SHARE

คัดลอกแล้ว

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ให้ความเห็นถึงแนวนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่จะมีผลกระทบกับไทยว่า เมื่อนายโดนัลด์ทรัมป์ สาบานตัวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการในวันที่ 20มกราคมปีหน้า ต้องจับตาดูนายทรัมป์วางนโยบายกีดกันทางการค้าด้วยการตั้งกำแพงภาษีสินค้าจากจีน60เปอร์เซ็นต์และประเทศอื่นๆที่สหรัฐฯเสียเปรียบทางการค้า10เปอร์เซ็นต์อย่างที่ประกาศไว้ในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือไม่ เพราะหากนายทรัมป์เพิ่มกำแพงภาษีจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทยอย่างแน่นอน

นายฐากรกล่าวว่า ถ้าดูสถิติทางการค้าของกระทรวงพาณิชย์พบว่าสหรัฐฯเป็นคู่ค้าอันดับ2ของไทยรองจากจีน แต่ถ้านับเฉพาะส่งออกไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2558เป็นเวลา10ปีเต็มๆ โดยเมื่อปี2566 ไทยส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯรวมมูลค่ากว่า 48,000ล้านบาท นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ19,000ล้านบาท ได้เปรียบดุลการค้าราว 29,000ล้านบาท ล่าสุดปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม ไทยส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯมูลค่ากว่า 35,000ล้านบาทนำเข้าจากสหรัฐฯ ราว 13,000ล้านบาท 7เดือนแรกของปีนี้ได้ดุลการค้าไปแล้ว กว่า 22,000ล้านบาท

นายฐากรกล่าวว่า สินค้าส่งออกของไทยไปยังสหรัฐฯ ใน5อันดับแรกได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบอย่างเช่นแผ่นวงจรพิมพ์หรือพีซีบี ( Printed Crcuit Board ) ผลิตภัณฑ์ยาง โทรศัพท์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หม้อแปลงไฟฟ้า

นายฐากรกล่าวว่า หากนายทรัมป์ใช้แนวนโยบายการตั้งกำแพงภาษีอย่างที่ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งจริง จะมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐฯอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสินค้าไทยจะมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นนอกจากนี้แล้ววัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ไทยนำเข้าจากจีนเพื่อนำมาผลิตอาจขาดแคลนเพราะสหรัฐฯตั้งกำแพงภาษีกับจีนสูงมาก

นายฐากรกล่าวว่า สหรัฐฯกับจีนมีปัญหาทางการค้ามาโดยตลอดเพราะจีนได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐฯมายาวนาน เมื่อปี 2561 จีนได้ดุลการค้าสหรัฐฯราว 590,000ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาถึงปี2565 จีนได้เปรียบดุลการค้าเพิ่มขึ้นถึง 970,000ล้านเหรียญสหรัฐฯ

“สหรัฐฯพยายามแก้ปัญหาดุลการค้าที่เสียเปรียบจีนอย่างมากโดยใช้วิธีตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้า ซึ่งนำไปสู่สงครามการค้าเพราะจีนก็ใช้วิธีตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน มีผลกระทบกับไทยด้วย อย่างเช่นเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมารัฐบาลนายโจ ไบเดนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าแผงโซลาร์ยี่ห้อทรินา โซลาร์ซึ่งเป็นยี่ห้อของจีนแต่ผลิตในไทยสูงถึง77.85เปอร์เซ็นต์ โดยอ้างป้องกันการทุ่มตลาดและถือเป็นการตอบโต้ของสหรัฐฯด้วยการขึ้นภาษีแผงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นครั้งที่สอง”นายฐากรกล่าว

นายฐากรกล่าวว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน จะยังคงเกิดขึ้นต่อไปและเชื่อว่าเป็นไปอย่างยืดเยื้อส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนายทรัมป์ใช้นโยบายตั้งแต่กำแพงภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง60เปอร์เซ็นต์อย่างที่หาเสียงไว้ อุตสาหกรรมของจีนเกิดภาวะระส่ำปั่นป่วนและส่งผลกระทบถึงไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

นายฐากรกล่าวว่า การตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐฯจะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจไทยเป็นลูกโซ่ อาทิเช่น แผ่นวงจรพิมพ์ที่เป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสารจะมีราคาแพงขึ้น ปัจจุบันพีซีบีมียอดส่งออกเฉลี่ยปีละ 150,000 ล้านบาท และพาณิชย์เร่งส่งเสริมการลงทุนผลิตพีซีบี ถ้าพีซีบีมีต้นทุนแพงกว่าเดิมอาจจะทำให้การลงทุนเกิดปัญหาชะงักชะงันตามมา

“ผมเสนอให้รัฐบาลเร่งกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับสงครามการค้ารอบใหม่ก่อนประธานาธิบดีทรัมป์รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการไทยว่า การค้าระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกายังเดินหน้าไปได้ด้วยดีไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆเกิดขึ้น”นายฐากรกล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า