SHARE

คัดลอกแล้ว

คลังเตรียมเก็บภาษีความเค็ม พบคนไทยบริโภคเกลือสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดถึง 2 เท่า

วันที่ 26 พ.ย. 2564 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข กรมสรรพสามิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ เครือข่ายลดบริโภคเค็ม จัดการประชุมสัมมนา เพื่อการขับเคลื่อนมาตรการลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย ขึ้น มุ่งหวังการขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม สร้างกติกากลางให้กับภาคอุตสาหกรรม ร่วมปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในอาหารเพื่อช่วยเหลือประชาชน

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นความสำคัญการลดการบริโภคเกลือโซเดียมเพื่อช่วยลดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตของประชาชน อันเนื่องมาจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง และโรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าคนไข้กลุ่มนี้มีอัตราเสียชีวิตสูง และจากรายงานการสำรวจในปีที่ผ่านมาโดยเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก พบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย วันละ 9.1 กรัม ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 5 กรัมต่อวัน เกือบ 2 เท่า นับเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งช่วยกันแก้ไข

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังมีภารกิจในอีกด้านหนึ่งคือ สนับสนุนนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลที่มุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มตามปริมาณความหวาน ดังนั้น เพื่อให้คนไทยลดการบริโภคเกลือโซเดียมอย่างเป็นรูปธรรม มาตรการภาษีสรรพสามิตจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนให้ประชาชน และผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดการบริโภคและลดการผลิตสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูง ร่วมกับการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ และในปัจจุบันกระทรวงการคลังโดยกรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตความเค็มตามปริมาณโซเดียม และจะดำเนินมาตรการดังกล่าวในช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อไป

รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รายงานการสำรวจด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า คนไทยทำอาหารรับประทานเองในบางมื้อคิดเป็นร้อยละ 76 (ส่วนใหญ่ 1 มื้อต่อวัน) โดยมีพฤติกรรมซื้ออาหารนอกบ้านสูงถึงร้อยละ 81 (เฉลี่ยซื้ออย่างน้อยวันละ 1 มื้อ) จะเห็นได้ว่า อาหารนอกบ้านเป็นอาหารที่คนไทยในปัจจุบันนิยมรับประทานกันมาก มีความสะดวกเข้าถึงได้ง่ายด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ก็ได้ออกมาตรการลดการบริโภคเค็มอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนทุกระดับผ่านสื่อสาธารณะต่างๆ การปรับฉลากโภชนาการให้มีการระบุปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม รวมทั้งการขอความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมอาหารในการปรับสูตรอาหารกึ่งสำเร็จรูปแบบสมัครใจ ซึ่งยังมีข้อจำกัดและยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ด้วยเหตุผลนี้ เครือข่ายฯ จึงพยายามผลักดันให้เกิดมาตรการภาษีโซเดียม ที่จะมีกติกากลางในการสร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อลดช่องว่างของข้อจำกัดที่ผ่านมา

ดร.เรณู การ์ก  (Dr.Renu Madanlal Garg) Medical Officer, NCDs องค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่นๆ ว่าการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการบริโภคโซเดียมในประชากรนั้น ต้องมีมาตรการที่ช่วยให้ประชาชนทราบถึงปริมาณโซเดียมที่มีอยู่สูงมากในอาหาร ซึ่งสามารถทำได้โดยการกำหนดรูปแบบฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การแสดงคำเตือนปริมาณโซเดียมสูง จะช่วยให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าจะซื้ออาหารชนิดใดและชนิดใดไม่ควรซื้อ ส่วนการใช้นโยบายเก็บภาษีอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป จะสามารถผลักดันให้ผู้ผลิตอาหารปรับสูตรอาหารให้มีโซเดียมน้อยลง ทำให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น

นายณัฐกร อุเทนสุต ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางสรรพสามิต กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของภาษีไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การเพิ่มรายได้ของรัฐบาล แต่เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและการสูญเสียชีวิตจากการบริโภคโซเดียมเกินพอดี อันเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเรื้องรังต่างๆ เป็นการจุดประกายให้ประชาชนตระหนักรู้ข้อมูลการบริโภคโซเดียมอย่างสมดุลต่อร่างกาย เพิ่มทางเลือกของสินค้าที่มีโซเดียมต่ำในท้องตลาดมากขึ้น อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมคำนึงถึงการลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า