Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ข่าวการเสียชีวิตของ บีม-ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์ นักแสดงวัย 25 ปี ที่ญาติระบุว่านักแสดงนอนหลับและเสียชีวิต ส่วนการเสียชีวิตที่แท้จริงต้องรอผลการชันสูตรประมาณ 3 สัปดาห์ และเมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงหนุ่มคนนี้ หลายคนต่างคิดถึง ‘โรคใหลตาย’ โรคที่ไม่มีสัญญาณเตือน 

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร แพทย์อายุรศาสตร์เวชพันธศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า เวลาเห็นข่าวแบบนี้อยากให้ความสำคัญของภาวะ ‘ใหลตาย’ ซึ่งพบบ่อยในคนเอเชียโดยเฉพาะผู้ชายอายุน้อย

สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากโรคพันธุกรรม มีกลายพันธุ์ของยีนหลายชนิด ปัจจุบันสามารถให้การวินิจฉัยได้ด้วย next generation sequencing ช่วยหาเหตุการเสียชีวิต และค้นหาสมาชิกครอบครัวที่เสี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลว่า ‘ใหลตาย’ หรือ sudden unexplained (unexpected) nocturnal death syndrome (SUND)ใช้เรียกการเสียชีวิตที่เกิดจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว (ventricular fibrillation, VF) มักพบขณะหลับทำให้เกิดอาการคล้ายหายใจไม่สะดวกอาจเกิดเสียงร้องคล้ายละเมอก่อนเสียชีวิต มักเกิดในผู้ชายวัยหนุ่มที่ปกติแข็งแรงดีก่อนเข้านอน แต่ต่อมาพบว่าเสียชีวิตในตอนเช้าวันถัดไป

จากการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิต พบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะบรูกาดา โดยไม่พบความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานส่วนอื่นๆ ของหัวใจ ทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า กลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada syndrome)

• อาการใหลตายเป็นอย่างไร อาการใหลตายเกิดจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงที่สุด ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ โดยเฉพาะสมอง เมื่อสมองขาดออกซิเจนอาจแสดงอาการชักเกร็ง หายใจครืดคราดผิดปกติคล้ายนอนละเมอ เรียกไม่รู้ตัว โดยความผิดปกติมักพบในขณะนอนหลับ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถ้าการเต้นผิดจังหวะของหัวใจนั้นเกิดนานพอและไม่ได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยอาจจะรอดชีวิตฟื้นขึ้นมาได้กรณีที่การเต้นผิดจังหวะของหัวใจหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมอันได้แก่การช็อคหัวใจหรือการปั๊มหัวใจ และนอกจากใหลตายจะพบบ่อยขณะที่ผู้ป่วยหลับแล้ว ก็ยังอาจพบได้ในขณะตื่นเช่นกัน โดยอาการที่เกิดอาจเกิดอาการใจสั่นช่วงสั้นๆ หรืออาการวูบเป็นลมหมดสติได้

• ใครเป็นผู้มีความเสี่ยง มักพบในเพศชายวัยทำงาน (อายุ 25-55ปี) แต่ก็สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงในเด็กหรือในผู้สูงอายุได้เช่นกันสำหรับในประเทศไทย พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรองลงมาในภาคเหนือ

• มีความเสี่ยงต่อใหลตายเมื่อไร 

1. ผู้ที่รอดชีวิตจากอาการใหลตาย อาจเนื่องจากอาการใหลตายหยุดเองหรือได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

2. ผู้ที่มีญาติสายตรงเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุแต่ลักษณะอาการเข้าได้กับใหลตาย เนื่องจากพบว่าใหลตายมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรมหรือยีนที่มีผลต่อการควบคุมประจุไฟฟ้าในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและความผิดปกตินี้อาจส่งต่อไปในญาติสายตรงของผู้ป่วยใหลตายได้

3. ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดBrugadaแม้จะไม่มีประวัติอาการใหลตายหรือประวัติครอบครัว

• การวินิจฉัยใหลตายทำอย่างไร การวินิจฉัยอาศัยการตรวจพบความผิดปกติที่เรียกว่า Brugada pattern จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบยกสูงขึ้นกว่าการตรวจมาตรฐาน หรือขณะให้ยากระตุ้น

• การรักษาใหลตาย ยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถป้องกันหรือหยุดการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ทั้งหมด การรักษาจึงมุ่งหวังให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยครั้งที่สุด และระยะเวลาที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแต่ละครั้งสั้นที่สุดก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติหรือเสียชีวิตโดยวิธีการดังนี้

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ อันได้แก่การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะตึงเครียดของร่างกาย เช่นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลปริมาณมาก

2. ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (automatic implantable cardioverter defibrillator, AICD)

3. การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง

• ใครควรต้องได้รับการใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD)

1. ผู้ที่รอดชีวิตจากใหลตาย

2. ผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดBrugadaและเคยมีหลักฐานการตรวจพบว่ามีหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว

3. ผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดBrugadaร่วมกับมีประวัติครอบครัวเสียชีวิตจากใหลตาย หรือมีประวัติวูบที่สงสัยว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดBrugadaจากการกระตุ้นด้วยยา หรือผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดBrugadaแต่ไม่มีประวัติครอบครัวเสียชีวิตจากใหลตายหรืออาการวูบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมโดยละเอียดเพื่อพิจารณาประโยชน์ของการใส่AICD

• เมื่อไรที่จะทำการจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation, RFA)

RFA ช่วยลดจำนวนครั้งของการเกิดหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วได้ แต่จะทำในผู้ป่วยที่เกิดการกระตุกของเครื่อง AICD บ่อยครั้งเนื่องจากมีหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วบ่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและยืดอายุการทำงานของ AICD

• ค่าใช้จ่ายของการใส่ AICDเป็นอย่างไร สามารถใช้สิทธิการรักษาพื้นฐานได้หรือไม่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ในการใส่สิทธิการรักษาทุกแบบครอบคลุมการใส่AICD

• กรณีที่มีประวัติครอบครัวเป็นใหลตาย หรือมีอาการสงสัยใหลตายจะต้องทำอย่างไร เข้ารับการตรวจพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงใหลตาย และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อวางแผนการตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม

กรณีมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ทาง [email protected]

ที่มา : http://www.chulacardiaccenter.org/th/about-us/1-latest-advertise/243-lai-tai-brugada-syndrome

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า