SHARE

คัดลอกแล้ว

รมว.อุตสาหกรรม สั่ง กรอ. ตรวจเข้มสถานที่ผลิตสารแอมโมเนียมไนเตรตในไทย ที่จ.ระยอง รวมทั้งอุตสาหกรรมจังหวัดประเทศ เข้าตรวจโรงงานที่มีการใช้สารแอมโมเนียมไนเตรตอีก 9 แห่งด้วย

วันที่ 8 ก.ค. 2563 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานผลิตสารแอมโมเนียมไนเตรต ที่นิคมอุตสาหกรรมไออาร์ซีพี จังหวัดระยอง เมื่อวานนี้ (7 ส.ค.) เพื่อตรวจสอบกระบวนการผลิต และขั้นตอนในการจัดเก็บรักษาที่ปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนคนไทยโดยเฉพาะชาวระยอง เนื่องจากกรณีเหตุระเบิดช็อกโลก ที่ประเทศเลบานอน จากแอมโมเนียมไนเตรตที่จัดเก็บอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมในคลังสินค้าที่ท่าเรือ ทำให้ประชาชนทั่วโลกเกิดความตระหนกอย่างมาก

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศเข้าไปตรวจสอบโรงงานลำดับที่ 48(4) หรือเป็นโรงงานทำไม้ขีดไฟ วัตถุระเบิดและดอกไม้เพลิง จำนวน 9 แห่ง ซี่งบางแห่งมีการครอบครองวัตถุหรือสารที่ก่อให้เกิดระเบิด และสารแอมโมเนียมไนเตรท ว่าแต่ละโรงงานมีการจัดเก็บหรือดำเนินการตามรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานที่ได้เสนอไว้หรือไม่ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดต้องรายงานผลการเข้าตรวจสอบภายใน 2 วันหรือ 48 ชม. หากพบว่าผู้ประกอบการรายใดจัดเก็บที่ไม่ถูกต้องต้องรีบสั่งดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในทันที

“กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่กำกับดูแลโรงงาน และมีโรงงานบางประเภทที่ครอบครองวัตถุอันตรายซึ่งรวมถึงสารแอมโมเนียมไนเตรต เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเรื่องของมาตรการด้านความปลอดภัยของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ทางกระทรวงฯ ให้ความสำคัญมาตลอดในทุก ๆ ด้าน เป้าหมายเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้ และที่สำคัญจะช่วยสร้างความมั่นใจแก่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบว่าโรงงานที่มีการครอบครองวัตถุดังกล่าว มีการจัดเก็บที่ปลอดภัยตามมาตรการที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้” รมว.อุตสาหกรรม กล่าว

สำหรับสารแอมโมเนียมไนเตรต เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกรดไนตริกและแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ประโยชน์สำหรับการผลิตไม้ขีดไฟ ดอกไม้ไฟ และวัตถุระเบิด อีกทั้งใช้เป็นปุ๋ยเคมี (ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต) สารดูดความชื้นสำหรับผ้าฝ้าย สารกำจัดแมลงและใช้เป็นเวชภัณฑ์ที่ใช้กับสัตว์ โดยในปัจจุบันจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับผิดชอบดูแล 5 หน่วยงาน คือกระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า