SHARE

คัดลอกแล้ว

จริงอยู่ที่คนเรามีเวลา 1 วัน 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ใช่ว่าเราทุกคนจะจัดสรรเวลาให้คุ้มค่าได้เหมือนกัน บางคนใช้เวลาไปกับการทำอะไรนานๆ หนึ่งวันมัวแต่จมอยู่กับสิ่งๆ นั้นจนกลายเป็นคนทำงานช้าไปโดยปริยายหรือพูดง่ายๆ ว่าใช้เวลาไม่คุ้มค่า ขณะที่บางคนก็ Productive ในหนึ่งวันสามารถทำอะไรได้มากมาย ผลักตัวเองไปสู่โอกาสได้มากกว่า

TODAY Bizview จะสรุปหนังสือ ‘คนรวยทำงานเร็ว’ ที่เขียนโดย ‘โกะโด โทคิโอะ’ ให้อ่านเข้าใจง่าย ผ่านบทความนี้

[ คนรวยทำงานเร็วชอบทำอะไรใหม่ๆ คนทำงานช้าจมอยู่กับงานตามคำสั่ง ]

เริ่มจากการที่คนรวยทำงานเร็วมักจะมีแนวคิดอยาก ‘ทำอะไรใหม่ๆ’ ขณะที่คนทำงานช้ามักทำงานแต่สิ่งที่ ‘ต้องทำ’

ตัวอย่างเช่น ในวันๆ หนึ่งของคนทำงานช้าก็มัวแต่จะทำสิ่งที่ต้องทำ เช่น ตอบอีเมล์ เช็กอีเมล์ ทำงานตามสั่ง โดยที่ทุ่มเวลาจน ‘เกินจำเป็น’ เพราะคิดว่าถ้าเราทำเช่นนี้เราจะไม่ถูกเพ่งเล็งจากที่ทำงาน เพราะมันคือสิ่งที่ต้องทำ แต่หารู้ไม่ว่ามันเป็นเพียงแค่ทางผ่านที่จะทำให้เป้าหมายของคนอื่นบรรลุ โดยที่ตัวเราเองกลับไม่ได้พัฒนาอะไรเลย 

ขณะที่คนรวยทำงานเร็วมักจะคิดถึงสิ่งที่อยากทำ อยากจัดการสิ่งที่ควรทำได้ดี ไม่ใช้เวลาจมนานเกินไป เช่น เป็นพนักงานออฟฟิศรับผิดชอบงานหลักของตัวเองตามปกติ อยากลองลงทุนก็แบ่งเวลามาศึกษาในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่กดดันตัวเองจนเกินไป เริ่มลงทุนไว้เรื่อยๆ ต่อยอดไปสู่อนาคต

พูดง่ายๆ ว่าคนรวยทำงานเร็วมักจะหว่านเมล็ดพันธุ์ไว้ผ่านสิ่งที่อยากทำ ขณะที่งานหลักก็ไม่ได้ขาดตกบกพร่อง

[ คนรวยทำงานเร็วลงมือทำเลย คนทำงานช้ามัวแต่คนหาวิธี ]

ในพาร์ทการทำงาน ถ้าเกิดว่ามีโปรเจคใหม่ๆ ที่น่าสนใจคน 2 ประเภทนี้จะมีแนวคิดต่างกัน คนรวยจะรีบลงมือทำเลยมองทรัพยากรที่มีว่าต่อยอดและเริ่มทำอะไรก่อนได้บ้าง ขณะที่คนทำงานช้าจะค่อยๆ หาวิธีศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีหรอก แต่ความช้า-เร็วมันต่างกัน คนทำงานเร็วอาจจะประสบความสำเร็จกว่า

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ นาย A (ทำงานช้า) และนาย B (ทำงานเร็ว) ต้องการเริ่มต้นธุรกิจขายขนมออนไลน์

นาย A ใช้เวลา 6 เดือนในการเขียนแผนธุรกิจและศึกษาคู่แข่ง ลงทุนซื้ออุปกรณ์ราคาแพงเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างพร้อม ขณะที่นาย B ใช้เตาอบที่มีอยู่แล้วและทดลองขายขนมชุดแรกกับเพื่อนและครอบครัว รับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเพื่อปรับปรุงสูตรและบริการหลังจากนั้น 2 เดือน เขาเริ่มขยายธุรกิจโดยใช้โซเชียลมีเดียและรับพรีออเดอร์ได้ ส่วนนาย A ที่กำลังเตรียมการใช้เวลานานกว่า เข้ามาทำธุรกิจอีกที่คู่แข่งก็อาจจะสูงขึ้นไปแล้ว ลดโอกาสการเป็นตัวเลือกให้ลูกค้า 

[ คนรวยทำงานเร็วมององค์กรแค่ทางผ่าน ]

ในแต่ละองค์กรมีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ซึ่งในฐานะพนักงาน การใช้สิทธิเหล่านั้นให้คุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่สมควรทำ เพราะเป็นสิ่งที่เราได้รับตามเงื่อนไขของงานและองค์กร อย่างไรก็ตาม มุมมองต่อองค์กรของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไปตามเป้าหมายชีวิตและการทำงาน

สำหรับคนที่มีแนวคิดแบบคนรวยทำงานเร็ว พวกเขามักมององค์กรเป็น “ทางผ่าน” ไปสู่การเติบโตทางอาชีพและเป้าหมายในชีวิตที่ใหญ่กว่า พวกเขาโฟกัสที่โอกาสในการต่อยอดอนาคต เช่น การสร้างคอนเนคชั่นที่มีคุณค่า การพัฒนาทักษะใหม่ๆ และการหาประสบการณ์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของตัวเอง ในส่วนของสวัสดิการหรือสิ่งที่องค์กรมอบให้ พวกเขามักจะใช้เท่าที่จำเป็นและมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการใช้เวลาในองค์กรเพื่อเตรียมตัวสำหรับโอกาสต่อไป

ในขณะเดียวกัน คนที่มีแนวคิดแบบทำงานช้าอาจมององค์กรเป็น “จุดหมายปลายทาง” มากกว่าทางผ่าน พวกเขามักให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงในงานและชีวิต และมองว่าสิทธิและสวัสดิการที่องค์กรมอบให้เป็นสิ่งที่ควรได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง เช่น การเรียกร้องสิทธิที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลและไม่ผิดอะไร

[ คนรวยทำงานเร็วรีบเข้านอน คนทำงานช้าทำงานดึกได้ค่อยนอน ]

สำหรับเรื่องเวลาพักผ่อน ‘คนรวย’ ทำงานเร็วมักจะคิดว่ารีบทำงานที่ต้องรับผิดชอบให้เสร็จ เพื่อให้ตัวเองได้มีเวลาพักผ่อนหรือทำงานอย่างอื่นต่อ โดยการดึงทรัพยากรต่างๆ มาใช้ให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว

ขณะที่คนทำงานช้าอาจจะค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ และมักคิดว่าตัวเองนอนดึกเพื่องานได้ โดยที่อาจจะเอาทรัพยากรต่างๆ มาเป็นเครื่องมือน้อย 

ตัวอย่างเช่น นาย A และนาย B ได้รับงานตรวจเช็กบัญชีย้อนหลัง 6 เดือนพร้อมกัน และต้องเสร็จภายในวันนี้ เวลาเริ่มต้นทำตั้งแต่เวลา 09.00-18.00 น. โดยนาย A ใช้เวลา 15 นาทีแรกจัดลำดับความสำคัญของงานแบ่งงานเป็นส่วนย่อย เช่น แยกข้อมูลตามเดือนและระบุข้อมูลสำคัญที่ต้องตรวจ ใช้โปรแกรมบัญชีและเครื่องมือ Excel เพื่อตรวจสอบข้อมูลอย่างรวดเร็ว ถ้าเจอปัญหาก็ตรวจด้วยตาเปล่า ถ้ามีปัญหาก็ปรึกษาทันที นาย A ทำงานต่อเนื่องโดยกำหนดช่วงพัก เช่น 50 นาทีทำงาน 10 นาทีพัก เพื่อรักษาประสิทธิภาพ งานอาจจะเสร็จตั้งแต่ 16.30 น. มีเวลาให้ตรวจเช็กอีกรอบ

ขณะที่นาย B เริ่มงานทันทีโดยไม่แบ่งงานเป็นส่วนย่อยมองว่าใช้เครื่องมือจะเสียเวลาเรียนรู้ จึงเลือกทำงานด้วยวิธีเดิมที่คุ้นเคย เกิดมีปัญหาก็ไม่ปรึกษาค่อยๆ แก้ด้วยตัวเอง ไปใช้เวลาหาข้อมูล อาจทำให้งานเสร็จช้ากว่าเลิกงาน ส่งผลกระทบต่อเวลาพักผ่อนที่ควรจะได้ใช้

[ ไม่ว่าจะถนัดแบบไหนก็ไม่มีใครผิด เลือกใช้ชีวิตได้ตามชอบ ]

อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นเพียงแนวคิดจากหนังสือคนรวยทำงานเร็วที่ทาง TODAY Bizview ได้มาสรุปใจความให้ได้อ่านกัน ซึ่งเล่มนี้ก็เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการแรงบันดาลใจและวิธีการปฏิบัติจริงในการสร้างความมั่งคั่ง พร้อมเน้นการพัฒนาทั้งด้านการเงินและชีวิตส่วนตัวไปพร้อมกัน

และในชีวิตจริงนั้นเป้าหมายและความพึงพอใจส่วนตัวคือสิ่งสำคัญที่สุด ไม่มีมุมมองใดถูกหรือผิด เพียงแต่แตกต่างกันตามความต้องการและลำดับความสำคัญในชีวิตของแต่ละคน ใครถนัดการใช้ชีวิตแบบไหนก็สามารถเลือกได้ตามชอบ 

ที่มา : หนังสือ ‘คนรวยทำงานเร็ว’ ที่เขียนโดย ‘โกะโด โทคิโอะ’

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า