SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากที่กลุ่มกบฏ อายัต ตาห์รีร์ อัล-ชาม (HTS) ยึดอำนาจจากรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด และตั้งรัฐบาลรักษาการขึ้นมาบริหารประเทศแทน 

ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องจับตา คืออนาคตของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียนับล้านคน ที่ตอนนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก เราจะพาไปเจาะเรื่องนี้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกรุงดามัสกัส จะส่งผลกระทบอย่างไรต่ออนาคตของบรรดาผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย ที่ตอนนี้เชื่อว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่า 6 ล้านคน 

แต่ก่อนจะไปคุยเรื่องนี้ คงต้องย้อนไปเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรียเมื่อ 13 ปีที่แล้ว เพื่อปูพื้นกันสักนิด 

วิกฤติสงครามกลางเมืองในซีเรีย เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2011 ประชาชนพากันลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีอัดซาส 

ตอนนั้น ซีเรียมีประชากรอยู่ราวๆ 21 ล้านคน แต่หลังจากที่รัฐบาลต่อสู้กับฝ่ายต่อต้าน จนบานปลายเป็นสงครามการเมือง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ชาวซีเรีย เสียชีวิตไปมากกว่า 500,000 คน และได้รับบาดเจ็บอีกนับล้านคน 

แต่ตัวเลขที่น่าตกใจก็คือ ชาวซีเรียราวๆ 13 ล้านคน ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วประเทศซะอีก ต้องละทิ้งบ้านเรือนของตัวเอง หนีไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ 

โดยข้อมูลล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ ที่เพิ่งเก็บสถิติมาในปี 2024 นี่ พบว่า ยังมีชาวซีเรียอย่างน้อย 7.4 ล้านคน พลัดถิ่นอยู่ในประเทศ ในขณะที่อีกราวๆ 4.9 ล้านคน หนีไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน และ 1.3 ล้านคน ลี้ภัยไปไกลถึงยุโรป และประเทศอื่นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตใหม่ 

ประเทศที่ชาวซีเรียลี้ภัยไปมากที่สุด ก็คือ ตุรกี มีชาวซีเรียลี้ภัยไปอยู่ในประเทศมากกว่า 3.1 ล้านคน โดยรัฐบาลตุรกีให้สถานะคุ้มครองชั่วคราว แก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ ทำให้พวกเขาสามารถพำนักในตุรกีได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ว่าไม่ได้ให้สถานะเป็นพลเมืองของตุรกี 

อีกประเทศหนึ่งใกล้ๆ กันคือเลบานอน จากข้อมูลของการทางการมีผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย อยู่ในเลบานอน ที่มีการลงทะเบียนถูกต้องราวๆ 774,000 คน แต่ถ้ารวมที่ไม่ได้ลงทะเบียนด้วย คาดว่าน่าจะสูงถึง 1.5 ล้านคน

ขณะที่เยอรมนี ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเข้าไปพำนักจำนวนมาก โดยมีอยู่ประมาณ 716,000 คน, อิรักมีผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย 286,099 คน, อียิปต์ 156,465 คน, ออสเตรีย 97,939 คน, สวีเดน 86,956 คน, เนเธอร์แลนด์ 65,622 คน และกรีซ 50,759 คน 

คำถามสำคัญคือ การยึดอำนาจรัฐบาลซีเรียที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ส่งผลกระทบต่อผู้ลี้ภัยเหล่านี้อย่างไร 

มีรายงานจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) สรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในซีเรีย และเพิ่งเผยแพร่ออกมาเมื่อวันพุธ ระบุว่า 

หลังจากที่กลุ่มกบฏโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดีอัสซาด เริ่มๆ มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่อยู่ในประเทศใกล้ๆ อย่าง ตุรกี และเลบานอน ทยอยเดินทางกลับบ้านแล้ว แต่ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด คาดว่าน่าจะเป็นหลักพันคน 

แต่ที่น่าสนใจคือ รายงานของ UNHCR พบว่า ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ ยังคงเลือกที่จะดูสถานการณ์ไปก่อน เพื่อให้แน่ใจว่า การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะดำเนินไปอย่างสันติ รัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารประเทศในอนาคตจะเคารพสิทธิ์ของพวกเขา และอนุญาตให้พวกเขาสามารถเดินทางกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

ซึ่งเรื่องนี้ เป็นไปตามที่ ฟิลิปโป กรันดี ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ออกมาอธิบายก่อนหน้านี้ว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นในซีเรียถือเป็นโอกาสอันน่าทึ่งที่จะพาซีเรียก้าวไปสู่สันติภาพ และชาวซีเรียก็จะได้เดินทางกลับบ้าน” 

“เพียงแต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอน เลยทำให้ผู้ลี้ภัยหลายล้านคนต้องประเมินอย่างรอบคอบว่าการตัดสินใจกลับบ้านจะปลอดภัยแค่ไหน” ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติระบุ พร้อมกับเรียกร้องไปยังชาติต่างๆ ที่มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอาศัยอยู่ ให้มอบความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ต่อไป และให้เวลาพวกเขาได้ตัดสินใจว่าจะกลับบ้านหรือไม่โดยปราศจากการกดดัน 

แต่ในขณะที่ UNHCR เรียกร้องให้ชาติต่างๆ ยังคงให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย ดูเหมือนว่าหลายๆ ประเทศในยุโรปก็กำลังประเมินสถานการณ์ในซีเรียอยู่ 

โดยตอนนี้มีหลายชาติที่เริ่มออกมาเคลื่อนไหว ระงับการพิจารณาคำร้องขอสถานะของผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย อย่างชาติที่เริ่มขยับแล้ว อาทิ 

เยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่เปิดมีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอยู่เป็นจำนวนมาก กระทรวงมหาดไทยเยอรมนี ออกมาประกาศตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ (9 ธ.ค.) ว่าขอระงับกระบวนการพิจารณาคำร้องขอลี้ภัยของชาวซีเรีย ไปจนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจน 

เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ ที่เริ่มทยอยออกมาประกาศระงับกระบวนการพิจารณาคำร้องขอลี้ภัยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร 

แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบางประเทศที่ออกมาแสดงความประสงค์เลยว่า ไม่ต้องการให้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอยู่ในประเทศของพวกเขาอีกต่อไป อย่างเช่น ออสเตรีย ซึ่งในเวลานี้ มีผู้ลี้ภัยชาวซีเรียอยู่ราว 100,000 คน 

คาร์ล เนฮัมเมอร์ นายกรัฐมนตรีสายอนุรักษนิยมของออสเตรีย ออกมาเปิดเผยเลยว่า เขาได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยระงับคำร้องขอสถานะที่ยื่นเข้ามาใหม่ และทบทวนการให้สถานะแก่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียทั้งหมดแล้ว ทั้งยังสั่งให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมการเนรเทศ หรือส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับซีเรียด้วยความสงบ 

และกรีซ ก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ออกมาแสดงความชัดเจนในลักษณะเดียวกัน โดย ปาฟลอส มารินากิส โฆษกรัฐบาลกรีซ ออกมาเปิดเผยกับนักข่าวหลังจากที่รัฐบาลเผด็จการซีเรียถูกโค่นอำนาจ ระบุว่า “นี่น่าจะเป็นการเปิดทางให้ชาวซีเรียเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย และควรเป็นจุดสิ้นสุดของการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยจากซีเรียได้แล้ว” 

ประเด็นเรื่องผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย น่าจะเป็นอีกมิติหนึ่งที่ต้องจับตา คู่ขนานไปกับความพยายามฟื้นฟูซีเรียจากความบอบซ้ำที่ดำเนินมานานกว่าทศวรรษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า