SHARE

คัดลอกแล้ว

อีกแค่ 3 เดือน คดีตากใบจะหมดอายุความ ประชาชนในพื้นที่กังวลหากคดีตากใบหลุด นี่อาจเป็นเงื่อนไขให้เกิดเหตุความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ได้อย่างชอบธรรม ด้านแอมเนสตี้ เสนอ 3 ข้อเรียกร้องถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย รายงานว่า “เหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบ” หรือ “เหตุการณ์ตากใบ” หน้า สภ. ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐได้ใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม พร้อมจับกุมผู้ชุมนุมราว 1,300 คน โดยมัดมือไพล่หลัง สั่งให้ผู้ชุมนุมนอนทับกันหลายชั้นบนรถบรรทุก ก่อนจะนำตัวไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร ที่ จ.ปัตตานี ห่างออกไปกว่าร้อยกิโลเมตร จนทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทุพลภาพจากเหตุการณ์นี้เป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ตากใบไม่เพียงแต่สะท้อนภาพความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่แห่งนี้ไม่เคยได้รับความเป็นธรรม เพราะมีการสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมว่า “ขาดอากาศหายใจ”  จนกระทั่งทุกวันนี้ผ่านมาเกือบ 20 ปี ยังไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสียนี้  

ซาฮารี เจ๊ะหลง ตัวแทนภาคประชาสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอีกคนหนึ่งที่ต้องเผชิญกับการถูกคุกคามและการดำเนินคดีในข้อหาต่างๆ จากการพยายามตีแผ่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เล่าว่าตนทำสื่อและเป็นคนในพื้นที่ในฐานะคนทำสื่อตนถูกคุกคาม จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังถูกดำเนินคดีจากการทำสื่อ อีกทั้งยังเล่าว่า การปล่อยให้คดีตากใบหมดอายุความไปโดยที่คนในพื้นที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมอาจนั้น อาจเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่จะถูกใช้เป็นข้ออ้างในการเกิดเหตุความรุนแรงได้อย่างชอบธรรม

“ตากใบหมดอายุความ คนยังไม่ได้รับความยุติธรรม เราก็ไม่อาจที่จะรู้ได้ทั้งหมดว่าความรู้สึกของคนเหล่านั้นจะเป็นมูลเหตุของการที่จะมาใช้ความรุนแรง และความรุนแรงมันก็จะเกิดเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ในพื้นที่ แต่แน่นอนว่ามันคือเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกิดความชอบธรรมของขบวนการต่อสู้อำนาจรัฐ และรัฐเป็นคนทำเงื่อนไขนี้เอง” 

การไม่ได้รับความเป็นธรรมบวกกับคดีความกำลังจะหมดอายุ จึงส่งผลให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในวันนั้นรวมกลุ่มลุกขึ้นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ 9 คน 

อูเซ็ง ดอเลาะ ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เล่าย้อนถึงสถานการณ์ความยุติธรรมหลังเกิดเหตุการณ์ตากใบ ระยะเวลาเกือบ 20 ปี ไม่เคยเพียงพอที่จะทำให้ผู้ได้รับผลกระทบลบลืมเรื่องราวในวันนั้นออกไปจากความทรงจำ ขณะที่เวลาค่อยๆ เคลื่อนผ่านไป ก็แทบจะดับความหวังของพวกเขา เพราะเมื่อไหร่ที่คดีนี้มีอายุครบ 20 ปี ก็เท่ากับว่า ‘คดีหมดอายุความ’ และความยุติธรรมก็จะหายไปกับสายลม

“เมื่อเกิดเหตุการณ์การเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่ หรือมีการทำให้เสียชีวิตใดๆ ก็ตาม ความที่เป็นคดีอาญา มันเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะรับหน้าที่ตรงนี้ ในการที่จะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อที่จะเอาคนผิดมาลงโทษให้ได้ แต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่เองกลับเพิกเฉย ปล่อยปละละเลย เข้าใจว่าส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ที่ก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง เป็นข้าราชการระดับสูง”

อูเซ็ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของชาวบ้านเอง ที่ทำได้ก็คือการรำลึกถึงเหตุการณ์เท่านั้น แต่เมื่อแอมเนสตี้ลงพื้นที่ไปเมื่อปีที่แล้ว ทุกคนเห็นว่าระยะเวลามันใกล้แล้วนะ ชาวบ้านก็เลยเกิดการตื่นตัว เมื่อมีช่องทางก็ลองดู เพราะว่าเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วที่จะสู้เรื่องนี้

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกล่าวว่า จำเลยทั้ง 9 คน ต่างก็งัดสารพัดกลยุทธ์ทางกฎหมาย เพื่อชะลอให้การพิพากษาช้าที่สุด จนกระทั่งหมดอายุความไปเอง  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าจับตามองไม่ใช่แค่เทคนิคทางกฎหมายของจำเลยเท่านั้น แต่ดูเหมือนกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบจะไม่เอื้อให้คนตัวเล็กตัวน้อยได้รับความเป็นธรรมสักเท่าไร 

อูเซ็ง กล่าวเสริมว่า การที่จะฟังคำตอบสุดท้ายว่าจำเลยทั้ง 9 มีความผิด เป็นเรื่องที่อีกยาวไกล แต่เพียงแค่ศาลมีคำสั่งว่าคดีมีมูล ก็เท่ากับว่าคดีของประชาชนชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว

ขณะที่ ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล  ได้เสนอแนวทางการเยียวยาประชาชน ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิของการเข้าถึงการเยียวยา ซึ่งมี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. การเข้าถึงข้อมูลว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นแบบไหน ใครเป็นเหยื่อ และใครเป็นผู้กระทำ
  2. การเข้าถึงความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการยอมรับว่านี่คือการทำผิดกฎหมาย 
  3. การชดเชยเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นการมอบเงิน การยอมรับผิดอย่างเป็นทางการ หรือความพยายามที่จะรับประกันว่าเหตุการณ์อย่างนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก

นอกจากนี้ ทางแอมเนสตี้ยังมี 3 ข้อเรียกร้องถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ต้องมีการคืนความยุติธรรมให้กับคนที่เป็นเหยื่อของเหตุการณ์ตากใบ ในขั้นแรกคือศาลต้องรับฟ้อง และไม่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ เพราะการปล่อยให้คดีหมดอายุความไม่ใช่แค่เสียโอกาสในการคืนความยุติธรรมให้กับชาวตากใบ แต่สูญเสียโอกาสในการสร้างแนวทางปฏิบัติในอนาคต เพื่อที่จะให้ภาครัฐดูแลจัดการการชุมนุมได้ดีขึ้นและสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น แล้วก็เป็นเหมือนแนวทางให้เหยื่อกลุ่มอื่นๆ ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าถึงความยุติธรรมได้ในลักษณะคล้ายๆ กัน

  1. แก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายพิเศษ เนื่องจากกฎหมายพิเศษอย่าง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พ.ร.ก. กฎอัยการศึก และ พ.ร.บ. ความมั่นคง เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการลอยนวลพ้นผิดในพื้นที่ เพราะฉะนั้น กฎหมายเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไข หรือยกเลิกทิ้ง ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ ให้สอดคล้องกับหลักสากล
  2. รัฐต้องทบทวนและฟังเสียงประชาชน ภาครัฐต้องกลับมาทบทวนอีกครั้ง และกลับมาฟังเสียงประชาชนว่า คนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต้องการการเยียวยาช่วยเหลือเพิ่มเติมไหม เพราะยังมีผู้ได้รับผลกระทบอีกมากที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่การจ่ายเงินชดเชยครั้งเดียวจบ และการยื่นฟ้องนี้จะมีการนัดไต่สวนมูลฟ้องอีกครั้ง ในวันที่ 19 และ 26 ก.ค.นี้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า