Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
แพทย์จุฬาฯ ยกงานวิจัยยืนยันการให้ชุมนุมยังมีความเสี่ยงในการแพร่กระจายโควิด แนะรัฐต้องห้ามแล้วหาช่องทางอื่นรับฟังความเห็น ส่วนผู้ชุมนุมต้องไม่ละเมิดสิทธิเสี่ยงทำให้คนอื่นเกิดผลกระทบ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์

วันที่ 20 ก.ค. 2563 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ ในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องการชุมนุมมีใจความสำคัญว่า ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคระบาดเกิดแพร่กระจายขยายวงไปอย่างกว้างขวางได้
กรณีของโควิด-19 มีงานวิจัย ที่ระบุให้ทุกประเทศออกนโยบายเพื่อป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมอยู่พอสมควร ซึ่งมีหลายกรณีที่เป็นตัวอย่าง เช่น การรวมตัวกันทำพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ช่วงปลายเดือน ก.พ.-ต้น มี.ค. จนทำให้เกิดการระบาด และมาเลเซียตอนนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า
รวมทั้งกรณีประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีการชุมนุม เดินขบวนต่างๆ และมีรายงานผู้ติดเชื้อจำนวนมากในระยะเวลาถัดมา
นพ.ธีระ ระบุด้วยว่า ตามหลักวิชาการแพทย์การชุมนุมนั้นทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรค เนื่องจากจำนวนคนที่อยู่ร่วมกันจำนวนมาก แออัด เบียดชิด อยู่กันเป็นเวลานาน มีการพูดคุย ตะโกน หยิบจับของกินของใช้ร่วมกัน รวมถึงการไม่ได้มีการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากแบบใส่บ้างถอดบ้าง และมีการใช้ห้องสุขาร่วมกันโดยไม่ระวังเรื่องความสะอาด เป็นต้น
มีงานวิจัยเคยคาดประมาณผลของนโยบายห้ามการชุมนุมว่า สามารถที่จะลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โควิด-19 ได้ราว 35% (ช่วงความเชื่อมั่น 95% ตั้งแต่ 21-47%)
ในทางกลับกันหากไม่มีการห้ามการชุมนุมในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด จะทำให้มีโอกาสแพร่กระจายของโรคสูงกว่าการมีนโยบายถึง 54%
“วิเคราะห์กันแบบตรงไปตรงมา หากการชุมนุมของแต่ละวงนั้นเกิดผลกระทบแค่กลุ่มคนในวงชุมนุมแต่เพียงอย่างเดียว ก็คงไม่มีใครไปว่าอะไรแต่ในสถานการณ์โรคระบาดนั้น การกระทำดังกล่าวมีโอกาสส่งผลกระทบต่อคนในสังคมวงกว้าง”
“เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่รัฐจำเป็นต้อง Take action seriously เพราะการคิดจะใช้สิทธิของตนเองในการแสดงออกนั้น ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิคนอื่น อันหมายรวมถึงต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของคนอื่นในสังคม”
นพ.ธีระ เสนอว่า หลายเดือนถัดจากนี้ สิ่งที่รัฐควรทำคือ
1.ป้องกันไม่ให้เกิดการชุมนุม ตราบใดที่ยังมีปัญหาโรคระบาดทั่วโลกเช่นนี้
2.สร้างแนวทางรับฟังแนวคิดในการแก้ไขปัญหาสังคมจากทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายเราฝ่ายเขาหรือฝ่ายไหนๆ ภายใต้ตัวบทกฎหมาย
3.ตั้งใจบริหารจัดการ ประคับประคองประเทศไทยให้ปลอดภัยไปตลอดรอดฝั่งในช่วงสงครามโรคระบาด โควิด-19 นี้ ไม่เลือกปฏิบัติ ก้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยึดหลักอดทน อดกลั้น อดออม และพอเพียง
4.ลด ละ เลิก นโยบายทุนนิยม ที่เสี่ยงต่อการถูกล่อด้วยกิเลส แลกกับความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายฟองสบู่ท่องเที่ยว ที่ควรพักไว้อย่างน้อย 6 เดือนแล้วจึงค่อยพิจารณาตามสถานการณ์ขณะนั้นอีกครั้ง
5.ทำคลอดนโยบายที่เน้นการทำให้ไทยยืนได้บนขาตนเอง ใช้ปัจจัยสี่ในการดำรงชีพจากทรัพยากรภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า
“ในขณะที่ประชาชนชาวไทยนั้น เวลานี้เราคงต้องรับรู้ว่า ศึกโรคระบาดนี้ยาวนาน และตอนนี้ความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราแต่ละคนจะทำได้ดีที่สุดคือ รักตัวเอง ป้องกันตัวเองและครอบครัว ใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร พูดน้อยๆ พบปะคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร และหมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบายต้องรีบไปตรวจรักษาเพื่อตัดวงจรของการระบาดแต่เนิ่นๆ”
 

ที่มา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า