Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณี การประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. โดยมีการหารือเรื่องแผนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในภาวะโควิดระบาด โดยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอนุบาล-ม.3 และกลุ่ม ม.4-ม.6
.
โดยกลุ่มแรกให้เรียนผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม โทรศัพท์ และเว็บไซต์ (50 นาที) แล้วเปิดให้ถามตอบระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง (10 นาที) และกลุ่มที่ 2 เรียนผ่านระบบ VTR (Videotape Recorder) จากครูต้นแบบ (30 นาที) หรือการฟังบรรยายจากระบบบันทึกภาพและเสียง จากนั้นก็ให้ครูประจำวิชาเปิดให้นักเรียนถามตอบ (20 นาที) ผ่านระบบ Video Conference

ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน 

วันที่ 23 เม.ย. ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวยังคงมีอุปสรรคจากเรื่อง สัญญาณอินเตอร์เน็ตและเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ไม่เสถียร สัญญาณไม่มีในพื้นที่ชนบทห่างไกล อุปกรณ์การสื่อสารของครูและนักเรียนเชื่อมต่อกันไม่ดี ทำให้ขาดคุณภาพในการสื่อสาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสนใจ และความตั้งใจของนักเรียน โดยเฉพาะระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 3
.
และการที่สาระวิชาที่สอนเหมือนกันหมดทั้งประเทศ เสมือนนักเรียน (กลุ่มเป้าหมาย) มีความพร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์กันทั้งประเทศ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพบว่า นักเรียนทั้งประเทศมีความพร้อมและพื้นฐานความรู้แตกต่างกันอย่างมาก ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่การสอนเหมือนกัน ในสาระวิชาเดียวกันทั้งประเทศ
.
นักเรียนในกลุ่มที่มีความพร้อมต่ำจะถูกปล่อยทิ้งไป ซึ่งก็จะไปสร้างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ขยายวงปัญหากว้างขึ้นไปอีก
.
ดร.กนก ระบุว่า การเรียนการสอนออนไลน์เป็นการก้าวเข้าสู่ระบบของการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ไม่ใช่แค่การเรียนการสอนทดแทนชั่วคราว ในช่วงเวลาที่ไวรัสเข้ามาแพร่ระบาดเท่านั้น ดังนั้น จึงเสนอข้อแนะนำ 4 ประเด็นต่อแนวทางการสอนออนไลน์ของ สพฐ. คือ
.
1) กระทรวงศึกษาธิการจะต้องลงทุนสร้างระบบเทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อรองรับการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีเสถียรภาพ และสามารถรองรับจำนวนนักเรียนหลักล้านคน หรือมากกว่านั้นได้พร้อมกัน
.
2) การสอนออนไลน์ไม่ใช่การเปิดโทรทัศน์ หรือเปิด VTR ให้นักเรียนดูพร้อมกัน แต่ต้องเป็นการสอนของครูผ่านเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่สำคัญต้องเป็นการสอนรายชั้นเรียน ไม่ใช่เหมารวมสอนพร้อมกันทั้งประเทศ ดังนั้น วิธีการสอนของครูจึงเป็นสิ่งที่ต้องพิถีพิถันและเนื้อหาในสาระวิชาต้องเหมาะสมต่อเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนทั้งหมด ไม่ว่าจะในเรื่องของความจำเป็นในการเรียนรู้ และระยะเวลาในการเรียนการสอน
.
3) สาระวิชาที่สำคัญนั้น ครูควรสรุปเนื้อหานั้นออกมาเป็นภาพ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของนักเรียน กระบวนการสอนที่มีภาพประกอบเข้ามาช่วย จะทำให้นักเรียนติดตามประเด็นความคิด และการเคลื่อนที่ของประเด็นความคิดนั้นได้อย่างชัดเจน และง่ายต่อการทำความเข้าใจ การใช้ภาษาพูดอธิบายเพียงอย่างเดียวมีข้อจำกัดมากต่อการสื่อสารในเรื่องที่สลับซับซ้อน
.
4) การเรียนการสอนออนไลน์ต้องให้การบ้านที่นักเรียนสามารถสร้างการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล และประยุกต์หลักการเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้ ตรงนี้ต้องเป็นหน้าที่ของครูในการออกแบบการบ้านให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ที่สำคัญ Google ต้องไม่มีคำตอบของคำถามในการบ้านเหล่านั้น

ด้านนายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่พบปะประชาชน ผู้ปกครองฝากข้อร้องเรียนไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ว่าจากเดิมที่กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดให้สถานศึกษาเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง ปีการศึกษา 2563 เป็นวันที่ 1 ก.ค.
.
ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ายังไม่มีความพร้อมและกังวลว่าการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่บรรเทาลงจะกระทบกับสุขภาพพลานามัยของเด็กนักเรียน จึงอยากให้พิจารณาในการเลื่อนการเปิดการเรียนออกไปเป็นวันที 1 ส.ค. เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆ จะปลอดภัย โดยจะให้เรียนทุกวันก็ได้ ทางผู้ปกครองไม่ขัด เพื่อให้เด็กจะได้เรียนได้ตามหลักสูตรได้ครบถ้วน
.
ส่วนกรณีการเรียนออนไลน์นั้นคงจะลำบากเพราะหลายครอบครัวไม่มีความพร้อม ไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา รวมทั้งระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยยังไม่รองรับการเรียนออนไลน์ ดังนั้นเมื่อรัฐไม่มีความพร้อมก็ไม่ควรเปิดให้เรียนออนไลน์ จะให้เรียนผ่านมือถือคงยากสำหรับเด็กบางช่วงอายุ เพราะธรรมชาติเยาวชนจะไม่อยู่นิ่งดังนั้นนโยบายเรียนออนไลน์ยังไม่ตอบโจทย์สังคมไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า