SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มี.. ที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นแค่แผ่นดินไหวธรรมดา แต่เป็นแผ่นดินไหวที่นักวิชาการเรียกกันว่าแผ่นดินไหวแบบซูเปอร์เชียซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนที่แรงกว่าปกติ ประกอบกับลักษณะดินของกรุงเทพฯ ที่ยิ่งทำให้เกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

หนึ่งในคำถามที่ต้องการคำตอบคือ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่กรุงเทพฯ และประเทศไทย จะต้องหันมาให้ความสำคัญถึงการรับมือกับภัยพิบัติมากยิ่งขึ้น และจะต้องทำอย่างไร รายการ HEADLINE สำนักข่าวทูเดย์ ชวนมาทำความรู้จักกับแผ่นดินไหวให้มากขึ้น กับ ดร.ไพบูลย์ นวลนิล นักแผ่นดินไหววิทยา

ไม่ได้เป็นแผ่นดินไหวธรรมดา แต่เป็นแผ่นดินไหวแบบ ‘Supershear’

ดร.ไพบูลย์ ระบุว่าในแต่ละเดือนทั่วโลกก็มักจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 7 ขึ้นไปอยู่แล้ว โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 15 ครั้ง หรือเดือนละ 1.5 ครั้ง แต่ในครั้งที่ผ่านมานี้วนมาถึงการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกายซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่บ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม รอยเลื่อนสะกายที่เป็นต้นกำเนิดของแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ครั้งนี้มีขนาดใหญ่มาก มีความยาวกว่า 1,400 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะสะสมพลังงานได้มาก ทำให้พลังงานที่ปลดปล่อยมาครั้งนี้ส่งผลกระทบได้เป็นวงกว้าง

การเคลื่อนของรอยเลื่อนดังกล่าวครั้งนี้ เป็นการเคลื่อนตัวในแนวระนาบ หรือแนวนอน ทำให้เกิดแนวพังทลายของรอยเลื่อนในขณะที่เกิดแผ่นดินไหวยาวประมาณ 450 กิโลเมตร ซึ่งตามปกติแล้วจากข้อมูลงานวิจัย แผ่นดินไหวขนาด 7.7 จะมีความยาวของแนวพังทลายของรอยเลื่อนราว 200 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น จึงพบว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ไม่ใช่แผ่นดินไหวธรรมดา แต่เป็นแผ่นดินไหวที่เรียกว่า ‘Supershear Earthquake’

Supershear Earthquake เกิดในรอยเลื่อนที่เคลื่อนตัวในแนวระดับ, ระนาบ คือเคลื่อนตัวออกจากกันในแนวนอน นอกจากนั้นแล้วในการเกิดแผ่นดินไหวมีการพังทลายของรอยเลื่อนตรงบริเวณศูนย์กลางแผ่นดินไหว คือมีการ crack กัน ถ้าความเร็วของการพังทลาย (Rupture) เร็วกว่าความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหว (คลื่น S) เราเรียกมันว่าซูเปอร์เชีย

ก็คือปกติการพังทลายของรอยเลื่อน มันจะช้ากว่าความเร็วของคลื่นเชีย หรือว่าคลื่น S ก็คือประมาณ 0.5-0.7 เท่า แต่คราวนี้การพังทลายมันเร็วกว่าความเร็วของคลื่น S หรือว่าคลื่นเชีย เราเลยเรียกมันว่าซูเปอร์เชีย ซึ่งผลของมัน มันทำให้เกิดการซ้อนกันของคลื่น เหมือนกับคลื่นซุปเปอร์โซนิกของเครื่องบินรบ มันทำให้เกิด Mach Wave อธิบายง่ายๆ ว่าคลื่นดังกล่าวนี้เมื่อเกิดซ้อนทับกัน จะทำให้แรงสั่นสะเทือนสูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากเมื่อลูกแรกมาถึงก็ตามมาด้วยลูกที่สองทันที เพราะฉะนั้นจึงมีแรงสั่นสะเทือนออกมาสูงกว่าปกติของการเกิดแผ่นดินไหวทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่ซูเปอร์เชีย  ดร.ไพบูลย์ อธิบาย

แผ่นดินไหวแบบซูเปอร์เชีย เกิดเป็นประจำสำหรับรอยเลื่อนที่เคลื่อนตัวแนวระนาบ เช่น แผ่นดินไหวที่ตุรกีเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แผ่นดินไหวที่เสฉวนเมื่อปี 2008 หรือแผ่นดินไหวที่ปาลูอินโดนีเซีย พวกนี้ล้วนแต่สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนอย่างทวีคูณ

นอกจากนั้นแล้วกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ที่มีดินอ่อนซึ่งสามารถขยายแรงสั่นสะเทือนได้ด้วย เพราะฉะนั้นแรงสั่นสะเทือนที่มาสูง มาขยายด้วยดินอ่อนในพื้นที่กรุงเทพฯ จึงทำให้ยิ่งแรงสั่นสะเทือนยิ่งสูงขึ้นไปอีก จึงทำให้เกิดความเสียหายมากน้อยแล้วแต่ความแข็งแรงของอาคารในแต่ละที่

แผ่นดินไหวจะเกิดบ่อยขึ้นไหม รุนแรงขึ้นหรือเปล่า?

รอยเลื่อนที่มีพลังในประเทศไทย ตามที่กรมทรัพยากรธรณีระบุอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 16 รอยเลื่อน ดร.ไพบูลย์อธิบายว่าไม่ได้หมายความว่ารอยเลื่อนที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนสะกายจะมีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มมากขึ้นจากการเคลื่อนตัวรอบล่าสุดนี้มันอาจจะลดลงก็ได้เนื่องจากเวลาที่เปลือกโลกเคลื่อนตัวอาจจะมีแรงเค้นส่งมาทางหนึ่งแต่อีกทางหนึ่งแรงเค้นมันจะลดลง

เพราะฉะนั้นมันไม่ได้หมายความว่า ถ้าอยู่ใกล้ความเค้นจะกระทำต่อรอยเลื่อนที่มีในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกรอยเลื่อน ซึ่งต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลจากนักวิทยาศาสตร์หรือว่าผู้เชี่ยวชาญที่จะมาพิจารณาในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงของความเค้นว่า ส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนในประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน

การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในครั้งนี้ มันต้องรอเวลาสะสมพลังงาน กว่าจะเกิดอีก ถ้าดูข้อมูลย้อนหลังไปก็คืออีกหลายสิบปีกว่าจะเกิดเช่นนี้ เพราะฉะนั้นมันจะทำให้เราสามารถที่จะเตรียมการรับมือสำหรับแผ่นดินไหวในอนาคตได้ แต่การเตรียมการรับมือมันต้องการการวางแผน การดำเนินการ การเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการตรวจวัดความสั่นสะเทือน ก็คือต้องทำงานเชิงวิชาการอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะเอาข้อมูลมาใช้ในการประเมินแรงสั่นสะเทือน แล้วก็ใช้เป็นข้อกำหนดในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว คือหลังจากนี้เรามีเวลาที่จะพัฒนาหรือมีเวลาที่จะมากำหนดข้อออกแบบ มาพิจารณากันใหม่

เสนอตั้งเครื่องวัดตั้งงบวิจัยรับมือ

ดร.ไพบูลย์ อธิบายว่า ที่ผ่านมาการกำหนดค่าการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหวในประเทศไทย ได้มาจากแบบจำลองโดยใช้ข้อมูลหรือว่าแบบจำลองของประเทศอื่น ไม่มีข้อมูลของประเทศเรามากพอ ในที่นี้คือข้อมูลแรงสั่นสะเทือน เนื่องจากไม่มีเครือข่ายตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร

ผมยกตัวอย่างว่าถ้าเราต้องการข้อมูลแรงสั่นสะเทือนในกทม. กทม.มีเขตทั้งหมด 50 กว่าเขต ถ้าเขตละ 1 เครื่อง ก็คือเรามีข้อมูลแรงสั่นสะเทือน 1 จุด 50 เขตก็ 50 จุด เพราะฉะนั้นเราจะทราบว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหว 7.7 ครั้งนี้ที่ห้วยขวางสั่นสะเทือนเท่าไหร่ สาทร สีลม สั่นสะเทือนเท่าไหร่ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่าออกแบบใหม่ถ้าเรามีเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือน เราจะได้ทราบเลยหลังจากที่มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งนาทีทองของเรามันผ่านไปแล้วดร.ไพบูลย์ กล่าว

นักแผ่นดินไหววิทยารายนี้ได้ยกตัวอย่างว่าประเทศญี่ปุ่นสามารถดูออนไลน์ได้เลยตลอด 24 ชั่วโมง เขาดูค่าแรงสั่นสะเทือนได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีแผ่นดินไหวหรือไม่ ถ้าไม่มีแผ่นดินไหวก็ได้ค่าที่เกิดสัญญาณรบกวนของมนุษย์ แต่เมื่อมีแผ่นดินไหวเมื่อไหร่ มันจะแสดงเลยว่ามันอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ๆ ซึ่งประชาชนชาวญี่ปุ่นเขาสามารถดูข้อมูลนี้ผ่านโทรศัพท์ได้ 24 ชั่วโมง

ของเราถ้าทำถึงตรงนั้น ไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่าแมสเสจส่งมาเมื่อไหร่

คือรัฐบาลตอนนี้นอกเหนือจากการเยียวยา ชดเชย การที่ตั้งงบประมาณในการให้นักวิชาการมาค้นหาคำตอบตรงนี้เป็นสิ่งจำเป็น อย่าไปขี้เหนียวเลยครับ ทุ่มเงินไปสมมติยกตัวอย่าง สักร้อยล้าน ได้งานวิจัยกลับมาเพื่อที่จะใช้ทำมาตรการให้ประชาชนอยู่รอดปลอดภัย ผมว่ามันคุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ อย่าไปขี้เหนียวเลย ผมวิงวอน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า