SHARE

คัดลอกแล้ว

กองทัพซูดานและกองกำลังกึ่งทหารที่เคยร่วมกันทำรัฐประหาร ยึดอำนาจผู้นำเผด็จการ โอมาร์ อัล-บาเชียร์ เปิดศึกชิงอำนาจกลางกรุงคาร์ทูม ปะทะเดือดจนทหารและพลเรือนเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 56 ราย ได้รับบาดเจ็บเกือบ 600 ราย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานสถานการณ์ในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน หลังเกิดการต่อสู้รุนแรงระหว่างกองทัพกับกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็ว (RSF) ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ไม่ได้สังกัดกองทัพ ต่อเนื่องมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ (15 เม.ย.)

ล่าสุดมีรายงานผู้เสียชีวิตจากการปะทะแล้วอย่างน้อย 56 ราย และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 595 ราย ขณะที่ยังคงมีเสียงระเบิดและเสียงปืนดังอยู่เป็นระยะๆ ทั่วกรุงคาร์ทูม และพื้นที่โดยรอบ  

การปะทะกันระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลัง RSF เกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันเกี่ยวกับการควบรวมกำลังพลของ RSF ที่มีอยู่กว่า 100,000 นาย เข้าไว้ในกองทัพ แต่ไม่สามารถตกลงกันว่าจะให้ฝ่ายใดมาเป็นผู้ดูแลกระบวนการนี้ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างทั้งสองที่ยืดเยื้อมานาน หลังจากที่เคยร่วมกันทำรัฐประหาร ล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ เมื่อปี 2562

ความตึงเครียดเริ่มปะทุมากขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา หลัง RSF ส่งกำลังพลไปประจำการในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่มีการแจ้งให้กองทัพรับรู้ ทำให้กองทัพซูดานออกมาตำหนิว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมองว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่เป็นภัยคุกคามต่อกองทัพ  

จนเมื่อวันเสาร์ (15 เม.ย.) มีรายงานว่ามีผู้พบเห็นกลุ่มควันพวยพุ่งออกมาจากสถานที่ต่างๆ ในกรุงคาร์ทูม พร้อมเสียงระเบิดและเสียงปืนดังขึ้นใกล้กับฐานที่มั่นของ RSF ทางตอนใต้ของเมือง โดยมีทหารเคลื่อนกำลังพลไปตามท้องถนน ทำให้ประชาชนต้องวิ่งหาที่กำบังกันอลหม่าน

อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าฝ่ายใดเปิดฉากโจมตีก่อน แต่ RSF อ้างว่ากองทัพเป็นฝ่ายเริ่ม และทางกลุ่มสามารถยึดทำเนียบประธานาธิบดี สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ สนามบิน รวมถึงบ้านพักของผู้บัญชาการกองทัพไว้ได้ 

ขณะที่กองทัพออกมาปฏิเสธคำกล่าวอ้างดังกล่าว พร้อมทั้งขึ้นบัญชีดำ RSF เป็นกลุ่มก่อการร้าย และประกาศเดินหน้าปราบปรามกองกำลังนี้จนกว่าจะยอมสลายตัวทั้งหมด โดยไม่มีการเจรจาใดๆ  

ด้านนานาชาติได้ออกแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในซูดาน ทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป รวมถึงองค์การสหประชาชาติ (UN) ต่างเรียกร้องให้ยุติการสู้รบทันที 

 

ที่มา Reuters, Al Jazeera

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า