SHARE

คัดลอกแล้ว

มันเป็นไม่ได้เลยเหรอ ดูแล้วสนุกเหี้ยๆ เรื่องราวซีเรียสเข้มข้นด้วย อยากจะให้หนังมันทำหน้าที่นั้น

เอก-เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ วัย 31 ปี พูดออกมาด้วยน้ำกระตือรือร้นด้วยไฟของผู้กำกับหน้าใหม่ กับภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกในชีวิต Breaking the Cycle

Trailer ความยาว 2 นาทีนิดๆ ถูกกระจายบนทุกแพลตฟอร์มที่นิยมในไทย เรียกความสนใจได้ไม่น้อยจากภาพ ตัวละครเอกอย่าง ‘ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานคณะก้าวหน้า/อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ภาพการทำรัฐประหารครั้งล่าสุด เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2557 แล้วก็มีภาพของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะยังเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2562

ผุดข้อสงสัย นี่คือการทำ ‘ภาพยนตร์สารคดี’ หรือแค่อีก ‘สื่อเพื่อประชาสัมพันธ์’ เพื่อจะเรียกคะแนนนิยมให้ใคร? ในการเลือกตั้ง 2566

ภาพจาก ตัวอย่างภาพยนตร์

[เปิดเบื้องหลัง : Breaking the Cycle]

เอก-เอกพงษ์ เปิดเผยจุดเริ่มต้นว่า โปรเจกต์นี้เริ่มต้นในช่วงก่อนเลือกตั้งปี 2562 ยุคนั้นเป็นยุคที่คนกลัวๆ คสช. จะพูดถึงก็ต้องระมัดระวังตัว ยังมี ม.44 ยังมีการเรียกปรับทัศนคติ แล้วมีพรรคการเมืองอย่าง ‘อนาคตใหม่’ ที่ประกาศจุดยืนว่าไม่เอารัฐประหารและ “ยกเลิกความคิดที่ว่าอำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จะสามารถแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้”

ส่วนตัวซื้อไอเดียนี้ และคาแรคเตอร์ของคุณธนาธร “ช่วงนั้นเขาก็แซ่บ” ไปพูดที่ไหนก็แรงๆ ไปออกเวทีก็พูดตรงไปตรงมากว่าคนอื่น เริ่มสนใจว่าคนนี้เป็นใคร ทำไมเค้าถึงพูดตรงโดนใจเราจัง

“ตัดเรื่องประยุทธ์เข้ามารัฐประหารเพราะอะไรออกไปก่อนนะ ผมคิดว่าลักษณะของคุณประยุทธ์เฉยๆ โดยส่วนตัวก็ไม่ชอบอยู่แล้ว ด้วยลักษณะของความเป็นทหาร ใช้นำเสียงสั่งด้วยอำนาจ ประกอบกับผมไม่ชอบอะไรที่ต้องอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์อยู่แล้ว เลยทำให้ไม่โอเคกับคุณประยุทธ์ พอบวกกับสิ่งที่เราได้เรียนมาเรื่องประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถ้ามันเป็นแบบที่เราเรียนจริงๆ รัฐประหารก็ไม่จำเป็นต้องมีหรือเปล่า?”

ภาพจาก ตัวอย่างภาพยนตร์

ผู้กำกับที่เคยได้รับรางวัลจากหนังสารคดีสั้นเรื่อง ‘คลื่นทรงจำ’ ออกตัวว่า เขามาจากภาคใต้ ในช่วงนั้นไม่ได้สนใจการเมือง ยึดอาชีพฟรีแลนซ์ตัดต่อ ที่มักมีคนว่าจ้างงานสัมภาษณ์บุคคล ได้พูดคุยกับตกลงใจทำหนัง กับ สนุ๊ก-ธนกฤต ดวงมณีพร ปัจจุบันอายุ 29 ปี มาจากเชียงราย เจ้าของตำแหน่งรองชนะเลิศรางวัลช้างเผือก เรื่อง ‘ทุกคนที่บ้านสบายดี’ ที่สามารถถ่ายหนังและเกรดสีได้ และเรามีพื้นฐานเป็นคนอ่อนไหวเมื่อเจอเหตุการณ์ที่รู้สึกไม่เป็นธรรม

ในทีมหนังเรื่องนี้ยังมีโปรดิวเซอร์อีก 2 คน ที่ปัจจุบันอายุ 30 ปี และ 26 ปี ร่วมทำโปรเจกต์ภาพยนตร์เรื่องเพียง 4 คนเท่านั้น

[ใช้เวลาทำนานถึง 5 ปี-ไม่รับเงินในไทย]

เอก-เอกพงษ์ เล่าว่า หลังจากดูท่าทีของคนในวงการหนัง 4-5 เดือนหลังเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่ ไม่เห็นว่าใครจะทำโปรเจกต์แบบเดียวกัน หรือทำหนังเกี่ยวกับ ‘ธนาธร’ เขาจึงหาช่องทางโดยรู้จักกับคนในพรรคตอนนั้น แล้วได้เจอกับ ‘ธนาธร’ ในวันที่มีการเชิญคนในแวดวงสื่อไปพูดคุย ได้ขายโปรเจ็กต์สารคดีติดตามตัว ‘ธนาธร’ หลังจากนั้นตัวเขาก็ตอบตกลง

อีก 1 สัปดาห์ ก็ลงมือถ่ายทำหนังเรื่องนี้ด้วยทุนส่วนตัว เรารู้ว่าการทำแบบนี้ ไม่นานในอนาคตจะต้องมีการใช้เงิน ด้วยจำนวนที่ทุนทรัพย์ส่วนตัวไม่อาจจ่ายไหว จึงส่งโปรเจกต์ไปแข่งขันเพื่อชิงเงินทุนตามเทศกาลหนังในต่างประเทศ ซึ่งก็ชนะและได้เงินมาจาก 2 แหล่งคือ Purin Pictures และ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ Singapore International Film Festival

“เอกตกลงกับสนุ๊กว่าจะไม่รับเงินในไทย ก็อยากได้แหละ (จากภาครัฐ) แต่หนังแบบนี้ มันไม่มีใครอยากสนับสนุนหรอก คิดว่าหนังแบบนี้กระทรวงวัฒนธรรมเขาจะให้ทุนเหรอ? และเพื่อที่จะเป็นอิสระจากพรรค อยากจะพูดอะไรก็ได้ที่เราอยากพูด อยากจะไปสัมภาษณ์ใครเอามาด่าธนาธร ก็น่าจะทำได้ แล้วกลัวเขามามีส่วนร่วมตัดสินใจอะไรด้วย เราก็เลยว่า เออ…เราจะไม่ยุ่งอะไรกันเรื่องเงินนะ”

ภาพ Pitch ครั้งแรก เมื่อปี 2562  Docs by the Sea

[ทำไมเลือกจังหวะเตรียมเข้าฉายในโรงหนังช่วงนี้]

“สิ่งที่คิดมันเรียบง่าย เกี่ยวกับการทำหนัง” เอก-เอกพงษ์ ตอบเราเพื่อขยายความว่า โปรเจกต์นี้อยู่ในกระบวนการเพื่อจะฉายในโรงภาพยนตร์ แต่ขออุ๊บวันที่ฉายให้ติดตามได้ที่เพจ Breaking the Cycle แล้วที่เลือกโปรโมทตอนนี้ เพราะอยากให้คนสนใจในตัวหนัง เพราะว่าหนังต้องผ่านขั้นตอนของระบบจำแนกประเภทภาพยนตร์ (จัดเรทอายุผู้ชม) เราต้องการแรงสนับสนุนจากคน ไม่โปรโมทตอนนี้ จะโปรโมทตอนไหน เพราะว่า อยากให้คนสนใจมากที่สุด”

[ทำหนังเชียร์ ‘ธนาธร’ ผู้ช่วยหาเสียงของพรรคก้าวไกล?]

เอก-เอกพงษ์ ตอบคำถามนี้ด้วยการตั้งคำถามเรากลับว่า “Propaganda (สื่อประชาสัมพันธ์) หรือเปล่าใช่ไหม? ผมคิดว่าต้องคุยกันว่า Propaganda หมายความว่าอะไร คือถ้าหมายถึงว่าหนังให้ข้อมูลเกินจริง กำลังทำให้ธนาธรเป็นฮีโร่ หรือทำให้เราไม่ได้นำเสนอรอบด้าน มีอคติหรือเปล่า ส่วนตัวผมคิดว่าไม่ใช่หนังประเภทนั้น”

หนังสารคดีการเมืองมีอยู่ทั่วโลก อย่างในสหรัฐอเมริกา มีเรื่อง Knock Down the House ในอินเดีย มีหนังเรื่อง An Insignificant Man ที่เล่าเรื่องคนตัวเล็กทำพรรคแล้วเอาชนะพรรคใหญ่ได้ ถามค้นหาด้วยคำว่า Campaign film ก็เจอแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมในไทยไม่มี ก็ไม่รู้

“เหมือนทำอะไรแบบนี้ ประเทศไทยจะมองว่าการเมืองเป็นเรื่องสกปรก มีอำนาจใหญ่ หรือมีอะไรยังไง แต่มันเป็นเรื่องปกติ ที่หนังตัวละครเป็นผู้เล่นทางการเมือง เกิดขึ้นเยอะแยะ เรื่องนี้อาจเป็นเรื่องแรกที่เล่นใหญ่เล่นโต แต่เราก็อยากเล่นใหญ่เล่นโตจริงๆ เพราะเราอยากจะทำให้คุณภาพเหมือนที่ดูใน Netflix และในเทศกาลหนังต่างประเทศ ก็เลยดูเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา”

ผู้กำกับหน้าใหม่ ยังย้ำความต้องการจากคำถามของเราที่ว่าหนังเรื่องนี้จะได้ฉายในโรงภาพยนตร์?

“เรามีความต้องการที่จะฉายในโรงภาพยนตร์  คนทำหนังทุกคน เมื่อทำหนังเสร็จ ก็อยากจะฉายในโรงภาพยนตร์เป็นเรื่องปกติ แต่ทุกคนลุ้น แต่ผมก็ไม่รู้ว่าต้องมานั่งลุ้นกันทำไม”

[ฝากถึงคนดูหนังไทย]

เอก-เอกพงษ์ ฝากว่า อยากให้คนไทยเห็นว่าหนังแบบนี้เรามีได้ เพราะว่า เวลาทำหนัง พอเริ่มต้นบอกว่าเป็น ‘หนังอินดี้’ หรือ ‘หนังอิสระ’ จะเป็นดูเหมือนช้าๆ ดูไม่รู้เรื่อง แต่ความจริง อินดี้มันหมายถึง ‘แหล่งเงินทุน’ อินดี้ก็คือ Independent ต่างจาก ‘หนังสตูดิโอ’ ที่จะให้เงินมาก้อนหนึ่งไปทำหนังมาแล้วอยากได้เงินกลับ ทำให้มีข้อจำกัดด้านเนื้อหา มันเลยทำให้ภาพยนตร์แนวสตูดิโอวนเวียนอยู่กับแนวโรแมนติกคอมเมดี้ หนังตลก หรือไม่ก็หนังผี แต่ไม่สามารถพูดอะไรในโลกความเป็นจริง

ส่วนหนังอินดี้ทำเองไปหาเงินเอง แต่มันให้อิสระในการพูด แต่หลายๆ ครั้งในเวลาหนังอินดี้จะพูดถึงการเมือง ก็มักจะพูดแบบไม่ตรงไปตรงมา บางทีก็ใส่เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งก็อาจจะทำให้ผู้ชมหลายคนดูแล้วไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อ

“เอกก็เลยว่า มันเป็นไม่ได้เลยเหรอ ที่ดูแล้วสนุกเหี้ยๆ แล้วเรื่องราวซีเรียสเข้มข้นด้วย อยากจะให้หนังมันทำหน้าที่นั้น ให้วงการหนัง ผมรู้สึกว่าวงการหนังเราอาจจะตามเพดานความคิดของคนในประเทศไม่ทัน ยังไม่มีใครผลักเพดานตรงนี้ไป”

ภาพนี้ (คนที่ 3 จากซ้าย) ไปเสนอโปรเจกต์ ที่สหรัฐอเมริกา

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า