SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่รัฐบาลส่งสัญญาณให้กองทัพเรือชะลอการจัดซื้อเรือดำน้ำ ลำที่ 2-3 จากจีน  หลังเกิดกระแสว่ายังไม่มีความจำเป็นและควรนำเงินไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ได้ผลกระทบจากโควิดก่อน


วันที่ 6 ก.ย. 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “กองทัพเรือ โดย โฆษก กองทัพเรือ” ได้เผยแพร่บทความ “มีเรือดำน้ำไปทำไม….ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์” มีใจความสำคัญว่า

ความมั่นคงทางทะเลมีส่วนเกี่ยวข้องกับปากท้องของประชาชน การกินดีอยู่ดีของคนในชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ประเทศไทยมีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ คือ อ่าวไทยเป็นอ่าวปิดลึกเข้ามาในคาบสมุทร ในอดีตไทยเคยถูกปิดอ่าวมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกสมัยสมเด็จพระนารายณ์​มหาราช ที่ฮอลันดาเอาเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามาปิดทางออกสู่ทะเลของไทย, ครั้งที่ 2 เหตุการณ์ ร.ศ.112 สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ฝรั่งเศสมาปิดปากอ่าวไทย จนเราต้องเสียดินแดนไปเกือบเท่ากับขนาดประเทศไทยในปัจจุบัน และครั้งที่ 3 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เรือดำน้ำสหรัฐฯ มาจมเรือขนส่งน้ำมันชื่อ ร.ล.สมุยบริเวณปากอ่าวไทย ทหารเรือสละชีพไป 36 นาย มีผลทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันจากทางทะเลเข้าสู่ประเทศได้ กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแทบจะหยุดชะงัก ประชาชนก็เดือดร้อนกันทั่ว

ทั้ง 3 เหตุการณ์แสดงให้เห็นจุดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ ที่ผู้รุกรานสามารถใช้ประโยชน์สร้างความเสียหายให้กับประเทศได้มากมายมหาศาล

สำหรับทางแก้ไข หากดูกรณีของประเทศเยอรมนี ซึ่งเหมือนกับประเทศไทยกลับหัว มีทะเล 2 ฝั่งแต่ถูกคั่นด้วยประเทศที่ 3 ท่าเรือหลักคือ Hamburg และ Wilhelmhaven อยู่ในทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ซึ่งเส้นทางการเดินเรือจะต้องผ่านหลายประเทศ แม้จะมีคลองคีล แต่ในยามสงครามก็ถูกปิดกั้นโดยง่ายจากทุ่นระเบิดวางโดยข้าศึก จึงจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปรามต่อประเทศที่จะมาคุกคามเส้นทางเดินเรือ และขนส่งพลังงานเข้าสู่ประเทศ ด้วยการคงประจำการเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดชั้น 212A จำนวน 6 ลำ แม้จะยกเลิก Warsaw Pack (สนธิสัญญาวอร์ซอ) ไม่มีภัยคุกคามที่เด่นชัดแล้วก็ตาม

จุดที่น่าสังเกตคือ ทะเลบอลติกและทะเลเหนือมีความลึกน้ำเฉลี่ยใกล้เคียงกับอ่าวไทย แต่กองทัพเรือเยอรมันกลับสร้างเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สาเหตุหนึ่งคือเรือดำน้ำเป็นอาวุธทางรุก ยากต่อการตรวจพบ และให้ปฏิบัติการได้นานขึ้น สามารถเล็ดรอดเข้าไปทำลายกำลังหลักของฝ่ายตรงข้ามได้ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่อาณาเขตทางทะเลของตน พื้นที่ปฏิบัติการหลักจึงอยู่ภายนอก ซึ่งจะยิ่งสร้างอำนาจการป้องปรามให้สูงยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า “ Nowhere to be seen but present everywhere” แปลเป็นไทยง่ายๆว่า “มองไม่เห็นตัว แต่สร้างความสะพรึงกลัวไปทั่ว”

ด้วยเหตุนี้ความจำเป็นต้องมีเรือดำน้ำ อาจไม่ได้มาจากภัยคุกคามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปราม เพื่อลดข้อเสียเปรียบด้านภูมิศาสตร์ ทำให้ผู้รุกรานที่อาศัยเงื่อนไขความขัดแย้งที่มีอยู่ ต้องยับยั้งชั่งใจว่าอาจถูกกระทำก่อน หรือถูกโจมตีตลบหลังจากภายนอก ทำให้ผลที่ได้รับไม่คุ้มกับความสูญเสีย จึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะรุกรานในที่สุด

นอกจากนั้น เรือดำน้ำ ยังมีความคุ้มค่า เช่น ประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านภูมิรัฐศาสตร์ การรับประกันเสรีภาพในการประกอบกิจกรรมเศรษฐกิจทางทะเล และการสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนกับระบบเศรษฐกิจทางทะเลของไทย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นต้องมีคำตอบให้ประชาชนผู้เสียภาษีอากรได้ทราบถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า และความทันใช้งานเพื่อประกันความเสี่ยงอย่างครบถ้วนด้วย เช่น อะไรคือความเสี่ยงที่ต้องจัดหาเรือดำน้ำในสภาวะการณ์เช่นนี้ ทำไมไม่ลงทุนกับการปราบเรือดำน้ำจะดีกว่าหรือไม่ ความคิดจัดหาเรือดำน้ำถือว่าล้าสมัยหรือไม่เพราะในอนาคตจะมีโดรนใต้น้ำล่าทำลายเรือดำน้ำแล้ว อ่าวไทยตื้น เรือประมงและอุปกรณ์ก็เยอะไม่เป็นอุปสรรคต่อปฏิบัติการของเรือดำน้ำหรือ และเมื่อซื้อมาแล้วมีความสามารถจะดูแลรักษาให้พร้อมใช้ตลอดอายุการใช้งานหรือไม่

https://www.facebook.com/RTNBYSpokesperson/posts/325221638909476

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า