SHARE

คัดลอกแล้ว

สารคดีสะท้อนชีวิตคนกับพื้นที่ชุ่มน้ำ “พรุป่าฉัน” ย้ำความสำคัญป่าพรุ เกาะป้องกันภัยธรรมชาติ

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เผยแพร่สารคดี “พรุบ้านฉัน” ความยาว 9.22 นาที มี “อนันดา เอเวอริงแฮม” นักแสดงหนุ่ม มาถ่ายทอดเรื่องราวความสำคัญของป่าพรุ ร่วมกับชาวบ้านตัวจริงในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสะท้อนให้ผู้คนที่ได้ชมสารคดีนี้ได้เข้าใจวิถีชีวิตของมนุษย์และสัตว์ป่า รวมทั้งประโยชน์ของป่าพรุในการกักเก็บคาร์บอน ช่วยลดโลกร้อน และการเป็นเกราะป้องกันภัยทางธรรมชาติ

นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ลำดับที่ 110 และสำนักเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้กำหนดหัวข้อวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก 2563 คือ “พื้นที่ชุ่มน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ (Wetlands and Biodiversity) ในโอกาสนี้ สผ. และ UNDP จึงได้จัดทำและเผยแพร่สารคดี “พรุบ้านฉัน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมศักยภาพการจัดการระบบนิเวศป่าพรุ เพื่อเพิ่มความสามารถการกักเก็บคาร์บอนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางธรรมชาติของป่าพรุ ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในพื้นที่

อีกทั้งต้องการให้สาธารณะชนรับทราบ และตระหนักถึงความสำคัญของป่าพรุในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอน ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยลดโลกร้อน รวมถึงก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวบ้าน ในการร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าพรุ การเฝ้าระวังไฟป่าซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลต่อระบบนิเวศ ตลอดจนการป้องกันบุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยหวังว่าสังคมจะตระหนักถึงปัญหา และมองเห็นคุณค่าของป่าผ่านมุมมองการเล่าเรื่องของสารคดีพรุบ้านฉัน และหวงแหนความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าพรุให้มีความยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ เนื่องในวันที่ 21 มี.ค.ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันป่าไม้โลก (International Day of Forests) เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้และอนุรักษ์ป่าไม้ สผ.และ UNDP จึงใช้โอกาสนี้เผยแพร่สารคดีดังกล่าว

“ป่าพรุเปรียบเหมือนหม้อข้าวของคนภาคใต้ หลายคนต้องพึ่งพาป่าพรุทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ การปล่อยให้ป่าพรุถูกทำลายก็เหมือนการทุบหม้อข้าวของพวกเขา นอกจากนี้ป่าพรุยังช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากป่าพรุทำหน้าที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนเป็นล้านๆตัน อย่างไรก็ตามทุกวันนี้ป่าพรุถูกทำลายไปมาก ทั้งจากการพัฒนาที่ดิน การตั้งถิ่นแบบถูกและผิดกฎหมาย และไฟป่า โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติจึงร่วมกับภาคประชาสังคม และรัฐบาลสร้างความตระหนักรู้เรื่องการอนุรักษ์ป่าพรุ นอกจากนี้ยังจัดหาเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เพื่อปรับปรุงการจัดการทรัพยากรในป่าพรุ” นายเรอโน กล่าว

อนันดา เอเวอริงแฮม นักแสดงชื่อดัง กล่าวว่า การลงพื้นที่ถ่ายทำในครั้งนี้รู้สึกมีความสุขมากๆ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆแต่รู้สึกประทับใจ 2 อย่าง คือ ธรรมชาติ ที่สวยงามของป่าพรุ และคนในพื้นที่ที่ได้พบปะพูดคุย ที่ให้มุมมองของคนที่อาศัยอยู่กับธรรมชาติ ที่ทำให้รู้สึกว่าเรานำวิธีคิดของเขามาปรับใช้ในชีวิตของเราได้ และส่วนตัวอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการทำอะไรเพื่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งชาวบ้านในพื้นที่ตำบลไสขนุน ตั้งแต่รุ่นเด็กไปจนถึงรุ่นใหญ่ก็ให้ความสนใจ ร่วมขอถ่ายรูปกันไว้เป็นที่ระลึกเป็นจำนวนมาก และไม่พลาดที่จะใช้กล้องส่วนตัวเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกด้วย หวังว่า จะนำภาพแหล่านี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของโฟโต้บุ๊กตัวเองที่ได้วางแผนที่จะทำมานานแล้ว แต่ยังไม่เสร็จเป็นรูปเป็นร่างเสียที

ติดตามชมภาพความประทับใจทั้งหมดและวิถีชีวิตของคนพรุ ในสารคดีพรุบ้านฉัน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของภาคส่วนต่างที่ต้องการเผยแพร่ความสำคัญของป่าพรุ และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก Peat Swamps Thailand และ เว็บไซต์ www.peatswamps.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า