปกับตลาด E-Commerce และ Logistic 

นอกจากสินค้าที่เป็นตัวผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้แล้ว ยังมี Digital Products/Assets หรือ Online Transaction ที่เกิดขึ้นอย่างมหาศาล 

ดังนั้นภาคการผลิตในยุคปัจจุบันจึงต้องการ Digital/Virtual Warehouse หรือดาต้าเซนเตอร์ รองรับการเติบโตตามกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งระบบนิเวศดิจิทัลของไทย เราจะได้รับเม็ดเงินลงทุนเพิ่มขึ้น กระตุ้นการจ้างงานเพิ่ม ที่สำคัญข้อมูลของคนไทยอยู่ในประเทศไทยด้วย

สามอุตสาหกรรมข้างต้นเป็นเสาหลักให้กับการเติบโตของประเทศ หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งในด้านการลงทุน การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ จะทำให้เกิดแรงผลักดันที่ส่งผลต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนการเติบโตและการแข่งขันของประเทศในวงกว้าง 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า