Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมข่าว workpointTODAY ได้รับจดหมายฉบับนี้มาจาก “ครอบครัวพิศสุวรรณ” ถูกพบโดยบังเอิญโดยภรรยาของ ดร.สุรินทร์ เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งได้รับการเปิดเผยเป็นครั้งแรก เป็นที่ทราบกันดีในบุคคลใกล้ชิดว่า ดร.สุรินทร์ มักจะเขียนโปสการ์ดส่งให้ผู้อื่นอยู่เป็นประจำเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ แต่ครั้งนี้เป็นจดหมายที่ส่งถึงตัวเองเมื่อครั้งไปประชุมที่ประเทศญี่ปุ่นเรื่อง”การป้องกันความขัดแย้งในเอเซีย”และกล่าวปฐกถาเรื่อง”อนาคตความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น” ในจดหมายมีข้อความแปลเป็นภาษาไทยว่า

เมืองนิกโกะ ประเทศญี่ปุ่น
1 กุมภาพันธ์ 2559

ถึง สุรินทร์

คุณเป็นคนโชคดีที่ได้รับโอกาสและสิ่งดีๆ มากมายในชีวิต

เรียกได้ว่ามันเป็นชีวิตที่มีหลายแง่มุมหลากมิติ คุณเริ่มต้นจากเด็กบ้านนอกธรรมดาๆ คนหนึ่งที่มาจากชายขอบของสังคมไทยในช่วงปลายของยุค 40’s หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โอบล้อมไปด้วยความยากจนและความขัดสนในทุกอย่างที่ชีวิตดีๆ พึงจะมี แต่คุณก็สามารถยืนหยัดต่อสู้กับมันมาได้ คุณได้เดินทางมาถึงจุดสูงสุดไม่ใช่แค่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของคุณก็เป็นที่ยอมรับจากผู้คนในหลายประเทศทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และอีกหลายที่ทั่วโลก

คุณควรจะตระหนักถึงสิ่งดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และขอบคุณสิ่งที่พระเจ้าได้มอบให้ คุณต้องอย่าลืมไม่ปล่อยโอกาสที่จะแบ่งปันสิ่งดีๆ เหล่านั้นที่คุณได้รับมามากมายให้กับผู้อื่น

จงใช้ชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่นให้เท่ากับการใช้ชีวิตเพื่อตัวเอง

สุรินทร์ พิศสุวรรณ

Nikko, Japan
1 February 2016

Dear Surin,

Your life has been blessed with so much opportunity & many good things in life.

It can be called a life of many facets and dimensions. It began as a very simple Kampong boy on the extreme margin of the Thai society back in the late 1940s—after the 2nd World War—, surrounded by poverty and scarcity of everything [a] good life was supposed to have, even during those days. But you have persevered against all odds. You have come a long way to the top not only of Thailand, but your name & your fame have been recognized by people in many countries in Southeast Asia, East Asia & across the globe.

You should count your blessings & be grateful for what God [has] given you. Also you should not let [go of] opportunities to share with others many of His Blessings you have had.

Live for others as much as for yourself!

Surin Pitsuwan

ประวัติโดยสังเขป

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นนักการเมืองชาวไทยมุสลิม เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จ.นครศรีธรรมราช ดร.สุรินทร์ เป็นคนไทยคนที่ 2 ที่เคยดำรงตำแหน่ง เลขาธิการอาเซียน ซึ่งมีวาระ 5 ปี  (ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 จนสิ้นสุดวาระ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2556)

จบการศึกษา

  • ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • ปริญญาเอก ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์ มอบตำแหน่ง “ธรรมศาสตราภิชาน” กับ ดร.สุรินทร์ เพื่อเป็นเกียรติในฐานะบุคคลทรงคุณค่าแก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร.สุรินทร์ เข้าสู่แวดวงการเมือง ในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดนครศรีธรรมราช  สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎร ติดต่อกันถึง 7 สมัย เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ในขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร  พ.ศ.2529 – 2531 และเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

  • พ.ศ. 2535 – 2538 ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2540 – 2544 ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ในปี 2559  หลังจากพ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการอาเซียน ดร.สุรินทร์ เคยถูดคาดหมายให้เป็น “หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์”  และ ก่อนเสียชีวิต ก็มีกระแสข่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์เตรียมส่ง ดร.สุรินทร์ ลงชิงเก้าอี้ “ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” พื้นที่ฐานเสียงหลักของพรรคประชาธิปัตย์

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ได้ถึงแก่กรรม ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 เวลา 15.00 น. ที่โรงพยาบาลรามคำแหง สิริอายุ 68 ปี

ขอบคุณรูปภาพจาก GM Group

ขอบคุณภาพจาก GM Group

บทความที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐฯ สดุดี “ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” ยกย่องเป็นรัฐบุรุษยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน

นายกฯ ยกย่อง “สุรินทร์ พิศสุวรรณ” เป็นบุคคลทรงคุณค่าของประเทศและโลก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า