SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยนอกจากภาคส่งออกแล้ว ‘การท่องเที่ยว’ คืออีกหนึ่งตัวขับเคลื่อนหลัก ภาคงานการบริการและท่องเที่ยวถือเป็นจุดแข็งดึงเม็ดเงินเข้าประเทศไทยมาหลายปี ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่ากับเงินที่เข้าประเทศ สร้างรายได้มหาศาล

โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวหลักรู้กันว่าคือ นักท่องเที่ยวจีน เป็นส่วนใหญ่ แต่เปิดต้นปีนี้การท่องเที่ยวที่คาดการณ์ตัวเลขว่าจะกลับมาแตะ 40 ล้านได้ในปีนี้อาจต้องลุ้นและสะดุดลง เพราะดูเหมือนตอนนี้บรรยากาศนักท่องเที่ยวจีนจำนวนหนึ่งอยู่ในช่วงเว้นระยะห่างกับประเทศไทย หลังมีเหตุการณ์และข่าวลบกระทบภาพลักษณ์ต่อเนื่อง ทั้งกรณีการลักพาตัวไปจนถึงแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ข่าวลบที่ออกมาติดๆ มีผลทางจิตวิทยากับนักท่องเที่ยวจีนที่คิดจะมาเที่ยวไทยแน่นอน ดัชนีที่อาจจะบอกได้ชัดเจนตอนนี้คือ ช่วงวันหยุดยาวตรุษจีนที่ผ่านมา คนจีนหันไปสู่จุดหมายปลายทางอย่าง ‘ญี่ปุ่น’ มากขึ้นแทน 

ข้อมูลจาก UN Tourism ที่บอกว่าในปี 2024 ญี่ปุ่นมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน 36.87 ล้านคน แซงหน้าประเทศไทยที่มีนักท่องเที่ยว 35.55 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของนักท่องเที่ยวโดยรวม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนในญี่ปุ่นกำลังอยู่ในกระแสขาขึ้น 

ที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางประวัติศาสตร์หรือประเด็นพิพาทดินแดน ต่างก็ส่งผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ ซึ่งตัวเลขที่เพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนในญี่ปุ่นกำลังสะท้อนให้เห็นบางอย่างที่อาจจะกำลังเปลี่ยนไป

[ ทำไมญี่ปุ่นถึงแซงหน้าดึงนักท่องเที่ยวจีนไปจากไทย? ]

มีหลายปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหันไปเที่ยวญี่ปุ่นมากขึ้น เช่น นโยบายวีซ่าที่ผ่อนคลายญี่ปุ่นได้ปรับนโยบายวีซ่าให้เอื้อต่อนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น

อีกทั้งค่าเงินเยนอ่อนตัว ทำให้การท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมีต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้ระยะทางที่ใกล้ ทำให้สะดวกต่อการเดินทางจากจีน 

ถ้าไปดูในรายละเอียดจะเห็นว่ามีการเพิ่มเที่ยวบิน เช่น สายการบิน China Eastern Airlines เพิ่มเที่ยวบินไปญี่ปุ่นถึง 54% และมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 71.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน

เมื่อมาดูภาพรวมเที่ยวบินระหว่างจีน-ญี่ปุ่นทั้งหมดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 30% ในช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา และแพลตฟอร์มท่องเที่ยวชั้นนำของจีนอย่าง Trip.com Group และ Tongcheng Travel ต่างยืนยันว่าญี่ปุ่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางอันดับหนึ่งของนักท่องเที่ยวจีน แซงหน้าเกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทยเราเป็นที่เรียบร้อย

[ บทเรียนสำหรับการท่องเที่ยวไทย ]

ถ้าเรามาพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จะพบว่าการท่องเที่ยวไทยกำลังเผชิญความท้าทายสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เช่น

        1. ปัญหาการพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนมากเกินไป การที่ไทยพึ่งพานักท่องเที่ยวจีนมากเกินไปทำให้เกิดความเปราะบางเมื่อตลาดนักท่องเที่ยวจากจีนมีความผันผวน รัฐบาลจึงพยายามขยายฐานนักท่องเที่ยวไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะอินเดีย เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดเดียว 
        1. ปัญหาคุณภาพการท่องเที่ยว แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้ต่อหัวกลับลดลง สะท้อนปัญหาเชิงคุณภาพของการท่องเที่ยวไทย ตามที่ KKP Research วิเคราะห์ไว้ว่ารายได้จากการใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในไทยต่อหัวยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดมาก
        1. การกระจุกตัวของรายได้ รายได้จากการท่องเที่ยวกระจุกตัวอยู่ใน 5 จังหวัดหลัก อาทิ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และกระบี่ โดยเอื้อประโยชน์ต่อโรงแรมขนาดใหญ่มากกว่า ทำให้การกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ทั่วถึง
        1. ความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นมีน้อย การท่องเที่ยวไทยมีการเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจอื่น (Backward Linkages) น้อยกว่าในต่างประเทศ ทำให้แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น แต่ผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมยังจำกัด

[ ไทยรับมือยังไง เมื่อญี่ปุ่นเตรียมดึงนักท่องเที่ยว 60 ล้านคน หนึ่งในนั้นเป้าหมายคือจีน ]

ตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังเดินหน้าสู่เป้าหมายดึงนักท่องเที่ยว 60 ล้านคนภายในปี 2030 ด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจน ขณะที่ไทยต้องเผชิญกับความท้าทายสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา การยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยว และการกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวให้ทั่วถึงมากขึ้น

ภาพรวมตอนนี้แม้ภาคการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวขึ้นมากหลังจากโควิด แต่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยรวมยังอยู่ในทิศทางขาลง ทำให้เศรษฐกิจไทยภาพรวมเติบโตได้ในระดับต่ำ ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวไทยจึงต้องคำนึงทั้งมิติเชิงปริมาณและคุณภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจอื่นให้มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวยังคงเป็น “พระเอก” ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้อย่างยั่งยืนและทั่วถึงในระยะยาว

ที่มา :

          • https://asia.nikkei.com/Business/Travel-Leisure/Japan-overtakes-Thailand-as-China-s-most-popular-destination
          • https://advicecenter.kkpfg.com/th/kkp-research/impact-from-trump-policy-to-thai-economy

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า