SHARE

คัดลอกแล้ว

อ.เจษฎา เปิดประกาศจุฬาฯ นิสิตใส่ชุดสุภาพเข้าสอบได้ หลังมีกรณีนิสิตออกมาแชร์กรรมการคุมสอบไม่แม่นกฎ ทำให้สอบล่าช้า

จากกรณีมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า Apisit Chavanon แชร์เรื่องราว “ใส่ชุดไปรเวทไปสอบ” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่วิชาที่ 3 ผู้คุมสอบไม่ยอมให้สอบ ทำให้ล่าช้าไป 40 นาที โดยเล่าว่า วิชาแรกที่เข้าสอบไม่มีปัญหาอะไร วิชาที่ 2 มีการเซ็นใบบันทึกพฤติกรรมตามปกติ แต่วิชาที่ 3 มีปัญหาตั้งแต่เปิดประตูเข้าไป กรรมการคุมสอบยืนกรานว่า ไม่สามารถเข้าสอบได้ พร้อมซักถามที่มาที่ไปว่าทำไมใส่ชุดไปรเวทมา เกิดเป็นบทสนทนาแปลกๆ แบบนี้

ถาม : ทำไมใส่เสื้อตัวนี้มา

ตอบ  : มีเสื้อนิสิตแค่ตัวเดียวครับ ที่คณะไม่ต้องใส่เรียนเลยไม่อยากซื้อเยอะ เปลืองเงิน

ถาม : แล้วเสื้อตัวนี้ที่คุณใส่มันไม่แพงกว่าเสื้อนิสิตหรอ

ตอบ : 250 บาทครับ จตุจักร

ถาม : ถ้าคุณไม่ใส่ชุดนิสิต ผมจะ identify ยังไงว่าคุณเป็นนิสิตมหาลัยนี้

ผู้โพสต์ ระบุว่า มีการชูบัตรนิสิตแสดงให้กรรมการคุมสอบได้ดู “และสุดท้ายจบที่เซ็นใบบันทึกพฤติกรรม และเข้าสอบได้ตามที่เราอ้างสิทธิ์นั่นแหละ แต่อาจารย์แค่ไม่ยอมเชื่อตั้งแต่แรก ดูออกเลยว่า คณะวิทยาศาสตร์ไม่รู้ระเบียบการคุมสอบตั้งแต่กรรมการ อาจารย์ ยันเจ้าหน้าที่คณะ ตอนแรกได้ยินว่าจะหายืมเสื้อนิสิตมาให้ใส่ด้วยซ้ำ กว่าจะได้สอบคือเลทไปแล้ว 40 นาที ไม่อยากถามหรอกว่าใครกันแน่ที่บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเอง”

ส่วนวิชาการที่ 4 ผู้โพสต์ บอกว่า มีการเซ็นใบบันทึกพฤติกรรมตามปกติ และพบว่า มีเพื่อนนิสิตใส่ชุดไปรเวทไปสอบจำนวนมาก

https://www.facebook.com/apisit.chav/posts/pfbid02AKS7j6w8j5RdNnXPdU3M2sZFnNy2xJQBNWwvsGcwHEghPfqVxqbEnaeVpX3521rkl

ต่อมา รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้โพสต์ผ่าน เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นว่า “เป็นอีกเรื่องที่อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของจุฬาฯ เรา ต้องปรับตัวให้ทันเหมือนกันครับ ด้วยประกาศจุฬาฯ ฉบับใหม่ ปี พ.ศ. 2564 เรื่อง “ข้อปฏิบัติในการสอบของนิสิต” ได้ระบุให้นิสิตสามารถเข้าสอบด้วยชุดเครื่องแบบปกติ หรือ “ชุดสุภาพ” ก็ได้ครับ ซึ่งการปรับแก้จากประกาศปี พ.ศ. 2562 ที่เคยกำหนดให้นิสิต ป.ตรี ต้องใส่แต่เครื่องแบบเข้าสอบเท่านั้น ผมคาดว่าน่าจะช่วยรองรับการสอบแบบออนไลน์ ในสถานการณ์โควิด-19 ให้ถูกต้องตามระเบียบการสอบด้วย ก็แปลว่า ถ้านิสิตใส่เครื่องแบบมาสอบ ก็ต้องแต่งให้ถูกต้องตามระเบียบเครื่องแบบนิสิต / และถ้าเลือกจะใส่ “ชุดสุภาพ” มาสอบ ก็ต้องแต่งตัวตามระเบียบเช่นกัน”

อ.เจษฎา ได้อธิบายถึงประกาศจุฬาฯ เรื่อง “การแต่งกายของนิสิต” พ.ศ. 2562 กำหนดชุดสุภาพ มีลักษณะดังนี้คือ

– นิสิตชาย : ใส่เสื้อมีแขน ห้ามใช้เสื้อยืดไม่มีปก ใส่ชายเสื้อไว้ในกางเกง หรือเสื้อพระราชทาน หรือเสื้อตรวจการ (เสื้อซาฟารี) กลัดกระดุมให้เรียบร้อย / กางเกงขายาว ไม่รัดรูปและไม่เปิดเผยเนื้อตัวร่างกายในลักษณะที่ไม่เหมาะสมแก่สุภาพชน / รองเท้าหุ้มส้น หรือมีสายรัดส้น และไม่ใช่รองเท้าแตะคีบ

– นิสิตหญิง : เสื้อมีแขน ไม่รัดรูป ห้ามใส่เสื้อยืดไม่มีปกหรือเอวลอย ไม่เปิดเผยเนื้อตัวร่างกายในลักษณะที่ไม่เหมาะสมแก่สุภาพชน / กระโปรงคลุมเข่า หรือกางเกงขายาว ไม่รัดรูป และไม่เปิดเผยเนื้อตัวร่างกายในลักษณะที่ไม่เหมาะสมแก่สุภาพชน / รองเท้าหุ้มส้นหรือมีสายรัดส้น และไม่ใช่รองเท้าแตะคีบ

“ดังนั้น สรุปว่า นิสิต ป.ตรี จุฬาฯ ปัจจุบันนี้สามารถใส่ “ชุดสุภาพ” เข้าห้องสอบได้ โดยไม่ผิดระเบียบการสอบครับ แต่ต้องแต่งตัวให้ถูกตามที่กำหนดด้วยนะครับ” อ.เจษฎา ระบุ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า